กระบวนการสรรหาผู้บริหารในมหาวิทยาลัย



ในการประชุมสภา มช. วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๓   มีวาระเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาคณบดีคณะหนึ่ง ที่นอกจากกำหนดให้มีการเสนอชื่อบุคคลเป็นกรรมการสรรหา ตามข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาคณบดี    ยังมีการเสนอว่า มหาวิทยาลัยได้สอบถามข้อคิดเห็นจาก stakeholders ว่า ทิศทางของคณะนั้นใน ๔ ปีข้างหน้าควรเป็นอย่างไร    และคุณสมบัติของคณบดีที่จะเข้ามาขับเคลื่อนผลงานนั้นเป็นอย่างไร   

ข้อมูลทิศทางพัฒนาคณะใน ๔ ปีข้างหน้า จะช่วยบอกว่า ควรหาผู้มีความสามารถด้านใดมาทำหน้าที่ผู้นำของคณะ    การเสนอชื่อผู้เหมาะสมจึงต้องเสนอภายใต้กรอบความคิดเชิงเป้าหมายของส่วนงานในอนาคต    ไม่ใช่เสนอตามความชอบหรือความสนิทสนมส่วนตัวเท่านั้น   

เคยมีกรณีเรื่องจริง    ที่ในการสรรหาคณบดีคณะหนึ่ง  ได้อดีตผู้บริหารส่วนงานที่ประสบความสำเร็จสูงมาก    แต่เมื่อรับตำแหน่งใหม่    ผลการประเมินบอกว่ามีปัญหาด้านการบริหาร    ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วพอจะบอกได้ว่า เพราะบริบทของสองส่วนงานนั้นแตกต่างกัน    ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในบริบทหนึ่ง  อาจไม่เหมาะที่จะเป็นผู้นำในอีกบริบทหนึ่ง

จึงควรต้องส่งเอกสารเป้าหมายทิศทางไปให้ผู้เสนอชื่อ ให้เสนอชื่อผู้ที่จะนำคณะให้บรรลุเป้าหมายนั้นได้

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ม.ค. ๖๔


หมายเลขบันทึก: 688618เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2021 20:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มกราคม 2021 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท