KM 77 มวยคู่เอก...ระหว่างการทำงานของสถาบันการศึกษาของรัฐกับเอกชน...ใครจะไปทางไหน


การบริหารในองค์กรที่เรียนว่าโรงเรียน(ส่วนมาก) ยังใช้วัฒนธรรมการบริหารแบบเก่าๆ โดยวิธีการสั่งการจากเบื้องบน คนในองค์กรมีหน้าที่อยู่ 2 อย่าง ข้อ1ต้องปฏิบัติตายคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อ2 ถ้าไม่เข้าใจกลับไปอ่านข้อ 1

        เห็นผลการประเมิณโรงเรียนของ สมศ. แล้วเหนื่อยกับการจัดการศึกษาของไทย นี้ขนาดประเมินแบบ กัลยาณมิตร นะครับยังผ่านการประเมินเพียง 34% โรงเรียนเอกชนผ่าน 49% ถ้าประเมินโดยศาลไคฟง ของท่านเปาวุ่นจิ้น คงจะผ่านแค่ 5% แน่ๆครับ

       ถึงแม่ว่าโรงเรียนรัฐและเอกชน ต่างก็โดนต่อยนับ8 ทั้งสองฝ่าย แต่ด้วยความเข้มเอาจริงเอาจังกับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด จึงทำให้โรงเรียนเอกชน ชนะคะแนนแบบมีแผลแตกทั้ง2ฝ่าย

        ในฐานะที่ผมเป็นครูมา 23 ปีได้เห็น ความจริง(แท้)ของการทำงานในองค์กรของครูที่เราเรียกว่าโรงเรียนของรัฐ และมีโอกาสสัมผัสกับการทำงานของโรงเรยนของเอกชนทั้งหมด ทำให้เห็นมุมมองในวัฒนธรรมการทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายของบังอาจเปรียบมวยคู่เอกให้ดูหน่อยครับ

            ร.ร. เอกชน                                          

  • ทำงานเต็มเวลา
  • ทำงานอยู่บนหน้าที่อย่างเคร่งครัด
  • งานหลักคือการสอนและดูแลนักเรียน
  • นักเรียนหัวดีไหลเข้า
  • ครูทำหน้าที่หนัก เงินเดือนน้อย
  • ครูได้โอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ๆมาก
  • มีความรู้ทักษะน้อย แต่นำมาใช้มาก

              ร.ร. รัฐ

  • ทำงานเวลาเต็ม
  • ทำงานทั่วไปเป็นหลัก
  • งานหลักทำตามและดูแลผู้บริหาร ดูแลนักเรียนเป็นงานรอง
  • นักเรียนหัวดีไหลออก
  • ครูทำงานน้อยเงินเดือนหนัก
  • ครุได้เรียนรู้เทคนิคพิเศษในการทำผลงานวิชาการเพื่อเพื่มเงินเดือนให้กับตัวเอง  
  • มีทักษะและความรู้มากนำมาใช้น้อย

       

            มีคนตั้งคำถามว่าปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในองค์กรทางการศึกษาหัวใจของปัญหาคืออะไร ..................... ตอบ  อยู่ที่การบริหารจัดการขององค์กรเอง....  ถามต่อ แล้วใครเป็นผู้กุมหัวใจนี้ไว้............ ตอบ .......... ผู้บริหาร ครับ...ถูกต้องแล้วครับ

           สิ่งที่มองเห็นชัดเจนของการบริหารในองค์กรที่เรียนว่าโรงเรียน(ส่วนมาก) ยังใช้วัฒนธรรมการบริหารแบบเก่าๆ โดยวิธีการสั่งการจากเบื้องบน คนในองค์กรมีหน้าที่อยู่ 2 อย่าง ข้อ1ต้องปฏิบัติตายคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อ2 ถ้าไม่เข้าใจกลับไปอ่านข้อ 1

           ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะปรับเปรี่ยนวิธีคิดการบริหารองค์กรให้ทุกคนมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ที่จะต้องร่วมรับทั้งผิดและชอบร่วมกัน มุ่งสู้เป้าหมาย เดี่ยวกัน เมื่อทุกคนรู้หน้าที่ รู้การจัดการตัวเองได้แล้วทุกคนในองค์กรจะเป็นผู้บริหารกันทุดคน 

  

หมายเลขบันทึก: 67675เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาทักทายครับ

ผมกลัวแต่มวยล้มครับ อาจารย์ศิริพงษ์

ขอเป็นแรงใจครับ

อุทัย

 

 โรงเรียนของรัฐมีอยู่ 4  กลุ่มใหญ่ ๆ

1.  โรงเรียนขนาดเล็ก

      -     นักเรียน้อยกว่า 500  คน เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้านและตำบล

      -    นักเรียนน้อย สติปัญญาด้อยถึงปานกลาง 

      -    เงินค่าหัวน้อยจึงมีงบบริหารจัดการแบบปากกัดตีนถีบ แค่ค่าน้ำค่าไฟยังต้องผ่อนส่ง 

      -    ครูมีน้อย  คาบสอนมาก กรอบงานหรืองานพิเศษนอกเหนือจากการสอนเท่ากับโรงเรียนขนาดปลาง ใหญ่ และใหญ่พิเศษ เกือบทุกคนจึงควบตำแหน่ง ครู  ภารโรงและพนักงานสำนักงานไปพร้อม ๆ กัน ประเภทครูไทยทำได้ทุกอย่าง จนไม่มีเวลามากพอที่จะพัฒนาและสอนศิษย์

2.  โรงเรียนขนาดกลาง  นักเรียน 501 - 1,000 คน เป็นโรงเรียนประจำตำบล

     -  มีนักเรียนมากพอสมควร  ระดับสติปปัญญามีทั้งด้อย ปานกลางและดีแต่มีน้อยและอำเภอขนาดเล็ก

      -  เงินค่าหัวเพิ่มขึ้นแต่จะไม่พอถ้าบริหารจัดการไม่เป็น เช่น ให้แต่ผู้บริหารไปราชการจนกลายเป็นงบราชเกิน

      -  จำนวนครูมีปานกลาง  แต่กรอบงานเท่ากัน จำนวนคนที่แบ่งเบาภาระงานสอนและงานพิเศษเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่เพียงพอ  งานจึงหนักเหมือนเดิม

3.  โรงเรียนขนาดใหญ่

ถ้าคาดหวังให้ทุกคนเป็นผู้บริหารร่วมกันทั้งหมด คงหมดหวังกับกระทรวงศึกษาธิการที่รักของเราแน่นอนพี่พงษ์

ถ้าคาดหวังอยากได้โรงเรียนอย่างที่ว่า ต้องออกไปตั้งโรงเรียนเอง กับเพื่อน พ้อง น้องพี่ที่มีใจ และมีทุนด้วยค่ะ

 

3.  โรงเรียนขนาดใหญ่ 

     -  นักเรียน 1,001 - 1,500 (ไม่แน่ใจ)

     -   ระดับสติปัญญา มีทั้งอ่อน ปานกลางและดี แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาสมองไหล นักเรียนเก่งไหลไปอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศา โรงเรียนดังทั้งหลาย

     -   เงินค่าหัวมากขึ้น เงินบริจาคมากขึ้น  บริหารจัดการได้สะดวก

     -   จำนวนครูมีเพียงพอและขาดบางสาขาวิชา  จำนวนคาบสอนไม่มาก งานหน้าที่พิเศษมีทำเป็นบางคน บางคนไม่ทำก็อยู่ได้

4.   โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ 

      -   นักเรียนมากกว่า 1,500 คน  บางโรงเรียนถึง  5,000  คนก็มี

      -  เงินงบประมาณค่าหัวมากมายมหาศาล รวมทั้งเงินเต็มใจบริจาคและฝืนใจบริจาคก็มากมาย  จึงสามารถนำเงินไปพัฒนาบุคลากร สื่อและกิจกรรมการสอนได้ดี ไม่เหมือนโรงเรียนขนาดเล็ก  ทุกอย่างครูต้องบริจาคหรือจัดหามาเองตามกำลังความสามารถ

       -   นักเรียนมีทั้งอ่อน ปานกลาง ดี และดีมาก จำนวนมาก เมื่อมีคนเก่งมาก แข่งขันอะไรก็ชนะ ชื่อเสียงโรงเรียนจึงโด่งดัง

        -  มีครูล้นงาน  บางคนสอนน้อยมากสัปดาห์หนึ่งประมาณ 12  ชั่วโมง  ซึ่งต่างจากโรงเรียขนาดเล็กที่มีคาบสอนโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า  24  ชั่วโมง ต่างกันสองเท่าตัว  งานหน้าที่พิเศษไม่พอกับจำนวนครู  ครูจึงมีเวลาว่างมาก มากจนมีเวลาเปิดสอนพิเศษตามบ้านเพื่อสร้างรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท  ที่สำคัญครูที่ไม่น่าเป็นครูบางคนบังคับให้นักเรียนไปเรียนเพื่แลกกับเกรด ผู้บริหารรู้ แต่ไม่ทำอะไร ...ผู้ปกครองรู้แต่เลือกไม่ได้ถ้าลูกจะมีผลการเรียนต่ำ  ครูหลาย ๆ  คนจึงไหลไปอยู่โรงเรียนประเภทนี้กันหมด

      เมื่อการศึกษาสร้างความไม่เท่าเทียมมาตั้งแต่ต้นจะคาดหวังให้การประเมินผ่านเหมือนกันหมด จึงเป็นเหมือนความฝัน ฝันกลางวันที่ฝันยังไม่จบก็ตื่นก่อนเพราะบรรยากาศไม่เป็นใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท