สมถะและวิปัสสนาแบบ ๒ in ๑. (ธรรมศาสน์ ตอน ๖)


สมถะและวิปัสสนาแบบ ๒ in ๑.

สมาธิของชาวพุทธเถรวาทนั้นมี๒ คือ สมถะและวิปัสสนา สมถะคือความที่จิตดิ่งนิ่งเป็นอารมณ์เดียว หรือจิตหนึ่ง ทำให้เป็นจิตที่มีพลังมาก  อุปมาดังแสงแดดถูกเลนส์กระจกลู่ให้แสงเป็นจุด ก็จะมีพลังสูงมากจนเผาไหม้สรรพสิ่งได้..ส่วนวิปัสสนาคือการเอาจิตหนึ่งไปพิจารณาข้อธรรม..ที่นิยมกันมากก็คือไปเพ่งสติปัฎฐาน๔ คือ กาย/เวทนา/จิต/ธรรม ว่าเป็นทุกขัง/อนิจจัง/อนัตตา

.

จากมรรค๖ ที่เสนอในแนวธรรมศาสน์นั้นเราจะได้สมาธิเป็นยอดสุดของมรรคา แต่เรื่องยังไม่จบแค่นั้น ยังมีภารกิจหลงเหลืออยู่อีกพอสมควรที่จะต้องทำ คือการใช้สมาธิที่ได้มานั้นเพ่งเล็งให้เห็นสภาพความเป็นจริงของชีวิต อุปมาดั่งเราเดินตามมรรคาแล้ว ได้ขึ้นสูงสุดที่จุดยอดของภูเขาแล้วก็ตาม เราก็ยังต้องสำรวจไปรอบๆ ๓๖๐ องศาเพื่อให้เห็นเห็นภูมิประเทศโดยรอบว่าอะไรเป็นอะไร

เราจะเปรียบการเดินทางถึงยอดสุดว่าเป็น”สมถะสมาธิ” และการสำรวจไปรอบๆว่าเป็น”วิปัสสนาสมาธิ”..คำว่าสมถะสมาธิ หมายถึงว่าได้กระทำสมาธิมาตามมรรค๖ จนจิตเป็นหนึ่งเดียว (เอกคัคคตารมณ์) มีพลังจิตมาก แล้วก็เอาจิตหนึ่งนี้ไปพิจารณาข้อธรรม เรียกว่าวิปัสสนาสมาธิ ทั้งนี้จะใช้หลักสติปัฏฐาน๔ เป็นแกนซึ่งบอกไว้ว่ามีฐานอยู่ ๔ ฐานที่ต้องพิจารณาคือ ๑กาย ๒)เวทนา ๓)จิต ๔)ธรรม

.

เรื่องการพิจารณาสติปัฎฐาน๔นั้นมีสอนไว้โดยหลากหลายเกจิ อีกทั้งหนังสือธรรมอีกมากมายที่วางขายในท้องตลอด ท่านที่สนใจก็ไปหาซื้อมาอ่านได้ หรือในยุคอินเตอร์เน็ทก็อาจดาวน์โลดมาอ่านกันได้ฟรีๆมีมากมายหลายสำนัก

สำหรบสำนักธศ.นี้เราจะพยายาม ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ให้ได้มากที่สุด..ยิ่งถ้าเราใช้อานาปานสติเป็นวิธีในการสร้างสมถะสมาธิเสียแต่แรกแล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะต่อยอดให้เป็นวิปัสสนา คือ การพิจารณากายก็คือการมองเห็นตัวเรา(กาย)สัมผัสอยู่กับกายนอก (อากาศ) ผ่านอายตนะ ในที่นี้คือจมูก ทำให้เกิดเวทนาขึ้นที่รูจมูกทั้งสอง นี่จะเห็นเลยว่า เป็นการยิงนกสองตัวด้วยกระสุนนัดเดียว คือพิจาณาทีเดียว ได้ทั้งกายและเวทนาพร้อมกัน..เราก็เพ่งให้เห็นความเป็นทุกขัง/อนิจจัง ของทั้งกายและเวทนาได้..ตรงนี้หมายความว่าเห็นจริงๆ ด้วยตาใน ไม่ใช่เห็นตามที่สัญญาจดจำมาจากการฟังหรือการอ่านตำรา

  พอแตกฉานด้านกาย/เวทนาดีแล้ว ก็เลื่อนการพิจารณาไปที่จิต โดยดูให้เห็นว่าเวทนาจิตที่เกิดจากลมหายใจนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตทั้งหก (ตามอาการของอายตนะ๖) มีการทนอยู่ไม่ได้ (เป็นทุกข์) และเปลี่ยนแปลงไป (อนิจจา) เหมือนกันทุกอย่าง ยิ่งถ้าเราพิจารณาลมหายใจพร้อมบริกรรมว่า เกิดขึ้น/ตั้งอยู่/ดับไปเป็นสมถะสมาธิอยู่แล้ว ก็จะยิ่งสอดรับกับการวิปัสสนาในช่วงนี้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน เรียกว่า ๓ อิน ๑ ก็ยังได้

  สุดท้ายก็เอาจิตหนึ่งมาพิจารณาธรรม ให้เห็นว่าอาการทั้งหลายทั้งปวงนั้น  นอกจากเป็นทุกขัง/อนิจจา แล้วยังเป็นอนัตตาอีกด้วย คือสภาพการไม่ใช่ตัวตนที่จะสามารยึดเอามาเป็นของเราได้  ทำไปเช่นนี้ครั้งละนิดละหน่อยก็ได้ จนจิตเห็นจิตอย่างแท้จริง คือจิตใหญ่เห็นจิตเล็ก เรื่องมันก็จบแค่นั้น

                

-----คนถางทาง..๑๓ มีค. ๖๓

หมายเลขบันทึก: 689468เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2021 06:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มีนาคม 2021 06:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ท่านสอนว่า ธรรมทั้งหลาย ไม่มีอะไร มีแต่จิตเท่านั้นเอง จิตเห็นจิต เป็นมรรคผลจากการที่จิตเห็นจิตเป็นนิโรธ (การดับทุกข์)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท