บทวิจารณ์วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น แมวและกรงขัง : กลับมาเพื่อแทนคุณ


แมวในกรงขังเป็นวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นที่ผ่านการกลั่นกรองในการประกวดวรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้าประจำปี 2562 เรื่องราวที่เกิดขึ้นถ่ายทอดผ่านปลายปากกาของวัฒน์ ยวงแก้ว นักเขียนหนึ่งในนักเขียนร่วมสมัยผู้ที่มีความสามารถในการเรียบเรียงถ้อยคำที่อ่านแล้วรู้สึกคล้อยตามกับตัวละครและองค์ประกอบด้านอื่นของเรื่อง เรื่องราวเล่าผ่านความเชื่อ พฤติกรรมของตัวละคร กลายเป็น “แมวและกรงขัง” เรื่องสั้นเรื่องนี้อยู่ในหนังสือรวมเรื่องสั้นในโลกเล่า : In The World of Norrative

มันไม่ใช่เรื่องเล่าลึกลับขวัญผวาเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกที่ครอบครัวของนนท์ย้ายมาอยู่บ้านสวนกับแม่ ลูกสาวคนเล็กฝันเห็นยายกวักมือเรียก ภรรยาลุกขึ้นมาปลอบลูกสาวให้นอน ยายจากไปเมื่อ 3 ปีก่อน ลูกสาวเธอพบยายตอนป่วย นนท์และภรรยาคุยกับแม่หลายครั้งให้ไปอยู่ด้วยกันที่กรุงเทพฯ แต่แม่ไม่ยอมทิ้งไร่ เขาจึงต้องกลับมาอยู่บ้านสวนกับแม่ นนท์เล่าเรื่องความฝันของพ่อให้แม่ฟัง หลังจากติดต่อนายช่างเรื่องต่อเติมบ้าน เขาตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน พบกับน้าจวน ผู้ที่เอ็นดูนนท์ตั้งแต่เด็กทำให้น้าจวนได้เห็นลูกของนนท์ นนท์พบกับ   พี่แป ลูกสาวของน้าจวนจึงพาลูกไปเยี่ยมยายเนียมที่กระท่อมหลังบ้านภาพที่เห็นคือ ยายเนียมอยู่คนเดียว ทำให้นนท์ คิดถึงยายแพร้ว ในช่วงบั้นปลายชีวิต  แม่ไม่ได้เห็นกับตาหรอกไม่ยุ่งกับมันตั้งนานแล้ว แม่เล่าเรื่อง  น้าจวนกับยายเนียมในกรงขัง คืนนั้นโบว์ฝันเห็นย่าทวดถูกขัง ...และจากเรื่องราวที่ถูกเล่าสืบต่อมาจากยายผสานเข้ากับความทรงจำของแม่แต่งช่วงคอมมิวนิสต์ ตาถูกยิง หลังจากเหตุการณ์นั้น ทุกคนเริ่มทยอยออกจากบ้านมาใช้ชีวิตปกติ แม่กับน้าจวนทะเลาะกันเรื่องเขตแดน จำได้ว่าช่วงที่ยายไม่สบายมีอาการหลงลืม ยายเนียมพูดกับคนที่ล่วงลับไปแล้ว ขนาดนั้น มีกลุ่มหาเสียงมาหาน้าจวน ยายเนียมไม่อยากเลือกตั้งจึงให้นนท์พาไป ความเจ็บปวดที่ไม่ได้คาดคิดเล่นแปลบเข้าหัวใจเมื่อต้องเป็นคนปิดล็อคกุญแจลูกกรง หลังจากนั้นยายเนียมได้รับการดูแลเอาใจใส่ เสื้อผ้าสะอาด  แมวตัวนั้นยังอยู่ข้างยายเนียมเสมอ เย็นวันหนึ่งยายเนียมคุย          รู้เรื่องเล่าเรื่องการเลือกตั้ง นนทฺ์รื้อรถเข็นของยายออกมาให้ยายเนียม เพื่อพายายออกไปข้างนอก จะด้วยความเกรงใจหรือเพราะเหตุผลของผมออกมาภายนอกจึงมีอิสระ ผมมองรูปถ่ายของยายบนฝาผนังด้วย        ความรักรู้สึกผิดที่แฝงในใจตลอดมา

ผู้แต่งเปิดเรื่องด้วยการเล่าให้เห็นถึงความ รักความผูกพัน และความฝันของโบว์ลูกสาวนนท์ เล่าถึงเรื่องราวของยายที่ป่วยก่อนจากทุกคนไป โดยเล่าให้เห็นถึงชีวิตของตัวละครเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบพื้นฐานของตัวละครในเรื่อง ว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร จึงสร้างเรื่องราวใหม่    ให้ผู้อ่านอยากค้นหาต่อไปว่าเพราะเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์ในลักษณะนั้น เป็นการเปิดเรื่องให้ผู้อ่านได้รู้จักตัวละคร วิถีชีวิตของตัวละคร สัมผัสถึงความอบอุ่นของครอบครัวอีกด้วย  

          ผู้แต่งสร้างปมความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ นั่นคือ ความขัดแย้งของน้าจวนกับแม่ ซึ่งความขัดแย้งนี้เกิดตั้งแต่รุ่นตายาย คือ ตาทิมกับยายแพร้วขัดแย้งกับยายเนียม เหตุเพราะการเลือกฝ่ายระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์กับฝ่ายปกครอง  ตาทิมกับยายแพร้วเลือกคอมมิวนิสต์ ทำให้ทั้งสองครอบครัวมีความขัดแย้งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่กับน้าจวนพลอยขัดแย้งกันไปด้วย เป็นเหตุให้ยายเนียมไม่ได้ไปมาหาสู่กัน ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนทั้งสองครอบครัวผูกมิตรกัน ตั้งหลักปักฐานอยู่ด้วยกันเสมือนพี่น้อง เป็นการใช้ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เพื่อสะท้อนเรื่องราวการแบ่งฝ่ายของคนในสังคม

          ในส่วนของการดำเนินเรื่องผู้แต่งดำเนินเรื่องไปอย่างต่อเนื่องอ่านแล้วรู้สึกอยากค้นหาคำตอบว่าเพราะเหตุใดความฝันของโบว์จึงต้องมีแมวดำมาเกี่ยวข้องและเพราะเหตุใดแมวดำตัวนั้นต้องอยู่ข้างยายเสมอ ผู้แต่งเรื่อง เล่าสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างแม่กับน้าจวนเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบเหตุผลของการกระทำของแต่ละฝ่ายจำได้ว่าผู้แต่งให้การดำเนินเรื่องได้เป็นอย่างดีอ่านแล้วเข้าใจ ด้วยเหตุและผลที่สนับสนุนกันอย่างสอดคล้อง

          ปิดเรื่องโดยให้ผู้อ่านได้ทราบเหตุที่นนท์มาเยี่ยมและคอยช่วยเหลือยายเนียมอยู่บ่อย ๆ เป็นเพราะต้องการสานสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวเพื่อให้ไปมาหาสู่กันปกติและได้ดูแลยายเนียม ถือเป็นการทดแทนบุญคุณของยายและได้ทดแทนที่นนท์ไม่ได้ดูแลยายอย่างเต็มที่

          แม้จะเป็นการปิดเรื่องแบบโศกนาฏกรรม คือ ยายเนียมเสียชีวิต เหตุเพราะผู้แต่งต้องการให้ผู้อ่านได้ทราบความประสงค์ของตัวละคร ในส่วนของการตอบแทนผู้ที่มีพระคุณถือว่าได้ทดแทนกับสิ่งที่พลาดไป เช่นเดียวกันผู้แต่งเรื่องโดยการฝากให้ผู้อ่านได้คิดตามอีกว่า แม้เราจะไม่ได้เลี้ยงแมวตั้งแต่เริ่มแต่เราก็พร้อมที่จะเลี้ยงมันต่อไปถ้าแมวตัวนั้นก็เปรียบเสมือนแมวของเรา ดังข้อความในเนื้อเรื่อง

“ยังหรอกค่ะ แต่ไม่เป็นไรถึงยังไงมันก็เป็นแมวของเรา”  ลูกสาวตอบ (หน้า289)

          ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณ จากเนื้อเรื่องแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดา  นนท์รักแม่จึงกลับมาอยู่บ้านสวน เพื่ออยู่ดูแลแม่ทั้งยังได้ดูแลยายเนียม ทดแทนที่ตนไม่ได้ดูแลยายของตน หากมองในอีกแง่หนึ่งของผู้วิจารณ์เห็นว่า ผู้แต่งต้องการสื่อให้เห็นถึงความรักของน้าจวนที่มีให้ต่อนนท์ ตั้งแต่นนท์ยังเด็ก ถือเป็นการตอบแทนน้าจวนโดยการช่วยเหลือ และดูแลยายเนียม ที่เห็นได้ชัดในเรื่องนี้คือความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและยังสะท้อนถึงการไม่ดูแลเอาใจใส่ผู้มีพระคุณ รวมถึงการไม่ให้อิสระทางด้าน   การใช้ชีวิตและความคิด      

      นอกจากนั้น ผู้แต่งอยากแฝงเรื่องราวเกี่ยวกับการเมืองโดยแสดงให้เห็นถึงความ ทุจริตในการ  ซื้อสิทธิ์ขายเสียง เป็นการสะท้อนสังคมในปัจจุบัน สามารถพบสถานการณ์เช่นนี้อยู่ในสังคม นับได้ว่าผู้แต่งหยิบยกมาเล่าให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงความยุติธรรมและถูกต้อง ผู้เขียนสร้างตัวละครเพื่อต่อต้านคอรัปชั่นต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้อ่าน

สรรค์สร้างตัวละครได้อย่างสมเหตุสมผลมีความเหมาะสมกับการเป็นตัวหลักในการดำเนินเรื่องผู้วิจารณ์อ่านแล้วรู้สึกคล้อยตามไปกับตัวละครหลักอย่างนนท์ทำให้มองย้อนไปในเรื่องราวในอดีตของนนท์              ตัวละครประกอบตัวอื่น ๆ ยังสนับสนุนให้ตัวละครหลักดำเนินเรื่องได้อย่างน่าติดตาม

          ตัวละครเอกของเรื่องที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่อง เห็นได้ว่าผู้แต่งใช้ครอบครัวของนนท์เข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวละครอื่น ๆ เมื่อพิจารณาตัวละครหลักและตัวละครประกอบแล้วผู้แต่งสร้างสรรค์ตัวละครได้อย่างกลมกลืนกับเนื้อหา ทั้งยังได้กำหนดตัวละครนนท์และลูก เพื่อสื่อความเป็นแมวและกรงขังได้อย่างเด่นชัด นั่นคือ สรรค์สร้างให้ตัวละครทั้งสามเป็นสื่อในการเชื่อมโยงความรักความผูกพันของเขาและยายที่จากไป            ผู้แต่งใช้ตัวละครนำมาเป็นตัวแทนหรือใช้แมวดำแทนยายที่เสียไป ทั้งยังต้องการสื่อให้เห็นถึงชีวิตในบั้นปลายของยายแก่ที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่

          เมื่อวิเคราะห์จากตัวละครของเรื่องแล้วผู้วิจารณ์มีความเห็นว่า ตัวละครนนท์เป็นตัวละครลักษณะเดียว คือ เป็นผู้ที่มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดาและผู้ที่มีพระคุณ จากเนื้อเรื่องนนท์ย้ายกลับมาอยู่บ้านสวนเพื่อดูแลแม่ แม้ว่านนท์จะไม่มีโอกาสได้ดูแลยายแต่นนท์ก็ได้ดูแลเนียมซึ่งเป็นเพื่อนของยายแพร้ว ส่วนตัวละครประกอบนั้นผู้แต่งยกมาผสานให้เนื้อเรื่องมีความชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจ สัมผัสถึงความเป็นอยู่ของตัวละครได้อย่างเด่นชัด

         สิ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องดำเนินไปได้อย่างราบรื่น คือ การใช้บทสนทนาของผู้แต่ง เป็นบทสนทนาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครโดยเฉพาะบทสนทนาของยายเนียมกับนนท์และลูก ดังข้อความในเนื้อเรื่อง

         “มาอีกเมื่อไหร่ล่ะลูก แกพูดเร็วอาวรณ์ปรากฏในแววตาอย่างเห็นได้ชัดผมตอบแทนลูกไปว่าไว้ว่าง ๆ แล้วจะมาเยี่ยมอีก”(หน้า271)

          จากข้อความดังกล่าวทำให้ผู้อ่านรู้สึกได้ว่ายายเนียมขาดความอบอุ่นและการดูแลเอาใจใส่จากลูก 

         “หนูฝันเห็นญาติถูกขัง นั่งร้องไห้อยู่ หนูเลยร้องไห้ด้วย” โบว์เล่า (หน้า274)

                   จากข้อความดังกล่าว เป็นบทสนทนาของโบว์ เล่าความฝันให้กับนนท์ฟัง ความฝันของโบว์นั้น เป็นความฝันที่เชื่อมโยงกับชีวิตของยายเนียม ผู้แต่งอาจต้องการสร้างบทสนทนานี้เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพชีวิตหลังความตายของยายที่ยังวนเวียนอยู่กับยายเนียม

         จากการพิจารณาบทสนทนาข้างต้นผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้แต่งบทสนทนาเพื่อสื่อเรื่องราวออกมาให้ผู้อ่านได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของยายเนียม รวมถึงการเชื่อมโยงให้สอดคล้องกับยายของนนท์ที่เสียไปแล้ว โดยแฝงความเชื่อเรื่องแมว ทีเกี่ยวข้องกับความตาย เนื้อเรื่องจึงดำเนินไปอย่างมีเหตุมีผลมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความเป็นไปของเรื่อง

ฉากและบรรยากาศ ที่สำคัญในเรื่องคือฉากที่นนท์ ไปหายายเนียม แล้วได้เห็นภาพความเป็นอยู่ของยายเนียมที่ไร้การดูแลจากลูก ทำให้บรรยากาศที่นอนได้ไปพบเห็นนั้นเป็นบรรยากาศที่ เวทนาสงสาร พิจารณาข้อความที่กล่าวในเนื้อเรื่องว่า

       “ผมทำเรื่องดูภายในกระท่อมเสื้อผ้ากองกระจัดกระจาย บางส่วนภาคบนเรารุงรัง ร้านอาหารเก่าวางซ้อนกันอยู่หน้าชั้นตะแกรงใส่ถ้วยชาม ไม่ไกลกันนักมีกระโถนวางอยู่บนพื้น รอบบริเวณเปียกชื้นทั้งหมดดูเหมือนขาดการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยอย่างรุนแรง”

        จากข้อความข้างต้น ผู้แต่งบรรยายฉากให้ผู้อ่านได้เห็นอย่างเด่นชัด คือกระท่อมหลังเก่าที่ไม่ได้รับการดูแลความสะอาด ทำให้ผู้อ่าน เห็นว่ายายเนียมถูกปล่อยปละละเลยให้อยู่คนเดียว ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างที่ควรจะเป็น

        นอกจากนั้น ผู้แต่งใช้ฉากที่บ่งบอกถึงความเป็นชนบท ในส่วนของเนื้อเรื่องสังเกตได้จากตอนที่แม่ของนนท์เก็บชะอม ทำให้เห็นภาพของวิถีชนบท คือ การเก็บผักริมรั้ว และสัมผัสกับชุมชนที่เงียบสงบจากคำว่า “บ้านสวน” จากการใช้ฉากที่มีความสมจริง  ผู้แต่งสามารถถ่ายทอดบรรยากาศของบ้านสวนให้ผู้อ่านได้เข้าใจ และสัมผัสถึงความสงบความเรียบง่ายของการใช้ชีวิต

กลวิธีของการแต่งในส่วนของการใช้ภาษาผู้เขียนใช้ภาษาที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วย สัญญะ ที่สร้างไว้ให้ผู้อ่านได้ขบคิด  สัญลักษณ์ที่นำมาใช้เป็นจุดเด่นของเรื่องนี้นั่นคือ สัญลักษณ์ของแมวและกรงขัง ดังนี้

          แมวเป็นภาพแทนของคนตาย จากเนื้อเรื่องผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้ทราบว่าแมวในเนื้อเรื่องนั้น เป็นภาพแทนของยายแพร้วซึ่งเป็นยายของนนท์ เป็นการนำประสบการณ์ชีวิตของผู้แต่ง มาเขียนเรื่องราวเพื่อถ่ายทอดให้ผู้อ่าน ได้เห็นในลักษณะเดียวกันกับผู้เขียน ทั้งยังเป็นประสบการณ์ร่วมของผู้อ่านอีกด้วย เพราะเป็นความเชื่อของคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อกันว่าแมว คือ สัญลักษณ์ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

          กรงขังเป็นสัญลักษณ์ของการกักขังทางความคิด ผู้วิจารณ์เห็นว่าผู้แต่งใช้กรงขังมาสื่อความหมายของการถูกกักขังทางความคิด โดยปกติมีความเข้าใจว่า กรงขัง หมายถึง ที่คุมขัง จึงกล่าวได้ว่า ผู้แต่งใช้กรงขังเพื่อแสดงถึงการขาดความเป็นอิสระ และอยู่ภายใต้การควบคุม จากเนื้อเรื่องยายเนียมถูกขังและไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ นับได้ว่าผู้แต่งใช้สัญลักษณ์กรงขังมาเชื่อมโยงเรื่องราวชีวิตของตัวละครได้เป็นอย่างดี

          ผู้แต่งใช้โวหารประเภท บรรยายโวหารให้ผู้อ่านได้เห็น ถึงบรรยากาศของเนื้อเรื่อง เป็นการบ่งบอกถึงความเจริญของชุมชน ดังข้อความในเนื้อเรื่อง

          “บ้านสวนเองก็มีหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปถนนลาดยางที่กว้างและดีกว่าเดิม บริเวณสี่แยกถนนใหญ่ที่เคยเป็นชุมชนขนาดย่อม มีสิ่งปลูกสร้างทันสมัยเกิดขึ้นใหม่เป็นทิวแถว เป็นร้านค้าธุรกิจหลายประเภทที่สอดรับกับความเจริญด้านต่าง ๆ ซึ่งหลั่งไหลเข้ามา”(หน้า 262)

          จากข้อความข้างต้นเป็นการใช้โวหารประเภทบรรยายโวหาร เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นลักษณะของชุมชนที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้แต่งใช้โวหารประเภทนี้เป็นอย่างดี เมื่ออ่านแล้วสัมผัสถึงบรรยากาศของคนในชุมชนและได้เห็นสภาพของชุมชนชนบทอีกด้วย

          จึงกล่าวได้ว่าแมวและกรงขังจัดเป็น เรื่องที่อ่านง่าย หลักการใช้ภาษาเป็นการแต่งแบบบรรยายและพัฒนาผสานกันอย่างลงตัว ใช้ประโยคความเดียวทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่าย เลือกสรรถ้อยคำมาใช้ได้อย่างเหมาะสม เพราะเป็นคำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้อ่านได้อย่างต่อเนื่องและไม่ขาดอรรถรสในการเสพวรรณกรรม

          เมื่อพิจารณาองค์ประกอบทั้งหมดของเรื่องแล้วจะเห็นได้ว่าทุกองค์ประกอบมีความสอดคล้องกันอย่างกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นการวางโครงเรื่อง ตัวละคร แก่นเรื่อง บทสนทนา ฉากและบรรยากาศ รวมถึงการใช้ภาษาของผู้แต่ง ซึ่งทำให้ทุกองค์ประกอบมีความสัมพันธ์กันและสำคัญต่อกัน ไม่สามารถแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกจากกันได้ ในแง่ของการใช้สำนวนภาษามีความเรียบง่ายและชัดเจน ทำให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการตามได้อย่างไม่ติดขัด ในส่วนของการบรรยายทำให้ผู้อ่านเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครนนท์ และลูกสาวของนนท์คือ โบว์ กับเหตุการณ์ที่ผู้แต่งสร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือส่วนของ           บทสนทนาของแต่งใช้บทสนทนาได้อย่างเหมาะสมกับตัวละคร รวมถึงใช้บุคลิกภาพของตัวละคร มาถ่ายทอดให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดียิ่งขึ้น จึงกล่าวได้ว่าเรื่องแมวและกรงขังเป็นเรื่องที่ผู้แต่งสามารถทำให้ผู้อ่านคล้อยตาม ซาบซึ้งกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้เป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 689024เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2021 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2021 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท