ประเพณีตักบาตรหน้าบ้าน


ประเพณีตักบาตรหน้าบ้าน

วันที่ 22 สิงหาคม 2563 หมู่บ้านทุ่งคา ต.ละหาร อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส มีประเพณีตักบาตรหน้าบ้านมายาวนานไม่สามารถหาที่มาๆด้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด หรือรับประเพณีมาจากที่ใด ได้มีโอกาสคุยกับป้าแอ๊ะ อายุ 84 ปี และแม่ อายุ 80 ปี เล่าว่า ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อได้ข้าวใหม่มาก่อนที่เราจะนำมารับประทานเองต้องถวายให้กับสิ่งศักดิ์ศิษย์ เช่น เทวดา ปู่ย่าตายาย ได้รับประทานก่อนเรา สมัยก่อนเราเก็บข้าวด้วยแกะ ขากนั้นนวดข้าวกันเองที่บ้าน ตากข้าวด้วยเสื้อใบเตย แล้วนำข้าวมาตำด้วยครกตำข้าว ช่วยกันตำ กว่าจะได้ข้าวสารมารับประทานค่อนข้างยุ่งยาก

? ทุกบ้านจะนำข้าวใหม่มาถวายพระภิกษุสงฆ์ เทวดา ผีทั้งหลายโดยมีการละเล่นที่ถวายในเทศกาลคือมโนราห์ เป็นวิธีการของบรรพบุรุษที่จะดีงดูดคนให้เข้ามาร่วมกิจกรรมกัน แต่เดิมเป็นมโนาราห์แขก มีการร่ายรำถวายเทวดารอบระทา ในกาแสดงพูดภาษายาวีเหมือนลิเกตอบโต้กันเป็นเรื่องราวสองแง่สามง่ามสร้างความสนุกสนานสนุกสนาน เสียงสวดให้พรจากพระภิกษุและเสียงมโนราห์จากพี่น้องมุสลิมสอดแทรกไปพร้อมกัน เป็นผสมผสนนกลมกลืนของสังคมที่มีการเป็นอยู่โดยไม่แยกศาสนาคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของความเป็นมนุษยชาติ โดยที่การละเล่นจะจัดขึ้นในเวลาหัวค่ำจนถึงดีก และเวลากลางวันของอีกวันหนึ่ง จึงส่งเทวดากลับสรวงสวรรค์ ประเพณีนี้จึงเป็นประเพณีของการแสดงความกตัญูกตเวทีต่อผู้มีพระตุณและเฉลิมฉลองเทศกาลหลังฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวไปพร้อมกัน

? อาหารที่นำมาถวาย พร้อมกับข้าวใหม่คือกับข้าวต่างๆ แบบบ้านๆที่มาจากธรรมชาติ ข้าวในนา ปลาในน้ำปลอดสารพิษ และข้าวต้มสามเหลี่ยม ปลาแห้ง ในพิธีมีการตั้งศาลเพียงตาหน้าโรงมโนราห์อยู่ทางทิศตะวันออกสำหรับไหว้เทวดา โดยการแสดงมโนราห์จะแสดงให้เทวดาดู พร้อมกับรับพรจากพระโดยมีหมอทำพิธีถวายให้กีบเทวดา ช่วงแรกแสดงในเวลากลางคืน ประเพณีโบราณจะเคร่งครัดมิให้ใครไปบดบังระว่างที่เทวดาชมมโนราห์ สถานที่เมื่อก่อนใช้ศาลาก่อนเข้าหมู่บ้าน จึงอาจจะเป็นที่มาของประเพณีตักบาตรหน้าบ้าน อาหารที่ถวายเทวดาจะนำไปลอยแพบริเวณคลองที่สะพานยาว ห้ามนำกลับไปรับประทาน อาหารที่เหลือจากการถวายพระจะไม่นำกลับบ้าน จะเทให้ทานแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

? เมื่อก่อนจะสนุกตรงที่จะต้องหาใบจาก หาไม้ไผ่มาเย็บใบจากทำหลังคา และทำโรงโนราห์ ทำระทา(รูปเทวดา)ที่นำไม้ไผ่มาดัดโค้ง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง บนคทาเจะนำเทียนไปวางไว้ตามรูป เมื่อจุดเทียนทั่งหมดจะเห็นรูปเทวดาสว่างไสวท่ามกลางความมืดยามราตรีเป็นความสามัคคีที่ร่วมทำบุญกันในหมู่บ้านได้ความสัมพันธ์อันดี

? ปัจจุบัน แม้ว่าหมู่บ้านเราจะไม่มีข้าวที่มาจากการทำนาเนื่องจากบ้านเราไม่มีน้ำสำหรับทำนาจนต้องเปลี่ยนนาเป็นสวนยางสวนปาล์ม แต่เรายังคงสืบสานประเพณีอันดีงามนี้ไว้ โดยจัดขึ้นทุกปี มีการแสดงเป็นมโนราห์ควนผสมผสานระหว่างลูกหลานมโนราห์ในหมู่บ้านที่ช่วยกันอนุรักษ์ กับมโนราห์แขก ภาษาที่ใช้ในการแสดงจะมีทั้งภาษาไทยและภาษายาวี ขั้นตอนทุกอย่างเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนสถานที่เป็นหน้าวัดทุ่งคา ระทาก็เป็นเหล็กดัดสำเร็จรูป พิธีกลางคืนจะมีผู้ที่วิ่งนำธูปที่จะถวายเทวดารอบงาน 3 รอบเพื่อเป็นสิริมงคล ระหว่างพิธีชาวบ้านจะมีการโปรยข้าวสารเป็นระยะๆจนกว่าจะเสร็จพิธี ไปยังบริเวณที่จัดไหว้คนที่นั่งหน้าจะได้รับข้าวสารจากการโปรยจากคนด้านหลัง สรุกสนานกันไป อาหารที่จัดถวายในงานปัจจุบันข้าวยากหม่แพงก็สามารถนำกลับไปรับประทานที่บ้านได้

? เทศกาลนี้จะจัดขึ้นในเดือนห้าถือตามจันทรคติ แต่ปีนี้หมู่บ้านต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาลเพื่อช่วยกันป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด เมื่อทุกอย่างคลี่คลานรัฐบาลประกาศให้สามารถทำกิจกรรมภายใต้วิถึใหม่ ชาวบ้านจึงร่วมกันจัดในวันนี้ แม้จะม่รวมกลุ่มกัน ป้าๆยายๆก็เคร่งครัดเรื่องการป้องกันตนเองและผู้อื่น สวมแมสกันทุกคน

❤ประเพณีที่ต้องธำรงรักษา กลิ่นข้าวใหม่ที่เพิ่งหุงสุกยังโชยมาแตะจมูก หวนรำลึกถึงความดีงามของบรรพยบุรุษผู้รักความสงบและเรียบง่าย ในเทศกาลอันศักดิ์สิทธิ#เราลูกหลานบ้านทุ่งคา❤



about:blank#blocked

หมายเลขบันทึก: 681065เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2020 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2020 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท