ไสยศาสตร์ : บทบาทรองของพระสงฆ์


พระสงฆ์กับปัญหาสังคม ๒

   พระสงฆ์กับการช่วยเหลือสังคม มีมาตั้งแต่อดีตกาล สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงปัจจุบันนั้น พระสงฆ์ส่วนใหญ่สละชีวิตแบบชาวบ้าน ผันตนมาบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้นอย่างแท้จริง ศึกษา หาความรู้บำเพ็ญเพียร เพื่อการลดละและนำพาชาวบ้านพัฒนา ไม่เป็นภาระแก่สังคม  พระสงฆ์เหล่านี้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการบำเพ็ญเพียร บวชด้วยความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นและบริสุทธิ์ใจในบวรพุทธศาสนา ตามหลักพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุธรรม อันนำไปสู่การพ้นจากวัฏสงสาร ทำให้พ้นจากกองทุกข์ และ ช่วยเหลือส่งเสริมแก่ชุมชนโดยไม่มุ่งผลกำไร

   ท่านเหล่านั้นได้ศึกษาเรียนรู้จนชำนาญในศาสตร์ต่างๆ เช่นภาษาศาสตร์เช่นภาษาบาลี ภาษาธรรม/ โหราศาสตร์เช่นการดูฤกษ์ยาม/ ไสยศาสตร์เช่นหมอทรง ปราบภูตผี/ภูมิปัญญาศาสตร์เช่นคติธรรมคำสอน /เวชศาสตร์เช่นยาสมุนไพร/เกษตรศาสตร์เช่นการปลูกป่า/ศิลปะศาสตร์เช่นการแกะสลักลวดลาย/มนตราศาสตร์เช่นเครื่องรางของขลัง/มายาศาสตร์ เช่นการเหาะเหินเดินอาการเป็นต้น ท่านลองนึกภาพดูว่าศาสตร์เหล่านี้มีอยู่ในของพระสงฆ์รูปใด ท่านแก้ปัญหาของสังคมจริงหรือไม่ ดั่งเช่นสมัยอยุธยามีสมเด็จพระนพรัตน์แห่งวัดป่าแก้ว ได้แสดงธรรมเพื่อให้ทรงยกโทษประหารแก่ แม่ทัพนายกอง  ต่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แม้สมัยรัตนโกสินทร์ก็มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต  หลวงปู่ชา สุภัทโท เป็นต้น ล้วนแต่เป็นอริยสงฆ์ที่มีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือจนถึงปัจจุบัน

          อย่างไรก็ตามถึงแม้พระอยากจะออกมาช่วยปัญหาของสังคม ก็ต้องดูถึงความเหมาะสมกับสมณะภาวะว่าสิ่งนั้น มันเป็นโลกวัชชะหรือไม่ ถึงแม้เจตนาดีแต่ไม่เหมาะสมก็ไม่ควร.

หมายเลขบันทึก: 677877เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2020 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2020 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท