บทที่2 ทีม IL พุทธมณฑล


Chapter2 : Independent living


"Community engagement is underpinned by trust, respect, and reciprocity" 

WFOT 


บทที่2 ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรามาพบกับพี่ๆทีม IL กันค่ะ ทีมIL (independent living) เป็นองค์กรอิสระที่มีการรวมกลุ่มกันของผู้พิการ ที่เล็งเห็นความสำคัญของ “independent living” ทางทีมเชื่อว่าผู้พิการสามารถทำกิจกรรมต่างๆได้แม้ยังมีข้อจำกัดเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป ซึ่งทีมIL จะมีการรวมกลุ่มกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทย มีบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้พิการดำรงชีวิตได้อย่าง independent ไม่จำเป็นต้อง depend on ผู้อื่น รวมทั้งมีบทบาทในการส่งเสริมสิทธิผู้พิการ สร้างความมั่นใจ สร้างจุดยืนให้ผู้พิการ ส่งเสริมให้ทุกคนมองผู้พิการเสมอภาค เป็นบุคคลทั่วไปคนหนึ่งเช่นกัน ซึ่งเป็นโชคดีของนักศึกษามากๆที่นั่งรถออกมาไม่ไกล ก็ได้มาเจอกับพี่ๆทีมIL พุทธมณฑล โดยกิจกรรมช่วงเช้าจะเป็นกิจกรรมร่วมกันระหว่างพี่ๆทีมIL และนักศึกษา ส่วนช่วงบ่ายเราจะเดินทางไปพบกับสมาชิกทีมIL ที่เคยได้รับการช่วยเหลือมาก่อน

สำหรับภาคเช้าจะเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เราเข้าใจผู้พิการมากขึ้นโดยการจำลองความพิการ แบ่งด้วยกันเป็น2 ฐาน ฐานแรกจะเป็นเกมส่งบอลให้ได้มากที่สุด โดยฉันได้จำลองเป็นคนตาบอดค่ะ เหมือนจะเป็นเกมง่ายๆแต่มันยากมากๆสำหรับคนตาบอด ฉันไม่สามารถรับหรือส่งบอลได้อย่างแม่นยำ ทำให้ในทีมต้องเสียคะแนนเสมอ เมื่อเพิ่มกติกาให้โหวตคนออก มันจึงเลี่ยงไม่ได้เลยที่คนโดนโหวตจะเป็นคนตาบอด ฉันออกมานั่งนอกวงกับเพื่อนๆตาบอดอีก2คนค่ะ เสียงหัวเราะในวงดูสนุกกันจนฉันเสียดายที่ไม่ได้เข้าไปร่วมเล่น และแอบเสียใจที่เพื่อนๆคิดตัดสินในความสามารถเราโดยที่ไม่เปิดโอกาส แต่สุดท้ายพวกเราแกงค์ตาบอดก็เล่นร้องเพลงและตบแปะจนสนุกได้ค่ะ อันนี้ประทับใจมากๆ คนเรามีความสุขได้ด้วยตัวเอง ฮ่าๆๆ หลังจากนั้นพี่ๆก็เรียกพวกฉันวงไปอีกรอบเพื่อลองแชร์ความรู้สึก และวางแผนในการเล่นร่วมกันอีกครั้ง ทำยังไงก็ได้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในเกมนี้ แล้วมันก็ออกมาดีค่ะ ฉันได้เป็นส่วนหนึ่งของเกมนี้แล้ว! ผ่านฐานแรกไป ฐานที่2 จะแบ่งเป็นผู้พิการ กับผู้ที่ไม่พิการ แต่ผู้ที่ไม่พิการจะต้องพูดคำดูถูก คำว่ากล่าวต่างๆ พูดออกมาเรื่อยๆ ฉันเองได้เล่นเป็นผู้ที่ไม่พิการค่ะ ฉันรู้สึกไม่ดีทุกครั้งที่ต้องพูดคำแย่ๆแบบนี้ออกไป อดคิดไม่ได้เลยว่าถ้าผู้พิการต้องมาเจอกับคำพูดพวกนี้จริงๆเขาจะรู้สึกแย่ขนาดไหน แต่หลังจากนั้นพี่ๆเปิดโอกาสให้เราได้พูดอีกครั้งค่ะ ครั้งนี้ไม่ต้องพูดด่าทอ แต่ให้พูดว่ามีอะไรอยากจะบอกผู้พิการมั้ย ฉันเองพูดออกไปว่า “ฉันจะอยู่ข้างๆ ไม่ว่าสุขหรือทุกข์ก็จะอยู่ข้างๆ” ตอนที่ฉันได้พูดไป ฉันรู้สึกแบบนั้นจริงๆค่ะ แล้วก็ดีใจมากๆที่ได้พูดมันออกไป จากกิจกรรมฐานทั้งสอง เป็นกิจกรรมที่ช่วยเผยอีกด้านที่เราๆอาจไม่เคยรู้เลยว่าผู้พิการต้องพบเจอความยากลำบากอะไรบ้าง ทั้งการขาดโอกาสต่างๆ หรือคำสบประมาท แต่พี่ๆไม่ได้เพียงแค่ต้องการให้เรามีประสบการณ์ร่วมเท่านั้น พี่ๆยังเปิดโอกาสให้เราคิดแก้ไข หรือตกผลึกในสิ่งที่เราสามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้เมื่อเจอผู้พิการในอนาคต เช่น การมองผู้พิการในฐานะคนทั่วไป การที่ไม่คิดตัดสินความสามารถของเขาไปก่อน เปิดโอกาสให้เขาได้ทำสิ่งต่างๆ โดยเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งด้วยการอยู่ข้างๆ และลองเชื่อมั่นในตัวเขา

ก่อนไปลงเยี่ยมบ้าน พี่ๆให้จำลองสถานการณ์ เป็นนักกิจกรรมบำบัด ผู้ป่วยstroke และพ่อที่เป็นผู้ดูแลค่ะ ฉันได้มีโอกาสออกไปลองเป็นนักกิจกรรมบำบัดกับเพื่อนอีกคนค่ะ ทั้งๆที่วางแผนไว้แล้ว แต่สิ่งที่คิดไม่เหมือนความเป็นจริงค่ะ มันวุ่นวายมาก! ทุกครั้งที่พยายามจะถามผู้ป่วย หรือประเมินความสามารถผู้ป่วย พ่อก็จะตอบคำถามแทน แล้วตัดโอกาสในการลองทำตลอด หลังจากสั่งคัทก็มีการ reflection และแสดงอีกรอบ โดยครั้งนี้จะเป็นการให้ทีมILเป็นผู้แสดงเป็นทีมที่ไปลงเยี่ยมบ้านผู้ป่วยกับคุณพ่อเหมือนเดิม แต่สถาการณ์ต่างออกไปมากค่ะ ทางทีมใช้เทคนิค peer counseling ในการสร้างสัมพันธภาพ สนใจทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแล รับฟังทั้งสองคนอย่างไม่ตัดสิน และการที่ทางทีมแบ่งคนมาพูดคุยรับฟังสิ่งที่คุณพ่อพูดก็ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับทั้งคุณพ่อ และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้บอกเล่าอย่างเต็มที่ บรรยากาศเป็นไปด้วยความราบรื่น เกิดเป็น comfort zone ซึ่งตรงนี้โอทีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ สร้างบรรยากาศที่รับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่รีบร้อน ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการร่วมมือในการบำบัดรักษามากยิ่งขึ้น

อย่างที่บอกว่าตอนบ่ายเราจะมีลงไปเยี่ยมบ้านกับทีมIL ค่ะ ฉันได้เจอกับผู้พิการที่ independent จริงๆ เขาป่วยเป็น paraplegia เคยติดเตียงมาก่อน และที่ปัจจุบันเขาทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเองได้ทุกอย่างเป็นเพราะทีมILเข้ามาช่วยในหลายๆด้าน ทั้งด้านการช่วยจัดหางบประมาณสำหรับรักษาพยาบาลและการปรับสภาพบ้าน ด้านการส่งเสริมความมั่นใจ สร้างแรงบันดาลใจให้เขาอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อ ข้ามผ่านช่วงชีวิตที่ลำบากจนคิดจะฆ่าตัวตายไปได้ การเยี่ยมบ้านครั้งนี้เป็นสิ่งยืนยันว่าแม้จะยากลำบากแค่ไหนแต่ผู้รับบริการสามารถ  independent ได้จริงๆ ในฐานะโอที หากมีโอกาสฉันเองก็อยากจะชวนพี่ๆทีมIL มาจัดกิจกรรมกลุ่มให้กับผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการมี role model และเกิดแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตต่อไป รวมทั้งต้องการจะหยิบเอาแนวทางการให้บริการของพี่ๆมาปรับใช้กับผู้รับบริการแต่ละคนให้เหมาะสมมากที่สุด เช่น เทคนิคการสร้างสัมพันธภาพ การดำเนินการงบประมานปรับสภาพบ้าน 


ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดีนะคะ

กชกร วงษ์รวยดี 6023001  PTOT


หมายเลขบันทึก: 675438เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2020 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท