Netflix และการเรียนรู้: 6 วิธีในการสอนภาษาอังกฤษด้วยโทรทัศน์


เมื่อปีแล้ว ฉันถามนักเรียนวัยรุ่นในการให้รายชื่อมา 5 ชื่อในการเรียนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์ และNetflix อยู่ในระดับสูงสุด

เกินกว่า 37 % ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ทสมัครใช้ Netflix ที่ตัวมันเองจะมีหนังและหนังชุดให้บริการ

เกือบทุกๆคนที่ฉันรู้จักเป็นสมาชิกของเทคโนโลยีที่เสนอหนัง เพลง หนังชุดแบบ real time ซึ่งมีทั้งเพื่อน, ครอบครัว, เพื่อนร่วมงาน, และนักเรียนของฉัน

ฉันถามนักเรียนของฉันถึงสิ่งที่พวกเขาดู

ฉันเคยถามว่าพวกเขาดูหนังมากี่เรื่อง และพวกเขาดูหนังอย่างไร (เป็นบทบรรยาย หรือเสียงพากย์) จากนี้ ฉันจึงทำรายการหนังชุดและภาพยนตร์ ที่นักเรียนส่วนใหญ่ของฉันดู ฉันใช้สิ่งเหล่านี้มาเป็นอุปกรณ์การสอน

ฉันจะให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนด้วย โดยการถามว่าพวกเขาต้องการพัฒนาทักษะอะไร

พวกเขามักบอกฉันว่าไม่มีเวลาทำการบ้าน แต่พวกเขาใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ไปจนถึง 2-3 ชั่วโมงต่อวันในการดูโทรทัศน์ออนไลน์ ดังนั้นฉันเลยเสนอการบ้านโดยใช้หนังชุดและภาพยนตร์แทน

นักเรียนมีรสนิยมในการดูหนังชุดและภาพยนตร์ต่างกัน

จากประสบการณ์ของฉัน สิ่งนี้ไม่น่ากังวล ผู้เรียนของฉันมีแรงจูงใจและความสนใจในเรื่องเดียวกัน เพราะพวกเขาร่วมมือกันเลือก

ฉันรู้สึกประหลาดใจที่ค้นพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ดูหนังชุดแบบภาษาของตนเอง โดยที่ไม่มีบทพากย์ อย่างไรก็ตาม หลายคนยังใช้บทบรรยายหนังชุดและภาพยนตร์

ผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษไม่มากจะเลือกที่มีบทบรรยายอยู่ข้างใต้มากกว่า

หากเธอตั้งใจจะวางแผนโดยการใช้เทคโนโลยีเสนอหนังชุดและภาพยนตร์ จงทำมันอย่างถูกกฎหมายด้วย

กิจกรรมที่ 1: นำเสนอภาพหรือการวาดภาพในหนังชุดหรือภาพยนตร์

ระดับ: เบื้องต้นถึงขั้นสูง

ขอให้ผู้เรียนดูบางส่วนของหนังชุดหรือภาพยนตร์ที่พวกเขาเลือกบ้าน และให้นำภาพวาดหรือภาพที่บอกพวกเชาชอบมาในชั้นเรียนคาบต่อไป ขอให้ผู้เรียนวิเคราะห์ภาพวาดหรือภาพจริงโดบการใช้วลีเหล่านี้เป็นตัวเริ่มต้น

-In this scene there is = ในฉากนี้ มี.............

-We can see = เราสามารถเห็น.............

-The main character/ (name of character) is+ ving = ตัวละครหลัก/ (ชื่อของตัวละคร) กำลังทำ............อยู่

-He/ She is about to = เขา/หล่อนกำลังจะ

-Before, he/she was+ving = ก่อนหน้านี้ เขา/หล่อนกำลังจะทำ.............

เธอสามารถประยุกต์กิจกรรมนี้ไปได้ทุกระดับความรู้ และมันเริ่มจาก 30 วินาทีถึง 5 นาที

เธอสามารถขอให้ผู้เริ่มเรียนบรรยายสิ่งที่พวกเขาเห็น เธอสามารถถามเด็กที่มีความรู้ขั้นกลางว่าทำไมฉากนี้จึงมีความสำคัญ หรือภาพที่มาก่อนและหลังคืออะไร

คำถามสำหรับขั้นสูงควรถามเรื่องวิธีการผลิตหรือการกำกับ เช่น

-What camera angle would you have chosen for this scene? มุมมองกล้องแบบไหนที่คุณจะเลือกในถ่ายฉากนี้?

นักเรียนที่มีความสามารถขั้นสูงต้องบรรยายภาพวาดหรือภาพจริงให้เพื่อนโดยที่ไม่ได้แสดงภาพวาดหรือภาพจริงให้เห็น สิ่งนี้จะระงับสิ่งล่อใจให้บรรยายแต่ภาพอย่างเดียว ในขณะเดียวกันก็เพิ่มการคิดเชิงสร้างสรรค์ด้วย

สำหรับการฝึกปฏิบัติเรื่องความจำในภาพวาดหรือภาพจริง ขอให้ผู้เรียนใช้บทสนทนาในกลุ่มมากกว่าคู่

กิจกรรมที่ 2: นักสืบทางภาษา

ระดับ: ประถมถึงก้าวหน้า

บอกผู้เรียนว่าพวกเขาจะได้ดูการแสดงภาษาอังกฤษในชั้นเรียนคราวหน้า ซึ่งการแสดงจะเป็นเหมือนนักสืบทางภาษา ตลอดช่วงการแสดง พวกเขาจะต้องสังเกตและจดภาษาที่ครูเคยสอนในชั้นเรียน

ผู้เรียนจะแสดงผลการสังเกตในโปสเตอร์ในชั้นเรียน ซึ่งจะมีทั้งการใช้กาลเวลา หรือวลี แต่ถ้าจะให้ได้ควรมีกิจกรรมการตระหนักรู้ทางไวยากรณ์ (raising grammar awareness) และการพัฒนาทักษะการสังเกต ครูควรแสดงให้เห็นว่าบทเรียนในหนังสือสามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์จริงได้อย่างไร

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Melissa Thomson. Netflix and learn: six ways to teach English language skill with television

กิจกรรมที่ 3: กล่องคำพูดของตัวละคร

ระดับ: เริ่มต้นถึงขั้นสูง

ขอให้ผู้เรียนร่วมกันเลือกช่วงหนังชุดที่พวกเขาดูระหว่างสัปดาห์

ต่อมา ให้พวกเขาพัฒนาวลี หรือลำดับขั้นของวลีเพื่อใส่เข้าไปในตอนที่สำคัญ เช่น

-I can’t believe he/she just did that! =ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่าเขา/หล่อนจะทำสิ่งนั้น

-This is boring. = มันน่าเบื่อจริงๆ

เมื่อนักเรียนแต่ละคนดูหนังชุดที่บ้าน พวกเขาต้องเลือกฉากไหนที่กล่องคำพูดของตัวละครเหมาะสมที่สุด และควรจับเวลาไว้ด้วย

เมื่อนักเรียนเข้าชั้นในคาบต่อไป แยกนักเรียนออกเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่ออธิบายการตัดสินใจ จงเฝ้าดูและเลือกตัวอย่างที่ดีที่สุดเพื่อแสดงให้คนอื่นๆเขาดู

ตรงนี้ขึ้นกับความสามารถทางภาษา ผู้เรียนอาจอภิปรายทางเลือกเป็นภาษาแม่หรือภาษาอังกฤษก็ได้ ครูสามารถช่วยเหลือผู้เรียนที่มีความสามารถทางภาษาไม่ค่อยดีด้วยประโยคช่วยเหลือที่ว่า

-I think X’ idea is best, because = ฉันคิดว่าความคิดของ X ดีที่สุด เพราะว่า..............

ฉันขอแนะนำว่ารอบนี้ใช้เวลาแค่ 3 นาที การจำกัดเวลาโดยมากจะให้แรงจูงใจกับผู้เรียนในการหาข้อสรุป

ภาระงานนี้ทำให้ผู้เรียนมีเหตุผลในการฟัง และเน้นที่ไปที่การตีความที่ผู้เขียนอาจไม่ได้เขียนออกมาตรงๆ ดังนั้นจึงเป็นการพัฒนาการรู้จักข้อมูล และทักษะการคิดวิเคราะห์

กิจกรรมที่ 4: กล่องคำพูดตัวละคร ส่วนที่ 2

ระดับ: ขั้นกลางขึ้นไป

จงใช้หนังที่ให้ดูเมื่อกิจกรรมที่แล้ว แต่แทนที่จะให้ใช้กล่องคำพูดตัวละคร ครั้งนี้ให้ผู้เรียนคิดบทพากย์บทสนทนาด้วยตนเอง

สำหรับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ฉันแนะนำให้ใช้ฉากดราม่าหรือฉากตลก พร้อมกับมีตัวละคร 2-3 ตัวและมีการเคลื่อนไหว

ให้เล่นฉากนั้นใหม่และถามพวกนักเรียนว่าจำบทสนทนาได้หรือไม่? พวกเขาอาจจำส่วนสำคัญได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

นี่อาจดูอุดมคติสักหน่อย เพราะกิจกรรมนี้ต้องการให้ผู้เรียนสร้างบทพากย์ด้วยการใช้สคริปต์ของตนเอง หรือไม่ก็ด้นสด ซึ่งขึ้นอยู่กับทักษะที่คุณต้องการให้พวกเขาฝึกปฏิบัติ

ผู้เรียนอาจใช้คำพูดที่ใช้ในสถานการณ์จริง หรืออาจจะตลกหรือล้อเลียนก็ได้ ซึ่งพวกเขาจะได้แสดงสิ่งนี้หน้าชั้น

กิจกรรม: 3,2, 1

ระดับ: เหนือขั้นกลางขึ้นไป

หากกล่าวถึงกิจกรรม 2 อย่างที่กล่าวมาแล้ว ชั้นเรียนทั้งหมดต้องตัดสินใจว่าจะดูหนังชุดหรือภาพยนตร์ตอนไหน แต่กิจกรรมนี้ต้องการให้ผู้เรียนดูหนังภาษาอังกฤษที่มีบทบรรยายภาษาอังกฤษอยู่ข้างใต้ และให้จดรายการต่างๆ ดังนี้

-3 คำหรือวลีที่พวกเขาได้เรียนรู้จากตอนของหนัง (สิ่งนี้จะยอดเยี่ยมที่สุด หากมีพจนานุกรมอยู่ข้างๆ)

-2 บรรทัดที่ดีทีสุดในบทสนทนา

-ฉากที่ดีที่สุดเพียง 1 ฉาก

ในชั้นเรียน เธอสามารถให้ผลย้อนกลับโดยแบ่งกระดานออกเป็น 3 ช่วง ขอให้พวกเขาเขียนผลการสังเกต ทำงานกับเขาเพื่อ

-สร้างประโยคด้วยวลีหรือคำที่พวกเขาเลือก

-สร้างบทสนทนาการตอบรับกับบทสนทนาที่ดีที่สุด

-อภิปรายถึงทำไมพวกเขาจึงชอบฉากนี้

เธออาจขอให้ผู้เรียนสร้างโปสเตอร์เพื่อนำเสนอในชั้นเรียน

กิจกรรมที่ 6: ศึกษาเอกสารคล้ายๆงานวิจัย

ระดับ: เหนือขั้นกลางขึ้นไป และชั้นเรียนบูรณาการภาษาและเนื้อหาเข้าด้วยกัน (CLIL)

กิจกรรมนี้ถ้าจะให้ดีคือนักเรียนของคุณชอบศึกษาเอกสารมากกว่าเรื่องแต่ง หรอหากคุณเป็นครูที่สอนทั้งภาษากับเนื้อหา

จะมีชีวประวัติและเอกสารต่างๆทางออนไลน์ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เพื่อการวิจัยคนที่มีชื่อเสียง, สถานที่, สัตว์, ความคิดรวบยอดที่พวกเขาสนใจ

ขอให้ผู้เรียนดูหนังเอกสารที่บ้าน และให้จดเหตุการณ์หรือความคิดที่สำคัญมาสัก 6-8 อย่าง ในชั้นเรียน ผู้เรียนสามารถพัฒนาสิ่งที่จดไปเป็นงานเขียนหรือการนำเสนอรูปแบบต่างๆ

หากคุณเป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์, ประวัติศาสตร์, หรือวิทยาศาสตร์ คุณสามารถสร้างโครงงานที่เป็นโปสเตอร์ ที่ผู้เรียนคุณใช้หนังเอกสารเป็นงานวิจัย

ด้วยกิจกรรมการฟังไปจนถึงการเขียน นักเรียนสามารถฝึกทักษะการจดโน้ตที่มีคุณค่าได้ การนำเสนอกระบวนการ หรืออธิบายความคิดรวบยอดในโปสเตอร์จะช่วยฝึกทักษะการประเมินและการคิดสร้างสรรค์ได้

นี่คือสิ่งที่ผู้เรียนของฉันมีการโต้ตอบ

ฉันพบว่ามันน่าสนใจที่มองเห็นว่าความสนใจของผู้เรียนนอกชั้นเรียนได้รับอิทธิพลจากการสอนในห้อง

ผู้เรียนของฉันมีแนวโน้มที่สนใจหนังชุดหรือภาพยนตร์ที่พวกเขาได้ดู เพระว่ากิจกรรมในชั้นเรียนทำให้พวกเขาเข้าใจบทสนทนาและฉากต่างๆได้ดีขึ้น 2-3 คนของพวกเขาสามารถหาจุดบกพร่องในหนังชุดเรื่องใหม่ที่เพื่อนในห้องแนะนำ

ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการพูดเกี่ยวกับการบ้านมากขึ้นในห้อง และไม่เบื่อที่จะดูหนังชุดหรือภาพยนตรและหนังเอกสารที่เป็นภาษาอังกฤษนอกชั้นเรียน

แปลและเรียบเรียงข้อมูลจาก

Melissa Thomson. Netflix and learn: six ways to teach English language skill with television

https://www.britishcouncil.org/voices-magazine/teach-english-language-skills-television

หมายเลขบันทึก: 681721เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2020 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2020 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กิจกรรมทั้ง 6 กิจกรรมน่าสนใจมาก และคิดว่าใช้ได้จริง ดูรายการหนังและหนังซีรีย์ใน Netflix มาระยะหนึ่งแล้ว ก็คิดเหมือนกันว่าใช้เป็นสื่อการสอนภาษาอังกฤษได้ดี ถ้าครูคิดกิจกรรมชึ้นมาใช้หรือ แค่ฟังเสียงซึมซับวิธีพูด รูปประโยค บทสนทนา ภาษาพูด ก็มีประโยชน์ยิ่งแล้ว สังเกตว่าบทพูดมักง่าย ชัดถ้อยชัดคำ แสลง หรือสำนวนก็ไม่มาก หรือยากเกินไป เขาคงทำให้คนทั่วโลกที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาดูรู้เรื่อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท