ชีวิตที่พอเพียง 3756. เปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าด้วยน้ำหนัก



บทความเรื่อง Treating Patients Without the Scale (1) ใน Scientific American ฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๓ สะกิดใจผมอย่างแรง

 ว่าในสังคมของเรามีความเชื่อหรือความเข้าใจผิดๆ    ที่กลายเป็นเครื่องมือทำมาหากินแบบหาผลประโยชน์บนความเดือดร้อนของคนอื่นอย่างมากมาย    อย่างหนึ่งคือการแก้ปัญหาโรคอ้วน แบบเน้นที่การควบคุมน้ำหนัก

บทความนี้บอกว่าหมอส่วนใหญ่เคี่ยวเข็ญให้ผู้ป่วยโรคอ้วนลดน้ำหนัก เพื่อให้สุขภาพดีขึ้น    แนวทางนั้นก่อผลร้ายมากกว่าผลดี   

การที่วงการสุขภาพตีตราเรื่องน้ำหนักเกิน    ก่อผลร้ายมากกว่าผลดี ต่อสุขภาพ

มีหมอจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่เน้นแนะนำพฤติกรรมสุขภาพ มากกว่าเน้นให้ลดน้ำหนัก   

จะเห็นว่า เรื่องโรคอ้วน เป็นเรื่องของจิตใจ  มากพอๆ กันกับเรื่องทางกาย    และวาจาท่าทีของวงการแพทย์ต่อคนอ้วนมีผลทางใจไม่ใช่น้อย    สร้างความซับซ้อนและความสับสนให้แก่คนอ้วน    บทความนี้มีความยาวและรายละเอียดมาก    ชี้ให้เห็นว่า วงการสุขภาพได้สร้างอคติต่อคนอ้วนจากข้อมูลหลักฐานด้านผลเสียต่อสุขภาพ    แต่ละเลยข้อมูลหลักฐานในบางเรื่องที่คนน้ำหนักเกินมีผลด้านสุขภาพดีกว่า เช่นในการผ่าตัดหัวใจ      

วิจารณ์ พานิช    

๖ ก.ค. ๖๓


   

หมายเลขบันทึก: 680279เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2020 20:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2020 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

โรคอ้วนเป็นปัญหามาก ทั้งคนอ้วนและคนมาทักว่าเราอ้วน ทำให้เกิดผลเสีย มีความเครียด ยิ่งพยายามที่จะลด ยิ่งไม่ยอมลดค่ะ และสำคัญพออายุมากขึ้น ก็มักจะน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ จนแซวกันว่าแค่มองอาหาร ก็อ้วนแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท