Gen Z คุยเก่งแต่ใจอ่อนล้า เมื่อได้ยิน "หยุดโกหก อย่าคิดมาก"


เด็ก AD มีความรู้ อยู่ที่เราผู้ใหญ่ทุกท่านจะเป็นต้นแบบของการมีจิตจดจ่อรับฟังด้วยหัวใจสมาธิแล้วค่อย ๆ แปลความรู้สู่การทำความดี ดึงแรงจูงใจให้คุณค่าชื่นชมในตัวนศ.อย่างเห็นอกเห็นใจได้ช่วยเหลือด้วยความรักความเข้าใจจริง Factual Loving Kindness Meditation

วัยรุ่น AD หรือ Auditory Digital Communication อายุ 19 ปีมีบุคลิกภาพย้ำคิดเยอะก่อนตัดสินใจพูดหรือเขียน ยังคงลังเลไม่แน่ใจ ต้องการต้นแบบคือผู้ใหญ่ใจดีมีความรู้และทำได้สำเร็จจนเห็นภาพขั้นตอนชัดเจน เด็กจะภูมิใจในการเลียนแบบได้และจะนำไปฝึกฝนจริงถ้าเกิด Grit พลังแห่ง Passion และ Perseverance

แต่เมื่อผมลงคลินิกกิจกรรมบำบัดจากกรณีศึกษา 5 ราย พบว่า นักศึกษา AD หรือ Auditory Digital ปีหนึ่งผู้มี Passion ขยันมีวินัยเรียนดีสะสมความหลงผิดคิดไปเองจนอ่อนล้า (Cognitive Fatigue) สะสมความกลัวต่อความผิดพลาด (Fear of Failure) ในปีสองทำให้คิดเยอะคิดเร็วจนสมาธิสั้นหวาดระแวงต่อภาพลักษณ์ ความคาดหวังพ่อแม่ครูเพื่อนเมื่อได้ยินเสียงพูดดุตำหนิชี้นิ้วกระซิบนินทาว่า "หยุดโกหก อย่าคิดมาก" ทำให้นักศึกษา AD คับข้องใจให้ได้หวาดระแวงจนเกิดภาวะซึมเศร้าวิตกกังวลจนพัฒนาความไม่สบายกายไม่สบายใจอยู่หลายเดือน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า "ANSD หรือ Automatic Nervous System Dysfunction" เช่น รู้สึกชาปลายมือ นอนไม่หลับก็นอนไม่เรื่อย ๆ จนดึก ตื่นสายจนไม่ได้ทานอาหารเช้า ทานน้ำน้อย นั่งเรียนนานจนไม่อยากออกกำลังกาย ก้มคอมองมือถือด้วยความเบื่อเซ็งไม่รู้สึกดีหรือร้าย ถ้าหลับตาข้างใดข้างหนึ่งมองภาพจะเบลอและกะระยะการเขียนด้วยมือที่สั่น/ลายมืออ่านยาก น้ำตาไหลโดยตอบไม่รู้สึกเพราะอะไร พูดเร็วคิดเร็วแต่ไม่เห็นภาพรวม จินตนาการคิดฟุ้งแต่ลังเลไม่แน่ใจว่าทำได้จริง ชอบสืบค้นข้อมูลโรคจิตเวชแต่ไม่ชอบอ่านข้อมูลที่ผู้ใหญ่ให้ Link เพราะผู้ใหญ่สอนเยอะ ข้อมูลเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาในเด็ก AD เมื่ออ่านก็ต้องวิเคราะห์เยอะ "ทุกข้อมูลสำคัญหมด" เลยใช้เวลาช้ามากอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป เมื่อให้ทดลองทำงานเป็นทีมกับเพื่อน ก็จะ "เงียบด้วยภาวะหมดไฟในการเรียน เพราะทุกอย่างเป็น Fast Knowledge" และหลายครั้งที่ผู้ใหญ่ก็ใช้อารมณ์ลบจบด้วยการตัดสินตำหนิเด็กจนทำให้จินตนาการดีงามหายไป ทำให้นึกถึงการพัฒนาความพอดีมีสุขสนุกในการรับความรู้สึกนึกคิดสร้างสรรค์ - สำรวจตั้งใจดี รู้สึกปลอดภัย พอโดนพูดกรอกหูบ่อยๆ ว่า หยุดเพ้อฝัน อย่าทำนอกคำสั่ง ไม่โกหกได้ไหม ก็จะส่งผลให้เด็กสะสมความเครียดลบจบความคิดบวกมาเรื่อย ๆ หลงตัวว่าเก่งมากดีมากอยู่ในกรอบที่รู้สึกติดสุขสบาย เมื่อมาพบเจออุปสรรคจากสิ่งรอบข้างมากมายก็แก้ไขไม่ได้ทุกเรื่องเพราะใช้เวลาแก้ไขทีละเรื่อง และหลายเรื่องที่ไม่มีการสาธิตคิดเห็นภาพในห้องเรียน ซึ่งจริง ๆ เด็กกำลังเรียนรู้จากห้องเรียนพ่อแม่ครูและเพื่อนว่า "อะไรคือผลกระทบจากการไม่โกหกผู้อื่น และ อะไรคือผลกระทบของการหลอกหลงผิดคิดลบหรือโกหกตัวเอง เป็นช่วงเวลา 5-7 ปี ในการลองถูกลองผิดอย่างไม่ตัดสินถูกผิด เรียกว่า White Liar"

ดังนั้นกระบวนการที่ผู้ใหญ่ใจดีมีความตั้งใจใน 4 ครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงพัฒนาตนเอง ใช้เวลาแต่ละครั้งไม่เกิน 60 นาที อ้างอิง Motivational Enhancement Therapy พร้อมผสมผสานกิจกรรมบำบัดจิตสังคม ได้แก่ การสื่อสารบำบัด การสร้างสัมพันธภาพผ่านกิจกรรมสุ จิ ปุ ลิ แล้วลงมือฝึกเขียนกับจัดลำดับความต้องการพัฒนาตนเองจากจุดดีและจุดที่ควรพัฒนาด้วย Post It 4 สี เรียงความคิดให้ยืดหยุ่น จนถึงการใช้มือข้างไม่ถนัดเขียนขอบคุณความดีงามภายในตนเองอย่างน้อย 2-4 กล่องสี่เหลี่ยม หลังจากฝึกพับกระดาษ 4 รอบด้วยการหลับตา ที่สำคัญสุดคือ การอ่านใจในร่างกายที่ไม่เคยโกหกตัวเรา เช่น หัวเอียงซ้ายเพราะคิดเหตุผลทุกเรื่อง คิ้วขมวดเพราะคิดกังวลจนเป็นนิสัย เป็นต้น 

หมายเลขบันทึก: 689469เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2021 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2021 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท