รางวัลนักการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์



Bernard M. Gordon Prize for Innovation in Engineering and Technology Education 2021    มอบแก่ศาสตราจารย์ MIT สองท่านคือ Linda Griffith  และ Douglas Lauffenburger (๑) จากผลงาน biology-based engineering education    ที่อ่านแล้วนึกถึงสมัยผมเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษา    เพื่อนๆ ที่เรียนเก่งแต่ไม่ชอบวิชาชีววิทยา  จะมุ่งไปเรียนวิศวะ    ภายใต้แนวคิดว่า วิศวกรรมศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต    ศาสตราจารย์สองท่านนี้ ทำงานแหวกแนวจากความคิดเดิมๆ    จึงมีผลงานยิ่งใหญ่

ทั้งสองท่านร่วมกันก่อตั้ง CGR – Center for Gynepathology Research    เป็นการริเริ่มเชื่อมโยงวิศวกรรมกับการแพทย์เข้าด้วยกัน   

เมื่อเข้าไปอ่านเรื่องของ ศ. ลินดา กริฟฟิธ ก็พบว่าตำแหน่งของท่านคือ   Teaching Innovation Professor of Biological and Mechanical Engineering (๒)    ท่านผู้นี้จึงเป็นผู้นำทั้งด้านการเรียนการสอน และการผสานศาสตร์ด้านวิศวกรรมและศาสตร์ด้านชีวภาพเข้าด้วยกัน   

จากข้อความใน (๒)   ผมได้รู้จัก Undergraduate Research Opportunities Program (UROP) (๓)    ที่อาจหนุนให้นักศึกษาจบออกไปเป็นผู้ประกอบการไฮเทค     ศูนย์นี้กำลังฉลองครบรอบ ๕๐ ปี    วงการอุดมศึกษาไทยน่าจะค้นคว้าเรื่องราวของศูนย์นี้    และศูนย์คล้ายๆ กันในมหาวิทยาลัยอื่นๆ    เอามาคิดโมเดลของไทยเราบ้าง   

เมื่ออ่านไปถึงประวัติของ Douglas Lauffenburger ใน (๑)พบว่าท่านเป็น  Ford Professor of Bioengineering    สังกัดถึง ๓ ภาควิชา คือ biological engineering, chemical engineering, and biology    จะเห็นว่า multiple appointment เป็นเครื่องมือหนึ่งของการบูรณาการศาสตร์     

แค่อ่านเอกสารเรื่อง Gordon Prize  (๑) เราก็สามารถเอามาคิดสร้างสรรค์อุดมศึกษาไทยได้มากมาย

วิจารณ์ พานิช

๓๐ ม.ค. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 688752เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2021 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2021 18:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท