ชีวิตที่พอเพียง 3644. PMA 2020 : 10. PMAC 2020 / UHC 2020 : PL 3 – UHC and the Changing Global Landscape


ดูประเด็นย่อ และรายชื่อวิทยากรได้ที่ (๑)  

เป้าหมายร่วมในการจัดการประชุมคือ Global UHC 2030 ตามเป้าของ SDGs    ซึ่งหมายความว่าประชากรทั้งโลกได้รับการคุ้มครองสุขภาพ    แต่โลกมันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ อีก ๑๐ ปีข้างหน้าเงื่อนไขสู่ UHC มันก็เปลี่ยนไปอีก

 ใน PL 3 นี้ ปัจจัยหลักในปัจจุบันที่กล่าวถึงคือ ความต้องการ  บริการที่มีให้  การเข้าถึงบริการ  คุณภาพของบริการ  และการคุ้มครองด้านการเงิน โดยที่การเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดในช่วง ๑๐ ปีมีลักษณะ context-dependent    ทั้งด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม สังคม เทคโนโลยี การเมือง และสิ่งแวดล้อม    ซึ่งหมายความว่าเงื่อนไขในแต่ละประเทศแตกต่างกัน     

อ่านเอกสาร (๑)  ล่วงหน้า ๒ สัปดาห์ ผมยังไม่จุใจ    จึงเตรียมจ้องไปฟังวิทยากรว่าจะพูดถึงประเด็นสำคัญยิ่ง ๒ ประการ ที่ไม่ระบุในเอกสารคือ  (๑) ผู้คนรู้จักดูแลสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคให้แก่ตนเอง และแก่คนในครอบครัว รวมทั้งในชุมชน   และ (๒) การศึกษาที่สร้างพลเมืองคุณภาพสูง เอาใจใส่สุขภาวะของตนเอง และเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น และแก่สังคม    โดยเฉพาะการสร้างพลเมืองที่เป็น agent   หรือเป็น change agent ให้แก่สังคม  

เขาบอกว่า Plenary Session ทำหน้าที่ตั้งประเด็น หรือ What สำคัญๆ ที่จะต้องจัดการ    แล้วมีการเสวนากันเรื่อง How ในห้องย่อย    ซึ่งเมื่อตามไปดูหัวข้อของห้องย่อย พบว่าประกอบด้วย

  1. 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. 2. AI  และ Digital Health
  3. 3. การทำให้บริการสุขภาพรับผิดรับชอบต่อประชาชน
  4. 4. ภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง
  5. 5. นโยบายการค้าโลก

อ่านหัวข้อย่อยที่ ๓ แล้ว ผมแย้งว่า จะเกิด UHC ได้จริง    ประชาชนพลเมืองเองก็ต้องรับผิดรับชอบต่อสุขภาวะของตนเอง    UHC จึงจะเกิดได้จริง และแข็งแรง

วิจารณ์ พานิช  

๒๓ ม.ค. ๖๓

   

หมายเลขบันทึก: 675916เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2020 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2020 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท