New Normal ในการจัดการเรียนรู้ R2R


New Normal  ในการจัดการเรียนรู้ R2R

เกือบจะห้าเดือนกว่าที่พวกเราต้องจดจ่ออยู่กับการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โควิด19 ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทำให้เราต้อง alert กันอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ ข่าวคราว การแพร่ระบาดไปจนถึงการใช้ชีวิตในแต่ละวัน พลอยทำให้เรื่องอื่นดูเหมือนหยุดชะงักไปหรือถูกจดจ่อน้อยลง

การขับเคลื่อน R2R ในพื้นที่ก็เช่นเดียวกัน

จากกระบวนการที่เริ่มต้นกันแบบตื่นตัวมาก ต้องหยุดกระบวนการเรียนรู้ไป เพราะบุคลากรเจ้าหน้าที่ต่างต้องระดมพลกันทำงานป้องกันและคัดกรอง

โควิด19 แม้แต่ตัวฉันเอง ก็ถูกมอบหมายให้ไปทำหน้าที่ที่คลินิก ARI แม้จะเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับทุกคน แต่ฉันกลับมองว่าเราสามารถเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสได้ เริ่มต้นการเรียนรู้ใหม่ กว่าสองเดือนที่จมอยู่กับภารกิจนี้ จนเมื่อมีประกาศคลายล็อคลงบ้าง แต่ในคนทำงานที่ทำงานอยู่ในส่วนนี้ก็ยังไม่สามารถวางใจลงได้ เพราะการแพร่กระจายมีโอกาสเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จากกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการตรวจหรือยังไม่แสดงอาการ

ช่วงเริ่มการทำงานใหม่ ฉันปิ๊งแว้ปขึ้นมาเลยว่า ควรจะนำวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการทำงานครั้งนี้ นับตั้งแต่ศึกษาสถานการณ์ การวางระบบบริการให้ได้มาตรฐานมุ่งเน้นในเรื่อง 2P Safety และ Risk Management ตลอดจนการพัฒนา Alert Triage ได้แบ่งช่วงเวลาการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ 

ระยะที่ 1ศึกษาสถานการณ์

1. ศึกษาสถานการณ์และการเกิดโรคระบาด URI และ COVID-19

2. ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติต่อการเข้าถึงระบบบริการในผู้ป่วยที่มารับบริการ ARI Clinic

ระยะที่ 2 การพัฒนามาตรฐานของ ARI Clinic สู่การเกิด 2P Safety

1. การจัดการและการบริหารความเสี่ยงต่อการเพิ่ม 2P safety ในคลินิก ARI Clinic

2. Warning Sign to Accumulated Heat เพื่อป้องกันการเกิด Heat Injury ใน ARI Clinic

3. ผลของรูปแบบการเฝ้าระวังการเกิด Panic จากโรค COVID-19

4. การเข้าถึงความรู้และคัดแยกความแตกต่างระหว่าง URI และ COVID-19 ในกลุ่มผู้มารับบริการคลินิก ARI

ระยะที่ 3 ศึกษาและประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนาคลินิก ARI Clinic

การทำให้วิจัยควบคู่ไปพร้อมกับการทำงานประจำที่อยู่ตรงหน้าเรานั้นสำหรับฉันแล้วมันช่วยทำให้เรา Alert มาก หรืออาจจะเป็นเพราะว่าโรคที่เรากำลังเผชิญหน้าอยู่นี้มีอะไรให้เราค้นหาอยู่มากเหมือนกัน

วันไหนที่ว่างจากการทำงาน ARI ฉันก็ยังมาขับเคลื่อนเรื่องการจัดการเรียนรู้ R2R แต่รูปแบบเปลี่ยนไปมากแทนที่จะเป็นแบบ Face to Face เปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารเช่น FaceTime Line, Zoom, Facebook Live เป็นต้น เมื่อใช้มาสักระยะหนึ่งทำให้ต้องเริ่มมาจริงจังในการออกแบบการเรียนรู้แล้วล่ะว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิด Active Learning หรือ Interactive Learning นั้นควรจะเป็นอย่างไร และขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบอะไรบ้าง

และสิ่งที่น่าท้าทายเพิ่มขึ้นคือ New Normal to Transformative Learning จะเป็นไปได้ไหม จะออกแบบหน้าตาอย่างไรดี และผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจะออกมาอย่างไรบ้าง จดความคิดไว้ก่อนค่อยเรียนรู้ต่อไป

20-05-63

คำสำคัญ (Tags): #r2r#ARI Clinic#km
หมายเลขบันทึก: 677557เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2020 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2020 15:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท