กำเนิดมนุษย์...(4)


ระหว่างช่องกระดูก

يَخْرُجُ مِن بَيْنِ الصُّلْبِ وَالتَّرَائِبِ ﴿

                   ...มันออกมาระหว่างกระดูกสันหลังและกระดูกหน้าอก...(อัลกุรอาน 86/7)

                น้ำที่ไหลรินออกด้วยความเร็วและแรง มุ่งไปยังสถานที่ปฏิสนธินั้น มันพุ่งออกมาจากแหล่งกำเนิดที่อยู่ระหว่าง กระดูกสันหลัง(صُلْب) และกระดูหน้าอก(تَرَائِب  )

                 อุลามาอฺ(ผู้รู้หรือนักวิชาการอิสลาม) มีความเห็นที่แตกต่างกับคำสองคำนี้ 

                อัลบะฆอวี (البغوي)กล่าวว่า หมายถึงกระดูกสันหลังของผู้ชายและกระดูกส่วนอกของผู้หญิง อิบนุอับบาสได้กล่าวว่า มันคือบริเวณสร้อยคอหน้าอก [i] 

               อัลมะรอฆี(المراغي) ได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายของท่านว่า صُلْب  หมายถึงกระดูกสันหลัง และ تَرَائِب   หมายถึงกระดูกซี่โครงตรงทรวงอก  ฉะนั้นคำว่า بَيْنِ الصُّلْبِ وَالتَّرَائِبِหมายถึง ระหว่างพื้นกระดูกสันหลังกับพื้นกระดูกซี่โครง[ii] 

               อิบนุก็อยยิม ได้กล่าวว่า ไม่แตกต่างถ้าจะบอกว่า صُّلْب กระดูกสันหลัง หมายถึง صُّلْب กระดูกสันหลังของผู้ชา และคำว่า  تَرَائِبหมายถึงช่องกระดูกระหว่างกระดูกซี่โครงกับช่องนม

                และคนอื่นๆ ได้ให้ความเห็นที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว บ้างก็มีความเห็นว่า تَرَائِبหมายถึง มือสองข้าง ขาสองข้าง คอ[iii] และกระดูกเริ่มต้นของกระดูกขา หรือ กระดูกที่อยู่ระหว่างขาทั้งสอง[iv] 

                จากการศึกษาทางสรีรวิทยาและพัฒนาการของมนุษย์ พบว่า ก่อนที่ต่อมเพศ Gonad เป็นต่อมที่สร้างฮอร์โมนเพื่อสร้างอสุจิและไข่ จะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน(ผู้ชายจะอยู่ที่อัณฑะและผู้หญิงอยู่ที่รังไข่) ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการการเกิดปฏิสนธิต่อมเพศจะรวมกันอยู่บริเวณช่องกระดูกสันหลังกับกระดูกซี่โครง หลังจากนั้นก็จะค่อยๆเลื่อนลงไปยังตำแหน่งปัจจุบัน

 

  ต่อมเพศ Gonad ตั้งอยู่ตรงช่องระหว่างกระดูกสันหลังกับกระดูกซี่โครง

การเคลื่อนย้ายต่อมเพศจากช่องระหว่างกระดูกสันหลังกับกระดูกดซี่โครง  

แสดงการเคลื่อนย้ายของของต่อมเพศ(อัณฑะ)



[i]تفسير البغوي ، ج1 ص394
[ii]تفسير المراغي ، ج ص
[iii]تفسير القرآن العظيم ، لابن كثير ، ج4 ص641
[iv]مع الطب في القرآن ، للدكتور عبد الحميد دياب و الدكتور أحمد قرقوز
หมายเลขบันทึก: 68083เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท