สะท้อนความรู้ PBL II


           จากการศึกษากรณีศึกษาผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 83 ปี มีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้ ผู้สูงอายุนั่งรถเข็น ยืนไม่ค่อยได้ อาศัยอยู่ชั้นล่างของบ้าน อาศัยอยู่กับลูกสาวและมีความกังวลเรื่องน้ำหนัก ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่มร่วมกับอาจารย์และได้ข้อสรุปดังนี้

- ยังไม่ทราบโรคชัดเจนจึงตั้งสมมติฐานว่ามาจากความเสื่อมตามช่วงอายุ 

- แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนในหัวข้อ

  1. ด้านสุขภาพควรฟื้นฟูให้มีความรู้มากกว่าการป้องกันเนื่องจากยังไม่ทราบโรคที่ชัดเจน
  2. ด้านการศึกษาส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเนื่องจากผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและกระตุ้นการทำงานของสมอง และตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ
  3. ด้านความเป็นอยู่เป็นการพัฒนาทักษะในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองเพื่อให้เกิด well-being
  4. ด้านสังคมส่งเสริมการช่วยเหลือในระดับบุคคลเพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความช่วยเหลือซึ่งจะทำให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์ช่วย เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆที่เขามีเจตจำนงที่จะทำ โดยอาจจะผ่านทางงบประมาณ บริการต่างๆ และเป็นการพัฒนาความสามารถในการดูแลของสมาชิกในครอบครัวหรือผู้ดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ด้านการเสริมพลังส่งเสริมให้ชุมชนมีการจัดตั้งองค์กรเพื่อคนพิการเพื่อให้ผู้พิการในชุมชนได้รับสวัสดิการและสิทธิที่พึงจะได้ตามสิทธิคนพิการและได้รับบริการการดูแลอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและร่วมกันขับเคลื่อนให้ผู้พิการสามารถดูแลตนเองได้

- การประเมินทางกิจกรรมบำบัดเมื่อลงชุมชน

  1. การวัดน้ำหนัก - ส่วนสูงเพื่อประเมินค่า BMI
  2. การประเมินสัญญาณชีพ การหายใจ ความดัน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ความทนทานของกล้ามเนื้อ และช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เป็นต้น
  3. การประเมินทางสุขภาพด้วยนักกิจกรรมบำบัดและสอบถามความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแล
  4. การสัมภาษณ์และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมด้านสุขภาพจากผู้ดูแลและผู้รับบริการ เช่น โรคประจำตัว การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ผู้รับบริการเข้ารับบริการ )
  5. การสอบถามข้อมูลการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/สถานีอนามัย เช่น นโยบายของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  6. การประเมินระดับการช่วยเหลือของผู้ดูแลว่ามี passive overprotect หรือไม่  ซึ่งถ้ามีอาจส่งผลต่อความเครียดของผู้รับบริการได้

- Assessment ICF

  1. การประเมินสาเหตุการใช้รถเข็น ( wheel chair ) ในการเคลื่อนย้ายตัวและเดินทางไปในที่ต่างๆ
  2. การประเมินการเดิน
  3. การประเมินการใช้อุปกรณ์การช่วยเดิน ( walking device )
  4. การประเมินความมั่นคงในการยืนทำกิจกรรม ( Health related activity standing stability )
  5. การประเมินการทำกิจวัตรประจำวัน ( activities of daily living ) เช่น  การอาบน้ำ  การเข้าห้องน้ำขับถ่ายของเสีย

จัดทำโดย นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3 กลุ่ม5

คำสำคัญ (Tags): #OT in community
หมายเลขบันทึก: 688643เขียนเมื่อ 30 มกราคม 2021 13:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2021 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิเคราะห์ได้ดี แต่ควรเพิ่ม Home & Community Transportation Safety + W/C & Assistive Devices, Caregiver Psychoeducation (Worrying about BMI + Coping Strategies for Aging in Place – Nutrition, Physical Activity MET, Positive Emotion, Social Leisure Satisfaction) [COPM for productive aged 60-70, PEOP for positive aged 70+]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท