Chapter 7 : Storytelling (Part5)


             มีอีกหนึ่งเทคนิคในการเล่าเรื่องแบบ Storytelling ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมในการสร้างเรื่องราวของเราให้ดูน่าสนใจ และสามารถนำไปใช้ในการสร้างแบรนด์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้ คือ เทคนิคที่เรียกว่า SCQA storytelling Method

          หลาย ๆ คนคงสงสัยใช้ไหมครับว่า เทคนิค SCQA คืออะไร? ผมขอเล่าคร่าว ๆ แบบนี้ครับ เทคนิค SCQA เป็นกระบวนในการสร้างเนื้อหา หรือข้อความที่ต้องการจะสื่อสาร เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการตลาด หรือทางธุรกิจครับ ซึ่งกระบวนการนี้จะสำคัญมาก เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้าง storytelling เพื่อที่จะบอกได้ว่าเนื้อหา หรือข้อความนั้น ไปสื่อสารออกไปเข้าไปอยู่ในใจผู้ฟัง หรือผู้บริโภคนั้นเอง

              ซึ่งโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบ SCQA นี้จะช่วยให้ผู้ฟัง ทำความเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราต้องการจะถ่ายทอดออกไป ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และลดการตีความเนื้อหา ที่ผิดพลาดของแต่ละคนได้อีกด้วย

              งั้นเรามาดูกันครับว่าโครงสร้างการเล่าเรื่องแบบ SCQA ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง


  • S = Situation ต้องบอกว่าเรื่องราวที่เราต้องการจะสื่อสารนั้นตอนนี้กำลังอยู่ที่จุดไหนโดยอ้างอิงจากสิ่งที่ผู้ฟังรู้จัก และคุ้นเคยเป็นดี เพื่อสร้างการเชื่อมโยงให้กับผู้ฟังได้เห็นภาพ และดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง เตรียมพร้อมผู้ฟังเพื่อที่เราจะได้นำเสนอข้อมูลอื่น ๆ ในขั้นตอนถัดไป
  • C = Complication จากในขั้นตอน Situation ที่เราเล่าเรื่องที่ทำผู้ฟังเห็นภาพตามจากสิ่งที่เค้าเคยรู้ หรือคุ้นชินแล้ว ผู้ฟังจะเกิดคำถามในใจว่า “เค้าก็รู้อยู่แล้ว จะมาเล่าให้ฟังทำไมกัน?” นั้นคือสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรื่องเล่าของเราได้รับการสนใจจากผู้ฟังแล้ว!!  สิ่งที่เราควรทำต่อจากนั้น คือการที่นำเสนอสิ่งที่ผู้ฟังไม่เคยรู้มาก่อน ว่าเกิดอะไรขึ้นตามมาหลังจากนั้น โดยสถานการณ์ที่เล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยได้ยิน หรือรับรู้มา มีจุดขัดแย้งเพิ่มขึ้นมา ทำให้ผู้ฟังจะเริ่มคิดตามในเรื่องราวของเราที่เป็นจุดเปลี่ยน
  • Q = Question เมื่อเข้าจุดเปลี่ยนของเรื่อง สิ่งที่เกิดขึ้นในใจผู้ฟัง จะเกิดคำถามในใจผู้ฟังทันที ว่าถ้าเป็นตัวเค้าจะแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร หรือหาทางออกจากจุดเปลี่ยนแบบนั้นอย่างไรดี และทางเลือกที่เค้าตัดสินใจนั้นถูกต้องหรือไม่จะมีผลยังไงตามมาบ้าง
  • A = Answer ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเข้าสู่บทสรุปว่าเรื่องราวที่เรากำลังถ่ายอดไปนั้นได้คำตอบในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างไรบ้าง ซึ่งคำตอบเหล่านี้ควรเป็นการตอบประเด็นของเรื่องราวที่เรากำลังถ่ายทอดออกมา โดยสรุปเรื่องราวทั้งหมดอีกครั้ง จุดเปลี่ยนที่สำคัญหรือปัญหาคืออะไร และวิธีการแก้ไขทำอย่างไร ที่จุดทีละประเด็นที่เราสื่อสารออกไป

              เป็นอย่างไรบ้างครับนี่ก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่จะสร้างเรื่องราวของเราให้เป็นที่น่าสนใจ และจะบันทึกอยู่ในความทรงจำของผู้ฟังได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในเชิงการตลาดนำเสนอสินค้า หรือประโยชน์ในทางธุรกิจอื่น ๆ ได้อีกด้วยครับ

คำสำคัญ (Tags): #stroytelling#management
หมายเลขบันทึก: 677553เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2020 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2020 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท