งานประสานงานวิจัยบำราศฯ


การก้าวต่อไปของงานวิจัยในปี 2550

          เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2549 (14.00 - 16.15 น.) มีการพูดคุยกันสบายๆ นอกรอบเรื่องการดำเนินงานของงานวิจัยสถาบัน เพราะงานวิจัยเป็นภารกิจหลักสำคัญประการหนึ่งของสถาบัน ในการก้าวต่อไปของปี 2550 จะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้เกิดความสมดุลย์และความสุขของผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้อง สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น คือ

          1. คณะกรรมการกลางที่เป็นตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำวิจัย เพื่อพิจารณารับงานวิจัยที่เข้ามาทำในสถาบัน พิจารณาความเหมาะสมในเรื่องปริมาณงานวิจัย, การระบุชื่อในผลงาน, ค่าตอบแทน (ทั้งต่อสถาบันและผู้ปฏิบัติงาน), สิทธิและจริยธรรมต่อผู้ป่วย/ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย

          2. กำหนดประเภทของงานวิจัย เช่น งานวิจัยจากงบประมาณ, งานวิจัยของบุคลากรสถาบัน, งานวิจัยจากบริษัทผู้สนับสนุน และงานวิจัยของนักศึกษา 

          3. กำหนดหน้าที่ของผู้รับผิดชอบงานประสานงานวิจัยและผู้รับผิดชอบงานวิจัยทางคลินิกให้ชัดเจน, กำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับปริมาณงาน, ความรับผิดชอบ และความซับซ้อนในการทำงาน รวมทั้งกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของอัตรากำลังด้วย

          4. มี OPD ของงานวิจัยทางคลินิกที่แยกจากงาน OPD ทั่วไป เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน GCP  

          5. มีเกณฑ์ในการพิจารณาผู้ร่วมในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรของสถาบัน, สร้างความสามัคคี, ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน และความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม 

          6. มีราคามาตรฐาน/ราคากลางในการตรวจ & วินิจฉัยสำหรับงานวิจัย เช่น ค่า LAB, ค่า X-ray ฯลฯ

         

หมายเลขบันทึก: 67771เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ฝากมอมเรียนคุณเอื้อของงานวิจัยช่วยทำPeer Assistในงานวิจัยโดยใช้โครงการTUCเป็นฐานก็ดีนะคะ     จะได้ผลงานทั้ง  KM  R2R  TUC

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท