การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้านการพัฒนาศักยภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลเพื่อการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชนบท กรณีศึกษา อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี


ช่อทิพย์ บรมธนรัตน์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

ผลการศึกษา
– ระยะก่อนดำเนินการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นกับกรมพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย อบต.ไม่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กมากนัก เพราะถือว่า ไม่ใช่บทบาทและหน้าที่ของตน

- ระยะดำเนินการ พบว่า รัฐบาลได้มีนโยบายถ่ายโอนภาระกิจของศูนย์เด็กเล็กมาที่ อบต.โดยตรง ทำให้ อบต.สนใจ ตื่นตัวและกระตือรือร้น ในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และได้ให้การสนับสนุนคนในชุมชน และ อสม. เข้า มามีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กร่วมกับครูพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขระดับตำบล โดยได้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวางแผนงานโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเสนอต่อสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอา เซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และมีการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กหลายโครงการ

- ระยะหลังดำเนินการ พบว่า ทุกคนที่มีส่วนร่วมได้ตระหนักถึงประโยชน์ของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาศูนย์ เด็กเล็กอย่างมีประสิทธิภาพ โดย อบต.มีพันธะสัญญาที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนาศูนย์เด็กอย่างต่อเนื่องและ ตลอดไป


จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 69029เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2006 22:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 09:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท