99.การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษากับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่


การดำเนินการในมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ ของการประกันคุณภาพสถานศึกษา รอบสี่ จะเน้นที่ความเป็นระบบ โรงเรียนได้ดำเนินการคาบถ้วนตามกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพหรือกระบวนการการทำงานของงานนั้น ๆ หรือไม่

ตามกรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่  (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓)  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ หรือด้านอื่นตามชื่อที่สถานศึกษากำหนดได้กำหนดแนวทางการพิจารณาจากคุณภาพของกระบวนการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อการยกระดับ คุณภาพของผู้เรียนประการหนึ่งคือ “ความเป็นระบบ”  โดยพิจารณาจาก “กระบวนการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีความต่อเนื่องยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและปรับปรุงแกไขอย่างต่อเนื่อง” แล้วระบบคืออะไร หมายถึงอะไร

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พิจารณา “ความเปนระบบ”  จากกระบวนการดำเนินงานของสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพและมีความตอเนื่องยั่งยืน โดยการมีส่วนรวม    ของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีการกำหนดเป้าหมาย การดำเนินงานที่ชัดเจน การกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและปรับปรุงแกไขอย่างต่อเนื่อง และได้ให้ความหมายของคำว่า “ความเป็นระบบ (Systematic)”  ว่าหมายถึง “กระบวนการดำเนินงานด้านการบริหารและการจัดการ  ด้านการจัดการเรียนรู ที่เกิดจากการคิดอย่างเป็นกระบวนการ โดยพิจารณาจากตัวอย่าง เช่น กระบวนการ 5W1H ว่าใคร (Who) คือ ใครรับผิดชอบ        ใครเกี่ยวข้อง ใครไดรับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง, ทำอะไร (What) คือ เราจะทำอะไร มีใครทำอะไรบ้าง, ที่ไหน (Where) คือ สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณหรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน, เมื่อใด (When) คือ ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณนั้นทำเมื่อวัน เดือน ป ใด, ทำไม (Why) คือ สิ่งที่เรา จะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงไดทำสิ่งนั้นและอย่างไร (How) คือ สิ่งที่เราต้องรูวา เราจะสามารถทำทุกอย่าให้บรรลุผลไดอย่างไร เหตุการณหรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง หรืออาจจะเป็น กระบวนการ PDCA คือ การ วางแผน (Plan)  การปฏิบัติตามแผน (DO)  การตรวจสอบ (Check) และ การปรับปรุงการดำเนินการอย่าง เหมาะสม (Act) เป็นต้น”  กล่าวโดยสรุปก็คือในมาตรฐานที่ 2 ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการมีความเป็นระบบมาน้อยเพียงใด สามารถดูได้จากกระบวนการทำงานหรือกระบวนการบริหารนั้นมีความครบถ้วนตามวงจรคุณภาพ PDCA ของ Demming หรือไม่

          ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะกระบวนการบริหารและจัดการในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สพฐ. ข้อ ๒.๑  “มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของ ชุมชน ท้องถิ่นวัตถุประสงค์    ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของ รัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม”

ดังนั้น เพื่อให้สถานศึกษามีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจที่ชัดเจนสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ กล่าวคือสถานศึกษาจะต้องมีกระบวนการในการกำหนดเป้าหมายและกระบวนการทบทวนกลยุทธ์ที่เป็นระบบและครบวงจร มีรายละเอียดดังนี้

  1. 1. กระบวนการในการกำหนดเป้าหมาย รายละเอียดได้นำเสนอแล้วในหัวข้อ “การกำหนดค่า

เป้าหมายและมาตรฐานเพื่อการประกันคุณภาพ รอบสี่”

  1. 2. กระบวนการทบทวนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ในการจัดทำหรือทบทวนกลยุทธ์สถานศึกษาหรือหัวหน้างานแผนงานจะต้องรู้ว่ากระบวนการในการจัดทำแผนกลยุทธ์ที่เป็นระบบประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนดังนี้คือ
    1. 2.1 การประเมินสภาพแวดล้อม (Environment  Analysis)  เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาทั้งในแง่เชิงบวกและเชิงลบที่มีบทบาทต่อการดำเนินงานของสถานศึกษาแบ่งได้  2 ประเภท  คือ

                        2.1.1 การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment)  ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกพิจารณาจาก “โอกาส (Opportunity) และอุปสรรค (Threat) ” ของสถานศึกษา ประกอบด้วย STEP ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social and Culture : S)  ด้านเทคโนโลยี (Technological  Factors : T) ด้านเศรษฐกิจ  (Economic  Factors  :  E) ด้านการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal  Factors : P)     

    2.1.2 การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environment)  เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการ

    ปฏิบัติงานของสถานศึกษา  พิจารณาจาก “จุดแข็ง (Strengths)  และจุดอ่อน (Weaknesses) ของสถานศึกษาประกอบด้วย 2S4M ได้แก่ โครงสร้างและนโยบายของสถานศึกษา (Structure : S1) บริการและผลผลิต (Service and Products : S2) บุคลากร (Man : M1) ประสิทธิภาพทางการเงิน (Money  :  M2) วัสดุทรัพยากร (Material  : M3) การบริหารจัดการ (Management : M4) 

        2.2 การประเมินสถานภาพ เป็นการประเมินโดยใช้ SWOT Analysis เพื่อที่จะบอกว่าสถานศึกษาตกอยู่ในสถานใดระหว่างสุนัขจนตรอก (Dog) วัวแม่ลูกอ่อน (Cows) เครื่องหมายคำถาม (Question Marks) และดาวรุ่ง (Star)

                  2.3 การกำหนดทิศทาง (Positioning Organization) เพื่อการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ b(Mission) เป้าประสงค์ (Corporate objective)

        2.4 การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) เป็นการกำหนดวิธีการทำงานอย่างมีทิศทางเพื่อให้ตอบทิศทางของสถานศึกษาซึ่งประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของสถานศึกษา ซึ่งกลยุทธ์เปรียบเสมือนการตอบคำถามว่า “เราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร? หรือ เราจะบรรลุทิศทางของหน่วยงานได้อย่างไร? (How do we get there?)”

                  2.5 การนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ(Implementation) เป็นการจัดทำรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ สู่การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) รวมทั้งการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการทำงานเพื่อให้ได้ผลงานที่กำหนดไว้ในแผน

                  2.6 การติดตามกลยุทธ์(Strategy Control) เป็นการติดตามและตรวจสอบเพื่อให้ทราบถึงความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการกิจกรรมต่าง ๆ

                  2.7 การทบทวนกลยุทธ์ เป็นการนำผลการประเมินแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการจัดการศึกษามาใช้ในการพัฒนากลยุทธ์ในวงรอบต่อไป

              ความเป็นระบบของการพัฒนากลยุทธ์จะต้องมีกระบวนการทำงานใบลักษณะที่เป็นวงจร PDCA หรือมีกระบวนการทำงานที่ครบองค์ประกอบทั้ง 7 องค์ประกอบดังกล่าว ดังนั้นในการทบทวนกลยุทธ์ในวงรอบใหม่หลังจากที่โรงเรียนจะทบทวนกลยุทธ์ในวงรอบใหม่ จึงควรปฏิบัติในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้คือ

    1. 1. การใช้ CAPDo Model  นั้นคือโรงเรียนต้องดำเนินการประเมินแผนกลยุทธ์ว่าที่ผ่านมาโรงเรียน

    ได้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์และกลยุทธ์มากน้อยเพียงใด มีประเด็นใดที่บรรลุแล้ว ประเด็นใดที่ยังไม่บรรลุ เพื่อที่จะได้นำข้อมูลมาใช้ในการจัดทำแผนผลยุทธ์ในวงรอบใหม่ต่อไป

              2. ดำเนินการทบทวนกลยุทธ์ตามองค์ประกอบทั้ง 7 ประการดังกล่าว แต่ควรเริ่มต้นจากการนำผลการติดตามกลยุทธ์ (Strategy Control) มาสู่การการทบทวนกลยุทธ์ด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้คือ

    การประเมินสภาพแวดล้อม การประเมินสถานภาพ การกำหนดทิศทาง (Positioning Organization) การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic Formulation) และการนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Implementation)

              โดยสรุปก็คือการดำเนินการในมาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการจะเน้นที่ความเป็นระบบ โรงเรียนได้ดำเนินการคาบถ้วนตามกระบวนการบริหารจัดการคุณภาพหรือกระบวนการการทำงานของงานนั้น ๆ หรือไม่

    หมายเลขบันทึก: 674212เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2020 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2020 00:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท