คุณควรฝึกทักษะนักบำบัดด้านการเงิน


กราบขอบพระคุณทีมงานรายการ Safe House ระยะปลอดภัย จากทางช่อง Thai PBS ที่เสนอโจทย์และเชิญผมสัมภาษณ์ประเด็นการจัดการความเครียดจากภาวะไม่มีงานทำและมีหนี้สินเยอะในช่วง COVID-19

"แม้ว่าเงินจะซื้อความสุขในที่พักอาศัย (กิน อยู่ หลับนอน) กับคนรัก/ครอบครัว เพียง 10% ก็ทำให้เราติดสุขจนเครียดลบถึง 80% ดังนั้นถึงเวลาที่เราจะฝึกสติสื่อสารความตั้งใจปลดหนี้ ออมเงิน และมีนิสัยใหม่ให้ใช้ชีวิตพอเพียงที่ควบคุมได้ถึง 40% อีกปัจจัยที่คุมไม่ง่ายตั้ง 50% เนื่องจากพลังชีวิตที่บ่มเพาะคิดบวกลบ (ความพยายามอดทน ความรักความเข้าใจ และความจริงแห่งการสู้ชีวิตด้วยความดี) จากพันธุกรรมบวกการเลี้ยงดูของพ่อแม่ระหว่างวัย 1-12 ปี"   

คำว่า "อึด ฮึด สู้" ในสถานการณ์ที่เกิดการรับรู้สึก "สู้เผชิญกับความจริง กับ ถอยหนีจากความเสี่ยง" มีเพียง 20% ของคนที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ที่ต้องการพัฒนาตัวเองและคนรอบข้างในสุขภาวะดีงาม (Change Makers) แต่คนส่วนใหญ่ถึง 80% เกิดความกลัว ลังเล กังวลกับความไม่แน่นอน แล้วหงุดหงิดที่ล้มเหลวเมื่อตั้งความคาดหวังไว้สูง จนกลับมาเศร้า ซึม ไม่มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ดูแลสุขภาพตัวเอง เกิดกิจกรรมการดำเนินชีวิตเข้าสู่ วงจรอุบาทว์แห่งภาวะเครียดลบ-วิตกกังวล-ซึมเศร้า เราเรียกว่า DEATH หรือ "ใช้ชีวิตไร้สติเหมือนตายทั้งเป็น" ประกอบดัวย ไม่อยาก Dressing แต่งตัว ไม่อยาก Eating ทานอาหาร ไม่อยาก Ambulating ลุกจากเตียง ไม่อยาก Toileting เข้าห้องสุขา และไม่อยาก Hygiene อาบน้ำกายอาบน้ำจิตด้วยสติสัมปชัญญะ ณ ปัจจุบันขณะ (Power of Now - Mindful Living) แม้ว่าจะรู้ตัวก็ตาม"

นักกิจกรรมบำบัดในบ้านเราหายากมากที่จะวางแผนให้คนไข้ DEATH ข้างต้น มาเพิ่มทักษะจิตสังคม จาก 0 เป็น 1 หรือจากที่มีอยู่แล้ว 1 เป็น 2 ไปเรื่อยๆ  (Upskilling) ควบคู่กับการเรียนรู้เปลี่ยนนิสัยใหม่ (Reskilling) ให้เกิดทักษะการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤตด้วยแรง อึด ฮึด สู้ชีวิต (Resilience) ด้วยการคิดบวกแล้วลงมือทำ "กิจวัตรประจำวัน" ทีละเล็กทีละน้อย ที่เราเรียกว่า "ฟื้นพลังชีวิตให้เป็นผู้นำฝึกทักษะการเรียนรู้สุขภาวะตลอดชีวิต" 

กระบวนการการฟื้นพลังชีวิตในผู้มีจริตชอบสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น  มีเป้าหมายคือ เปลี่ยนจาก DEATH เป็น Dressing, Eating, Ambulating, Toileting และ Housekeeping มิให้อยู่แบบ Safe Zone แต่เป็น Comfort Zone ภายใน 21 วัน แล้วค่อยๆ เรียนรู้ SHAFT อีก 45 วัน รวมอย่างน้อยใช้เวลาฝึกทักษะความเป็นนายแห่งตน ถึง 66 วัน ได้แก่ 

  • ฝึก Shopping วางแผนงบซื้อของมากิน อยู่ ใช้ ได้ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีเหตุผลด้วยการประมาณตน รู้จักตัวเองในส่วนที่ดีแตกต่างจากคนอื่น แล้วปล่อยวางคิดทบทวนให้เกิดการลดข้อบกพร่องในตัวเองบ้าง 
  • ฝึก Housekeeping ดูแลบ้านให้สะอาดได้น่าอยู่ร่มเย็น อารมณ์ดีมีความมั่นคงในทุกๆ สถานการณ์ตึงเครียด 
  • ฝึก Accounting ทำบัญชีแล้ววางแผนออมเงินให้รายได้เกินกว่ารายจ่าย มีผ่อนหนี้ไม่เกิน 40% ของรายได้ 
  • ฝึก Food Preparation ทำครัวเตรียมอาหารสุขภาพให้ตัวเองและครอบครัวได้ ปลูกพืชผักสวนครัว ทำอาหารที่บ้าน ประหยัดออมเงิน 
  • ฝึก Transportation วางแผนการเดินทางเท่าที่จำเป็นเพื่อประหยัดเชื้อเพลิงและสงวนพลังงานให้ได้ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

เคล็ดไม่ลับแบบ Calm-Clear คิดบวกใน 1-10 นาที แล้วลงมือฝึกอารมณ์ ไม่เกิน 2-20 นาที และการลงมือทำความดีทันที ไม่เกิน 3-30 นาที ถ้าเรามีความคิดลบเข้ามาแทรกเป็นภาพ เสียง และ/หรือความรู้สึกภายในตัวเรา ให้เราฝึกกลั่นหายใจนาน ๆ นับในใจ 5 วินาที แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากยาว ๆ ให้ความวิตกกังวลออกมา ถ้าวิตกกังวลคะแนน 10/10 ก็ให้ฝึกกลั่นหายใจแล้วเป่าลมหายใจออกทางปากสัก 10 รอบ เรากลัว FEAR จงใส่ใจที่หูขวา EAR แล้วหายใจเข้ากลั้นไว้ 10 วินาที ค่อยเป่าลมออกช้าๆ ตั้งใจพูดว่า "สติ" FLOW

การทำความดีง่ายสุด คือ การให้ทานเพื่อลดความโลภ เช่น การตั้งใจล้างมือให้สะอาดใน 20 วินาทีแล้วลงมือตั้งน้ำร้อนให้ตัวเองและครอบครัวได้ดื่มน้ำอุ่น แล้วค่อย ๆ เพิ่มการช่วยเหลือครอบครัวแบบ "คิดดีพูดดีทำดี" เริ่มจากดึงความรักความเข้าใจที่มีอยู่ในเนื้อในตัวสื่อสารให้กำลังใจตัวเองและคนรอบตัว เช่น ทุกเช้า จงขอบคุณตัวเองด้วยความรู้ทำความดี ทุกวินาที จงขอบคุณธรรมชาติ ด้วยความคิดจิตปลอดภัย ก่อนนอน จงขอบคุณพ่อแม่ ด้วยความรักกตัญญู เป็นต้น [ฝึก CLEAR: Conscious สติ Learning กำลังรู้ Empathy เอาใจใส่กัน Acting กำลังแสดง Rescue ช่วยเหลือกัน - จงขยัน ไม่ประมาท จัดการดี]

การหมั่นเจริญสติด้วยการฝึกสมาธิภาวนา หายใจเข้าลึก ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อยวันละ 10 นาที เป็นเวลา 10 วัน หรือ วันละ 4 ครั้งๆ ละ 10 นาที ก่อนหรือหลังมื้อเช้า-กลางวัน-เย็น-ก่อนนอน อย่างน้อย 4 วันต่อเนื่องกัน เพื่อทบทวนว่า เรากำลังคิดเป็น เรากำลังสืบค้นข้อมูลที่ลงมือทำแล้วเห็นความจริงด้วยตัวเอง เกิดกระบวนเรียนรู้แบบลงมือทำด้วย "สุ จิ ปุ ลิ" หลายๆ รอบ คือ รับฟัง ไม่ตัดสิน ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ตั้งคำถามที่ลุ่มลึก แล้วบันทึกแนวทางแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยปัญญาปฏิบัติ ลองผิดลองถูกสัก 6 รอบ ก็สำเร็จสัก 1 รอบ ดังตัวอย่างที่ผมทำเป็นประจำต่อไปนี้

ทุกวัน 1 นาที พูดกับตัวเอง "เราตั้งใจจะทำดีเรื่องอะไรในวันนี้"
3 นาที หลับตา หายใจเข้าออกช้าๆ นิ่งคิดตอบ "เรากังวลเรื่องอะไร...ถ้าไม่กังวล เรามั่นใจเรื่องอะไร"
5 นาที ลืมตา เขียนตอบ "ปัญหาชีวิตที่เราจะวิจัยเรียนรู้...สู้แก้ไขด้วยวิธีการอย่างไร"
ถ้าตอบข้อใดไม่ได้เลย ทุกๆ 30 นาที ตลอด 1 วัน ให้ขยับร่างกาย เดิน วิ่ง เต้น ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ วาดรูป เล่นดนตรี ร้องเพลง และทำความดีในหลายรูปแบบ แล้วค่อยพัก "หาคำตอบใน 1-3-5 นาที เรียก Clear-Calm-Cut Thinking" ในวันถัดไป

สำหรับพี่น้องเพื่อนที่กำลังเกิดความวิตกกังวลทางการเงิน ต้นตอคือ "ชอบคิดไปเองว่าจะแก้ปัญหาคนเดียว คิดเยอะ (มากเรื่องสมบูรณ์แบบอุดมคติแต่ไม่ลงมือทำ)" จนเกิดปัญหาสุขภาพจิตสังคม ที่เราเรียกว่า Money Anxiety Disorder (MAD) ลองสังเกตแล้วทบทวนตัวเองดังนี้

  1. รับรู้สึกซึมเศร้ากังวลเมื่อคิดถึงปัญหาทางการเงินของตัวเองจะเหงื่อออกที่มือ หัวใจเต้นเร็ว
  2. แม้ว่าจะรู้ตัวว่า "ไม่มีเงิน" ก็ยัง "ใช้เงินเกินตัว ให้เงินคนใกล้ตัว"
  3. หมกหมุ่นจมอดีตและครุ่นคิดไปอนาคตว่า "จะอยู่อย่างไรให้ประหยัดสุดๆ "
  4. รู้ตัวว่า ไม่สะดวกสบาย ไร้ความมั่งคั่งทางการเงิน (เงินออมไม่พอเพียง)
  5. อยู่ในสภาพพึ่งพิงทางการเงินจากผู้อื่น ไม่กล้าทดลองหาเงินด้วยตนเองจริงจัง

คราวนี้ เราลองมาฝึกฝนลด MAF ให้เกิด Mindful Accounting Freedom กันดีกว่าครับ 

  1.  ฝืนใจให้จิตของเราคิดอิสระ คือ "ทำในสิ่งที่เราอยากมีสุขภาพดีบ้าง...กลัวได้ เศร้าได้ กล้ารักตัวเองสักทีเถอะ" บางครั้งครอบครัวรอบข้างทำตัวอ่อนแอแล้วขอความช่วยเหลือ (ดูใจ) จากสมาชิกครอบครัวที่กำลัง MAD บ้าง ลองเงียบ เฝ้ามอง ความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตตลอด 3 วัน โดยครอบครัวคงทำกิจวัตรประจำวันด้วยความมีชีวิตชีวามีสีหน้าท่าทางยิ้มสู้ให้สมาชิกครอบครัวที่กำลัง MAD ได้สังเกตมองเห็น ได้ยินเสียง และได้อยู่ในบรรยากาศสุขภาพดี แม้จะยังไม่เข้าร่วมทำก็ตาม 
  2. ฝึกเผชิญมองเห็นกระดานความจริงกับ "บิลรายจ่ายที่วางติดไว้เรียงลำดับความสำคัญบนกระดาน" มีผู้ดูแลและเพื่อนรู้ใจได้ฝึกแยกแยะว่า บิลอันใดต้อง Clear ก่อนหลัง แล้วระดมสมองว่า จะ Clear อย่างไร เช่น ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ปรึกษาศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน        (ศคง. สายด่วน 1213) 
  3. ค่อยๆ ฝึกคิดแก้ไขทีละปัญหา อะไรคือปัญหาจริง ๆ ที่เป็นต้นตอ ทีละ 10 นาที พัก 10 นาที สัก 3 รอบ เช่น ปลดหนี้อะไรเร่งด่วนสุด แล้วค่อยๆ จดจ่อวางแผนสมองส่วนหน้าฝึกตัดสินใจคิดยืดหยุ่นช้าๆ ทีละ 1 ปัญหาๆ ละ 25 นาที พัก 5 นาที ทำไปเรื่อยๆ ไม่เกิน 1 ชม. เช่น จะหารายได้อย่างไรให้เกิดเงินออมในระยะยาว ลงทุนอะไรที่เสี่ยงสูง ฝึกทำบัญชีรับจ่ายประจำเดือน 
  4. หยุดพักการฝึกคิดแก้ปัญหา ด้วยการฝึกกิจกรรมผ่อนคลาย ให้ขยับร่างกายเดินเล่นทำอะไรก็ได้ที่เกิดความคิดสร้างสรรค์ สัก 30-60 นาทีต่อวัน เกิดความสุขที่ไม่เกี่ยวข้องกับความคิดแก้ปัญหาทางการเงิน คลิกเรียนรู้ กิจกรรมบำบัดคลายเครียด 
  5. จำให้ขึ้นใจว่า "เราเกิดมาเพื่อแก้ปัญหาชีวิต เราหยุดวิตกกังวลไม่ได้ อย่าอยู่กับซึมเศร้านาน มันเหนื่อยแล้ว กล้าลุกขึ้นมายิ้มสู้สร้างความดี ปลดหนึ้ออมเงินกันเถอะครับ"    

จากรูปข้างบน ให้ฝึก MAF ด้วยกิจกรรมเครียดบวก ให้คนที่มี MAD ฝึกหาอาหารทานเอง โดยมีคนช่วยเหลือน้อยที่สุด ใน 3 วัน ถ้าพอฝึกได้ ก็ฝึกเรียนรู้การวางแผนจัดการเงินวันละ 4 มื้อ เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน ใช้เวลามื้อละ 10 นาที มีติวเตอร์ที่เป็นต้นแบบมีเงินออมที่พอเพียงปลดหนี้ได้จริง พร้อมปรึกษาสายด่วน 1213 สลับกับการเดินไปมาให้คิดเครียดคลายลบเป็นบวก ก่อนทำกิจกรรมสร้างสรรค์อีกสัก 30 นาที เช่น วางแผนเตรียมปลูกผักกินได้มาทำอาหารสุขภาพด้วยความประหยัดใน 1 สัปดาห์ ลดเหลือ 2 มื้อพอดี อาบน้ำกายจิตให้คิดดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ฝึกความอึด ฮึด ยิ้มสู้ในทุกสถานการณ์คับข้องใจให้รักตัวเองให้รอดจนได้ ถ้าดูแลจะฝึกทักษะชีวิตได้ยาก ก็ปรึกษาจิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด และบุคลากรทางสุขภาพจิต เพื่อเข้าสู่ระบบการบำบัดฟื้นฟูจริงจังใน 3-6 เดือน พร้อมระบายคลายกังวลกับสายด่วยสุขภาพจิต 1323 และ 1667 ถ้าไม่ดีขึ้นเลยจริงๆ ก็เข้าสู่ระบบการฟื้นคืนสุขภาวะกับผู้ที่มีประสบการณ์สุขภาพจิต (Peer-Support Mental Health Recovery) ควบคู่ไปกับการช่วยฝึกทักษะการประกอบอาชีพ (Supported Employment) มีพี่เลี้ยงประสานงานระหว่างนายจ้าง เป็นนายแห่งตน และ/หรือ ศูนย์สงเคราะห์ต่างๆ ในติดตามผลช่วง 3-6 ปีในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เลือกทำงานขั้นตอนเดียวแล้วมาระดมประกอบกับผู้อื่นในการทำงานสำเร็จหนึ่งโครงการ การฝึกไปทำงานไปเน้นดึงศักยภาพที่ดีแตกต่างจากคนอื่น การทำงานเป็นองค์กรธุรกิจบูรณาการองค์กรช่วยเหลือสังคม (ตัวอย่างคลิกเรียนรู้ คุณค่าของคนทำงาน Permai Hospital กับ สุขแท้จริง คุณแคร์มั้ย ) เป็นต้น   

สรุปสุดท้าย โปรดถามตัวเราเองว่า "ก่อนที่เรากำลังจะคิดช่วยเหลือคนอื่นนั้น เราได้คิดเป็นระบบหรือยัง 1) ดูแลจิตใจให้แข็งแกร่ง 2) ดูแลร่างกายให้แข็งแรง 3) เป็นตัวอย่างการก้าวข้ามปัญหาให้รักตัวเองให้รอดดีพอที่จะเป็นพี่เลี้ยงคนอื่น" ถ้าสามข้อนี้ไม่ครบถ้วน ให้เริ่มฝึกศรัทธาในคนที่เราอยากช่วยเหลือว่า "จงมั่นใจในความอยู่รอดของเค้าคนนั้น เราจะไม่คิดแทนเค้าคนนั้น เราจะสื่อสารส่งพลังใจให้เค้าเท่าที่จะทำได้ด้วยความรักความเข้าใจ เราจะคิดสร้างสรรค์เรียนรู้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเค้า เราจะไม่สงเคราะห์เค้าคนนั้นไปจนตลอดชีวิตของเราเอง

ปล. ผมลองให้คำปรึกษากิจกรรมบำบัดจัดการชีวิตคิดบวกโควิค ไปสัก 5 ราย ก็ได้แรงบันดาลใจให้เขียนคู่มือให้ประชาชนดาวน์โหลดฟรี คลิกที่นี่ 

หมายเลขบันทึก: 676620เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2020 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2020 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท