กฎหมาย กับ ศาสนา


กฎหมายกับศาสนา
กฎหมายเป็นเรื่องของสังคม เพราะถูกออกแบบมาให้ใช้กับคนในสังคม แต่ศาสนาเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล โดยมีเป้าหมายเน้นที่การทำให้คนเป็นคนดี เป็นคนๆ ขัดเกลาเพื่อให้รู้จักสังเกตตน รู้เท่าทันตน จัดการตนได้ทันท่วงที และสามารถปรับตัวไปตามสถานการณ์อย่างที่จะมีทุกข์น้อย ต่างจากกฎหมายซึ่งไม่มีเป้าหมายที่จะสร้างคนดี กฎหมายเพียงทำหน้าที่กำราบคนชั่ว ถ้าหากสังคมเราไม่เพียงแต่ต้องการแค่ระบบกำราบคนชั่ว หากแต่ต้องการระบบสร้างคนดีด้วย เราก็ต้องการทั้ง "กฎหมายและศาสนา"

เนื่องจากการเปลี่ยนคนเลวให้กลายเป็นคนดีนั้นยากกว่าการป้องกันคนดีไม่ให้ทำร้ายคนอื่น ด้วยการคาดโทษและขู่ด้วยกฎหมาย แต่ กับคนโกง คนเลวที่ฉลาดมากๆ กฎหมายก็มักเอาไม่อยู่ ไล่ไม่ทัน เป็นเหตุทำให้สังคมถูกทำร้าย  คำสอนทางศาสนาแม้ว่ายากที่จะปฏิบัติตาม และยากที่จะเห็นผลทันที จึงต้องรอเวลา และ ทุกอย่างย่อมค่อยเป็นค่อยไป สังคมจึงจำเป็นต้องมีศาสนา



ศีลจึงหลักการเป็นเบื้องต้นที่พระพุทธเจ้าทรงออกแบบสำหรับเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาตนให้เป็นคนดีในระบบของศาสนา การถือศีล รักษาศีล ต้องมาจากความสมัครใจและเข้าใจ ทั้งนี้ "ศีล" ไม่ใช่พิธีกรรม ไม่ใช่ กฎหมาย หรือข้อบังคับใดๆ แต่ศีลเป็นระบบของการ"เอาชนะตนในเบื้องต้น" นี่คือหัวใจของศีล.


ศาสนา กับ กฎหมาย ใช้งานต่างกัน เป้าหมายต่างกัน แต่ถ้าสังคมต้องการความก้าวหน้าและมั่นคงสังคมก็ต้องการทั้งสองอย่าง นั่นเอง.


ธันรบ วงศ์ษา

หมายเลขบันทึก: 689948เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2021 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2021 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท