ชีวิตที่พอเพียง : 177. เรียนรู้เรื่องแมลงควบคุมวัชพืช


         วันที่ ๖ - ๘ พย. ๔๙ ผมมีโอกาสนั่งในรถยนต์เดินทางไกลร่วมกับสุดยอดนักควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี     หรือที่เรียกว่า bio control     คือ รศ. ดร. บรรพต ณ ป้อมเพชร      ผมจึงหาโอกาสเรียนรู้จากท่านทันที 

          ตัวแรกที่ผมได้รู้จักคือ "หนอนกินจอก" (Spodoptera pectiniconis)     ซึ่งเป็นหนอนเชื้อชาติและสัญชาติไทย      คือมีอยู่ในประเทศไทย     ทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้จอกแหนแพร่พันธุ์มากเกิน

         ด้วงงวงผักตบชวา (มี 2 species คือ Neochetina eichhorrniae กับ N. bruchi)      ตัวนี้ ดร. บรรพต เอามาจาก อาร์เจนติน่า ท่านภูมิใจมากว่าได้ช่วยควบคุมผักตบชวาได้ผลดีมาก     จนชาวบ้านที่ใช้ผักตบชวาทำเครื่องจักสานขาดแคลนผักตบชวา

         ด้วงเจาะเมล็ดไมยราพยักษ์ (มี 2 species คือ Acanthoscelides quadridentatus และ A. puniceus)     เอามาจากเม็กซิโก  ช่วยปราบไมยราพยักษ์ไปได้มาก     ท่านบอกว่า ที่มาเลเซียไม่มีการนำด้วงเจาะเมล็ดไมยราพยักษ์ไปปล่อย     ปัญหาไมยราพยักษ์จึงรุนแรงกว่าไทยมาก

         ผมได้เรียนรู้จากท่านว่าแมลงเหล่านี้มีอยู่ในพื้นที่ที่มีพืชนั้นๆ อยู่      แล้วอยู่ๆ ก็มีคนสัปดน ไปเอาพืชจากถิ่นอื่นมาปลูกเล่น    แล้วพืชนั้นก็แพร่กระจายไปโดยเร็วตามธรรมชาติของมัน     โดยไม่มีตัวควบคุม เพราะคนไม่ได้เอาตัวควบคุมติดมาด้วย     การแพร่กระจายจึงรุนแรงมาก     วิธีควบคุมโดยชีววิธีก็ทำโดยไปหาให้พบว่าตามธรรมชาติในถิ่นเดิมของมัน แมลงอะไรเป็นตัวควบคุมไม่ให้พืชชนิดนั้นแพร่ขยายออกไปอย่างไร้ของเขต      แล้วเอาแมลงชนิดนั้นๆ มาปล่อย ให้ควบคุมพืชชนิดนั้นๆ    

          ดร. บรรพต ยังได้เล่าเรื่องราวที่ท่านไปช่วยประเทศอื่นๆ ในเรื่องการใช้แมลงควบคุมวัชชพืชนี้

          ผมได้เรียนรู้สมดุลธรรมชาติจากผู้เชี่ยวชาญที่สุดของประเทศ      น่าภูมิใจจริงๆ

วิจารณ์ พานิช
๑๔ พย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 68520เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2006 08:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท