ติดกับ...กับดักแนวคิด


ระบบหลักประกันสุขภาพ ของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ จะมีหลักการที่สำคัญประการหนึ่ง คือประชาชนคนไทยมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) ถ้วนหน้ากัน (Universal Coverage)

     ระบบหลักประกันสุขภาพ ของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ จะมีหลักการที่สำคัญประการหนึ่ง คือประชาชนคนไทยมีสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) ถ้วนหน้ากัน (Universal Coverage) เราก็มักจะเรียกระบบนี้ว่า UC กันอย่างย่อ ๆ จนติดปาก และรวมไปถึงการพิมพ์หรือเขียนลงในเอกสารราชการอย่างเป็นทางการด้วย ในระบบหลักประกันนี้หากย้อนไปมองที่ประเภทสิทธิ ก็จะมี 3 สิทธิหลัก ๆ คือ สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สิทธิประกันสังคม และสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งอย่างหลังจะมีชื่อเล่นว่าสิทธิบัตรทอง ประเด็นที่หนึ่งที่เข้าใจผิดบ่อย ๆ คือ เรามักจะเรียกสิทธิประเภทหลังว่าสิทธิ UC และเมื่อเรียกว่าสิทธิ UC ใคร ๆ ก็พากันเข้าใจว่าหมายถึงสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือสิทธิบัตรทองเพียงอย่างเดียว นี่เป็น 1 ประเด็น และเป็นประเด็นเรียกน้ำย่อยก่อน

     ประเด็นที่ 2 ซึ่งจะเป็นประเด็นการจัดสรรงบประมาณเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการดำเนินงาน (Community-based Prevention and Promotion Activities) หรือที่เรารู้จักกันในนาม P&P Com ประเด็นนี้ไม่เน้นการอรรถาธิบายในเรื่องการเรียกชื่อ แต่จะลงลึกในประเด็นแนวคิดในการจัดสรรงบประมาณ กล่าวคือแนวคิดในการขอรับเงินสนับสนุนจากรัฐ และการจัดสรรงบประมาณหมวดนี้ ถูกคิดในลักษณะของการเหมาจ่ายรายหัวประชากร (Per Capita) นับจำนวนเฉพาะสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) เท่านั้น แต่เวลาใช้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เคยนำเสนอต่อสำนักงานกฤษฎีกาเพื่อขอให้ตีความว่าใช้กับใครได้บ้าง ซึ่งสำนักงานกฤษฎีกาได้เคยตีความไว้แล้วว่าต้องนำมาใช้กับประชาชนทุกคนไม่ว่าสิทธิใด ๆ ฉะนั้นที่มากับที่ไปของเงินงบประมาณหมวดนี้ ย่อมมีนัยยะของรายละเอียดที่หน่วยบริการผู้ได้รับโอนงบประมาณมาให้จัดบริการต้องคำนึงถึง เมื่อยามจะจัดสรรงบประมาณจนถึงระบบปฏิบัติการที่เป็นแผนงาน/โครงการต่าง ๆ นั้น จะพิจารณาอย่างไร จะคิดต่อหัวประชากร (Per Capita) จนถึงหมู่บ้าน/ชุมชน เลยไหม แล้วจะเอาประชากรทั้งหมดหรือเฉพาะสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) เท่านั้นที่นำมาคิด สำหรับความเห็นของผม (อาจจะไม่ถูกก็ได้) ว่าหากจะจัดสรรถึงระดับใด ๆ ก็ให้นำเฉพาะสิทธิตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) มาใช้คำนวณ เน้นว่าเฉพาะการคำนวณเพื่อจัดสรรเท่านั้น แต่ยามจะใช้จริง ต้องใช้กับคนทุกคนไม่ว่าสิทธิใด ๆ

     ประเด็นที่ 3 จะเป็นประเด็นสุดท้ายในบันทึกนี้ คือคำถามของ ผอ.โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง (ยังไม่ได้ขออนุญาตท่านในการอ้างถึงชื่อท่านครับ) ที่ท่านตั้งประเด็นขึ้นไว้ว่า “งบ P&P Com น่าจะจัดสรรโดยดูตามสภาพปัญหา ไม่น่าจะให้ ตามรายหัว” จนสมาชิกในที่ประชุมได้นำมา ลปรร.กับผมต่ออีกทอดหนึ่งว่าเห็นเป็นอย่างไร ผมตอบโดยเร็ว (สำหรับความเห็นของผม ซึ่งอาจจะไม่ถูกทั้งหมดก็ได้) ว่า “เห็นด้วยมากแต่เพียงครึ่งเดียวของทั้งหมด” ก่อนจะอธิบายถึงเหตุผลต่อว่า เพราะในระดับ CUP (CUP ที่ตั้งประเด็นคำถาม เป็นท้องที่เขตอำเภอหนึ่งในจังหวัดพัทลุง) การจัดสรรงบประมาณต้องเริ่มพิจารณาจากสภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาสุขภาพของพื้นที่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่คิดแบบเหมายจ่ายรายหัวจนถึงหมู่บ้าน/ชุมชนทั้งหมด ซึ่งคิดเชิงประเด็นแล้วอาจจะพบว่าเม็ดเงินจะเล็กจนเกินไปจนแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาอะไรไม่ได้เลย

     ในประเด็นที่ 3 นี้ หากพิจารณาให้ดีตรงที่ผมบอกว่า “เห็นด้วยมากแต่เพียงครึ่งเดียวของทั้งหมด” ผมมีเหตุผลว่าการใช้เงินงบประมาณหมวด P&P Com ที่ว่านี้ เราจะเน้นการใช้เพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน ซึ่งต้องหมายถึงการพัฒนาสุขภาพด้วย ไม่ใช่ใช้เฉพาะการแก้ปัญหาสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่หากใครตีความว่า การแก้ไขปัญหาสุขภาพหมายรวมถึงการพัฒนาแล้วด้วยก็จบไป ไม่ติดใจอะไร ซึ่งในมุมมองผมเองยังมองจากฐานความคิดความเข้าใจว่า การแก้ไขปัญหาสุขภาพ กับการพัฒนาสุขภาพ น่าจะยังรับรู้ต่างกันโดยคนฟังที่ได้ยินคำ 2 คำนี้ จึงได้ตอบว่า “เห็นด้วยมากแต่เพียงครึ่งเดียวของทั้งหมด” ในตอนเย็นของการสนทนากันเมื่อวันนี้ (23 ธ.ค.49) ครึ่งที่เหลือก็ตรงการพัฒนาสุขภาพ เมื่อรวมกันในความเข้าใจแน่แล้ว ก็อยากจะยืนยันว่าเห็นด้วยกับท่าน ผอ.รพ.เป็นอย่างมาก

     บันทึกมาก็เพื่อทบทวนแนวคิดให้ชัดเจน ในระหว่างที่กำลังเขียนบันทึกก็เปลี่ยนชื่อเรื่องเสียใหม่ เพราะเห็นได้ว่าบางครั้งบางทีเราไม่แม่นในแนวคิดหลัก เราก็ไม่แน่ใจ เข้าใจผิด หรือตัดสินใจยาก/ช้า หากแต่แนวคิดแม่นมาก ก็ติดกับดักของแนวคิดเสียเองได้เช่นกัน ติดกรอบจนดิ้นไม่หลุดในบางครั้งบางที บันทึกนี้อาจจะมีให้เห็นทั้ง 2 ส่วนที่ว่าไว้ครับ

หมายเลขบันทึก: 69039เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 23:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

 Carve A Tree เรียนท่านชายขอบ

 หายจากกรอบไปนาน

 กับดัก..ติดกับ

 "โชคดีที่ ได้คิด และ คิดได้"



กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอ JJ ที่เคารพรักครับ

     มาบ้างหายไปบ้าง ตามภารกิจที่รัดเร่งครับ หากจะหายไปจริง ๆ สิ่งแรกที่จะทำคือปิดเอาบันทึกทั้งหมดไปด้วยครับ (ล้อเล่น...ครับ ที่เขียน แต่ที่จะทำไม่ล้อเล่นครับ...ยิ้ม ๆ)

 3D Santa เรียนท่านชายขอบ

 ติดภารกิจ มิใช่ปิดหายไป

 สังคมไทย รอร่วมใจ ร่วมพัฒนา

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอ JJ ที่เคารพรักครับ (อีกครั้ง)

     ท่านสบายดีนะครับ ผมไม่ได้ติดตาม Gotoknow เสียหลายเพลา นึกห่วงหาหลาย ๆ ท่าน ครั้งจะตะลุยตามต่อ ก็ยังไม่ค่อยคล่องครับ คงต้องใช้เวลาอีกสักนิดนะครับ ท่านแม่เป็นอย่างไรบ้างครับ ท่านสบายดีไหม ตอนงาน KM ก็ไม่ได้ถามไถ่ประเด็นนี้เลย กราบอภัยด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะท่านพี่

  • ที่หายไปนานเนี่ย ไปติดกับดักใครเข้าเหรอคะ (อิอิอิ ล้อเล่นน่ะค่ะ)
  • ขอบคุณนะคะ ที่มาให้ความชัดเจนในประเด็นนี้อีกครั้งค่ะ
  • ว่าแต่....ชักอยากจะทราบซะแล้ว ว่าท่าน ผ.อ. โรงพยาบาลที่ว่าน่ะ ?

 Doctor เรียนท่านชายขอบ ขยับเข้ากรอบสร้างสรรค์

 แม่มานีพูดน้อยลง ทานไม่ได้เหมือนเดิม วันพฤหัสที่ ๒๘ หมอณรงค์จะผ่าตัดทำ Gastrostomy นำท่ออาหารฝังเข้าท้อง ครับ

น้อง ไออุ่น ครับ

     ขอบคุณนะครับที่มาเยี่ยม จะเล่าอะไรให้ฟัง เมื่อวาน (22 ธ.ค.49) ตอนลงจากอาคาร 3 คณะพยาบาล มอ. รีบ ๆ จะไปรับเอกสารเซ็น MOU กับ สปสช. ที่ สปสช.สาขาพื้นที่สงขลา (โครงการ อบต.นำร่อง เพื่อสร้างความเข้าใจต่อการพัฒนาสุขภาพชุมชน) พี่จะเอ๋ เอากับ อาจารย์แม่ (อาจารย์ต๊ะ) เต็ม ๆ เลย เดินคุยกันไปจนถึงลานจอดรถ แล้วหยุดคุยกันอีกพักใหญ่ ๆ ส่วนรายละเอียดค่อยเล่านะครับ
      ผอ.รพ.ที่ว่าน่ะ จะเฉลยทาง E-Mail นะครับ ก็บอกกันได้ เพราะเป็นเรื่องดี ๆ แต่ตีพิมพ์นะยังไม่ได้ขออนุญาตท่านเท่านั้น เลยคิดว่าไม่เหมาะนะครับ

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอ JJ ที่เคารพรักครับ

     ฝากความระลึกถึงท่านแม่มานีด้วยนะครับ คุณหมอณรงค์ต้องทำดีที่สุดอยู่แล้ว เพื่อท่านแม่มานีจะได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการครับ เอาใจช่วยด้วยคนครับท่านอาจารย์

 3D Santa เรียนท่านชายขอบ ขยับกรอบสร้างสรรค์

 ขอบพระคุณครับ พลังใจ จากใจคนใต้ด้วยกัน

 

ติดกับดักแนวคิด

  เป็นคำที่ชวนให้คิด ประเด็นแรกประเด็น งบ pp com ที่สปสช. คิดมาให้ตามเหมาจ่ายรายหัว เมื่อปีก่อน ทำให้ ส่วนล่างบางที่คิดแบบรายหัว ด้วยผลงบลงไปตามอนามัยเป็นงบ ย่อย ครั้นจะคิดแก้ปัญหาแบบภาพรวม ก็ไม่ลงตัว ผู้ที่จะชี้ขาด หรือผู้ที่จะแม่นในหลักการที่แท้จริงก็ยาก โครงการจึงเกิดร้อยแปด มาปีนี้ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก หากเราไม่ติดกับดักแนวคิดเกินไป เราอาจจะได้นำมาพัฒนา และแก้ไขปัญหาในภาพรวมมากขึ้น  

     ประเด็นที่สองเป็นเรือ่งของชีวิตหากเรา แม่นในหลักการใดหลัการหนึ่ง และยึดหลักการนั้นมากเกินไป อาจจะทำให้เรามองไม่เห็นสิ่งดีอื่นๆ และอาจทำให้เราพลาดโอกาสดีๆ ที่เข้ามาในชีวิตเราได้นะ

เรียน คุณก้ามปู

     การจัดสรรงบฯ ลงไปในระดับชุมชน/หมู่บ้าน มันก็มีดีหลาย ๆ ประการ ในภาพรวมเกิดความเป็นธรรมของการจัดสรรงบประมาณ (Fairness) โดยเฉพาะกรณีพื้นที่นั้น ๆ กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระดับบนมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่ข้อเสียก็มีเหมือนกันครับ เช่นกรณีที่ต้องการพัฒนาระบบเชิงประเด็นที่เป็น Macro แต่หากพื้นที่ระดับอำเภอเกิดสมัชชาสุขภาพ แล้วเราโยนงบประมาณพร้อมข้อมูลที่ดี ๆ ไปให้เขาคิดเองทำเอง อย่างนี้น่าจะพอจัดการกับสภาพที่เป็นอยู่ได้ไหมครับ มองว่าน่าจะ OK นะครับ

     มีหวังมากเลยครับ โดยเฉพาะหากว่าโครงการที่เสนอขอไปยัง สพช. ผ่าน สวรส.ภาคใต้ มอ. ตามโครงการ PCU Innovation ผ่านการพิจารณา เราจะได้เห็นภาพสมัชชาสุขภาพอำเภอเขาชัยสน เดินเรื่องครับ

     สำหรับประเด็นในแง่ของชีวิต เห็นด้วยครับว่า หลวม ๆ ไว้จะดีกว่า จะได้ไม่ติดกรอบ แต่ไม่ใช้แนวคิดหลักเลยก็ไม่ได้นะครับ มันจะไปคนละทิศละทางกันเสีย ขอบคุณนะครับที่แวะมาเยี่ยมและได้ต่อยอดความคิดความรู้กัน

อาจารย์หมอ JJ ครับ

     ผมอยู่ได้นานคืนนี้ เลยขอตอบเสียก่อน ยังไงแล้วก็ขอให้สิ่งดี ๆ ที่แม่มานีทำไว้ และบุญทั้งหลายที่ท่านอาจารย์หมอได้สั่งสมมา ช่วยดลให้ท่านแม่มานีได้มีสุขภาพดี แข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรแก่ลูกหลานนาน ๆ นะครับ

เรียนท่านพี่ ชายขอบ ที่นับถือ

ถึงอย่างไรก็ขอให้มีกำลังใจครับ เรื่อง การ "ติดกับ...กับดักแนวคิด" เป็นธรรมดาครับอาจเมาหมัดบ้าง อาจละม้ายกับที่ผมเขียนไว้บ้างครับ

 

สวัสดีค่ะ คุณชายขอบ

   ไม่ได้แวะเวียนมาเพื่อแสดงความคิดเห็น เนื่องจากไม่มีข้อมูลในเรื่องนี้เลย  แต่แวะเวียนมาด้วยความระลึกถึง  ได้ทราบจากคุณเมตตาคร่าว ๆ ว่าคุณชายขอบ จะมา มอ. เสียดายจังที่ไม่ได้มีโอกาสได้เจอกัน ระลึกถึงอยู่เสมอค่ะ  ดูแลรักษาสุขภาพด้วยนะคะ  และขอถือโอกาสนี้ ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงอวยพร และดลบันดาลให้ คุณชายขอบ และครอบครัว จงประสบแด่ความสุขตลอดปีใหม่ และตลอดไปค่ะ

เรียน คุณน้องวิชิต ณ มนส.

     ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน ผมยังตามอ่านไม่หมดเลยครับ เห็นท่านแล้วก็ยังนึกไปถึงท่านอารย์ปานดา (Panda) ของผมไม่ได้ ในงาน KM Forum ที่ผ่านมา ท่าน 2 คนนี้ก็เดินด้วยกัน จนผมจะแซวว่า กลัวพลัดหลงกันหรืออย่างไร แต่ก็เกรงใจท่านอาจารย์ปานดา วันนี้จะแอบถามน้องวิชิตเสียหน่อยว่า จริง ๆ แล้ววันนั้นใครกลัวใครพลัดหลงครับ ถึงได้เดินกุมมือกันเหนียวเชียวท่าน (หรือว่ากลัวอาจารย์ปานดาจะเที่ยววิ่งเล่น ซุกซนครับ)
     กลับเข้ามาที่เรื่องบันทึก ประเด็นที่เขียนนะครับ เกิดจากการตั้งข้อสังเกตครับ ผมทำงานเรื่องนี้ เป็นหน้าที่หลัก อยู่ระดับจังหวัด ก็มักจะได้ยินคำถามบ่อย ๆ จากคำถามก็นำมาสู่กระบวนการคิดของผมว่า ระบบหลักประกันสุขภาพระบบปัจจุบันนี้ ที่ผู้ปฏิบัติไม่ค่อยเคลียร์ก็คือ ส่วนหนึ่งไม่แม่นที่แนวคิดหลัก อีกส่วนก็คือแม่นเกินไปจนติดกรอบเสียแน่น
     ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วให้คิดเพียงว่า ประชาชนได้รับสิทธิในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ดี (Goodness) และเป็นธรรม (Fairness) โดยถ้วนหน้ากัน (Universal Coverage) หรือยัง อย่างอื่นก็จะรอง ๆ ลงไปนะครับ

เรียน คุณรัตติยา ณ มอ. ครับ

     ด้วยความระลึกถึงอยู่เสมอ ๆ เช่นกันนะครับ ปกติเดือนหนึ่ง ๆ ก็จะเวะเวียนไปที่ มอ.หลาย ๆ รอบ ส่วนใหญ่ไปประชุมบ้าง ร่วมเป็นคณะทำงานบ้าง หรือบางทีก็แวะเพื่อรวมพล แล้วยกทีมไปทำงานกันที่ปัตตานี ก็มี แต่ก็เป็นไปแบบเร่งรีบเอามาก ๆ
     สำหรับพรปีใหม่ที่อวยพรมาให้ฉันใด ก็ฉันนั้น ขอให้กลับเป็นของคุณรัตติยา มากกว่าที่ผมได้อีกหลาย ๆ เท่า
     ขอบคุณมาก ๆ อีกครั้งนะครับ

 Frosty เรียนท่านชายขอบ ขยับเข้ากรอบร่วมสร้างสรรค์

 มาเยี่ยมยามอีกครั้งครับ กำลังอยู่ในเหตุการณ์ "นมแม่แก้นิสัย" (คลิก)

 มันส์ครับ


เรียน ท่านอาจารย์หมอ JJ

     ตามไปแล้วครับ ขอชื่นชม ครับสำหรับกิจกรรมอันดีงามเพื่อเด็กไทย

สวัสดีครับ 

      พอมีเวลา + อินเตอร์ใช้ได้  ก็เลยมาหาสิ่งดีอ่าน   ผมติดใจประเด็นที่ผู้ปฏิบัติไม่ค่อยเคลียร์ในเรื่องประกันสุขภาพถ้วนหน้า  ส่วนหนึ่งไม่แม่นที่แนวคิดหลัก อีกส่วนก็คือแม่นเกินไปจนติดกรอบเสียแน่น  ผมก็เห็นด้วยเพราะบางครั้งก็เป็นอย่างนั้นบางทีก็ไม่แม่นในแนวคิด    เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ผมจึงต้องไปอ่าน  บางผมต้องย้อนไปอ่านถึงรัฐธรรมนูญ  ตอนนี้ยังอ่านเลยครับ  ผมไปดูร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 

     มาตรา 30  บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย และได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายเท่าเทียมกัน

  

น้องจอมยุทธน้อยครับ

     กรอบเป็นแค่เครื่องมือให้ดำเนินงานได้ แต่ไม่ได้มีไว้ให้ติดแหย็กครับ พี่เข้าใจว่าเรื่อง UC ใช้แนวคิดเป็นหลักสำคัญ หากเราเข้าถึงและเข้าใจ อะไร ๆ ก็จะง่ายครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท