การหนุนของ 5 ครอบครัวหลัก และเป็นอันตรายต่อประยุทธ์


วงศ์ตระกูล 5 วงศ์ในราชอาณาจักรกำลังเจริญเติบโต ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังไหลลง และความเหลื่อมล้ำขยายมากขึ้น

เมื่อพรรคพลังประชารัฐต้องการหาเงินเพื่อในการเลือกตั้ง ผู้สนับสนุนพรรคได้จัดการเลี้ยงโต๊ะจีน เพื่อเปิดทางให้ธุรกิจขนาดใหญ่เข้ามาเป็นพันธมิตร

การจัดงานก็คือการบอกให้รู้ว่าใครเป็นใครในชนชั้นนำทางธุรกิจ โดยที่คนกลุ่ม A ได้แก่ เจริญ โภคภัณฑ์ กลุ่มซีพี, ไทยเบฟ, กลุ่มคิงพาวเวอร์, บุญรอดบริเวอรี่, กลุ่มเซ็นทรัล จะอยู่ที่โต๊ะตัวหน้า ตามที่มีการรายงานข่าวในช่วงนั้น

งานเลี้ยงได้เงินถึง 622 ล้านบาทสำหรับค่ากาแฟของพรรคใหม่ เมื่อเรื่องนี้ไปถึงกกต. ก็ตัดสินว่าไม่ผิดกฎหมายการเลือกตั้ง

อีกหลายเดือนต่อมา พรรคพลังประชารัฐได้ชนะการโหวตแบบปอบปูล่าในการเลือกตั้ง และทำให้ประยุทธ์ จันทโอชาหัวหน้าคณะปฏิวัติกลับมาเป็นนายกฯที่มาจากการเลือกตั้งได้อีกครั้ง

นักวิจารณ์และนักวิเคราะห์กล่าวว่า สถานะเช่นนั้นเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ 5 ครอบครัวใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักกันในนาม กลุ่มซีพี, ไทยเบฟ, บุญรอด, คิว พาวเวอร์, และกลุ่มเซ็นทรัล กลุ่มนี้ทั้งหมดเป็นผู้จัดการขายที่มีจำนวนน้อย เผลอๆจะเป็นทุนผูกขาดเสียด้วยซ้ำ 

บริษัททั้ง 5 เริ่มมีอำนาจ และได้ผลกำไรช่วงที่เผด็จการทหารประยุทธ์ ครองอำนาจในช่วง 5 ปี (2014-2019) พร้อมๆกับขยายไปสู่ธุรกิจใหม่แบบก้าวร้าว เช่นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (property development) ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ เช่น กลุ่มซีพี และกลุ่มเซ็นทรัล ขยายตัวไปที่การค้าปลีกแบบไม่บันยะบันยัง

แต่การรวมตัวกันของ 5 บริษัทเจริญเติบโต และขยายออกเรื่อยๆ ถึงกระนั้นก็มีความเสี่ยงด้านธุรกิจ นักวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามชี้ว่าบริษัทหลายบริษัทและกลุ่มเครือญาตินำไปสู่การหลับใหลของเศรษฐกิจ และการแบ่งแยกด้านความร่ำรวยที่เกิดจากการเมือง

การให้สัมปทานของรัฐขนาดใหญ่ และสัญญาที่ใช้เงินจำนวนมหาศาล ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทั้งหมด ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ดังที่มีการวิจารณ์ว่าข้อตกลงและผลประโยชน์ที่ได้คือการคืนทุนให้กับการบริจาคเพื่อพรรคพลังประชารัฐในช่วงการเลือกตั้ง

นักวิจารณ์และนักวิเคราะห์ชี้ว่าตัวอย่างมีมาก และร่ำรวย คำถามของเอเชียไทม์เรื่องนี้ไม่มีบริษัทใดกล้าตอบ

คิวพาวเวอร์ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของพรรคพลังประชารัฐ มีลักษณะเป็นทุนผูกขาดในการขายปลีกแบบปลอดภาษีในสนามบินสุวรรณภุมิ และได้รับการต่อสัญญาต่อไป และยังขยายไปที่อีก 3 สนามบินหลักเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ เหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงแค่ 2 เดือนหลังจากการเลือกตั้งทั่วไป ก่อนรัฐบาลผสมของประยุทธ์จะเกิดเสียอีก

ข้อตกลงทางการค้าที่นำโดยบริษัทซีพี ในเดือนตุลาคมได้รับเงินจำนวน 7.5 พันล้านเหรียญ เพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยการเชื่อมสนามบินทั้ง 3 เข้าหากันและภายนอกกรุงเทพฯ ถึงแม้ว่ากลุ่มซีพีจะไม่มีประสบการณ์เรื่องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเลยก็ตาม

นักวิเคราะห์การตลาด และนักวิจัยอิสระมองสาขาเทเลคอมของซีพี ก็คือบริษัททรู ได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่เกี่ยวกับการบริหาร (executive order) เดือนเมษายน ในสมัยเผด็จการประยุทธ์  หรือสัปดาห์หลังจากการเลือกตั้ง ด้วยการยืดเวลาในการชำระใบอนุญาต 4 จีให้กับ 3 บริษัท

ไทยเบฟและบุญรอด ซึ่งเป็นทุนผูกขาด 2 บริษัทในเรื่องเบียร์ และแอลกอฮอล์ ได้รับประโยชน์จากภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องเบียร์และไวน์ รวมทั้งกฎการผลิตในระดับเล็ก ที่ได้กีดกันผู้ประกอบการรายย่อยคราฟ์เบียร์ ไม่ให้เกิดขึ้นในเมืองไทย

หากมองอย่างกว้างๆ ครอบครัวทั้ง 5 จับมือกันแน่นในภาคธุรกิจ โดยเริ่มจากเกษตรกรรม ไปจนถึงแอลกอฮอล์ และการค้าปลีก รวมทั้งกฎเกณฑ์ที่ดูแลครอบครัวทั้ง 5 นี้มากเกินไป จึงทำให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กไม่เติบโต

ไม่ต้องสงสัยว่าเหตุใดผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กจึงไม่เติบโต เพราะพวกนี้ต้องการเงินทุนเป็นอย่างมาก พวกธนาคารใหญ่ชอบที่จะให้เงินกู้แก่บริษัทใหญ่ 5 มากกว่าให้ธุรกิจและผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพราะมีความเสี่ยงในการดำเนินทางธุรกิจนั่นเอง

รัฐไทยอนุญาตให้ธนาคาร SME ปล่อยกู้ได้เพียง 4,000-5,000 รายเท่านั้น ทั้งที่ยังมีคนกู้ที่มีประสิทธิภาพเป็นล้าน ธนาคารกรุงเทพฯ ที่เป็นผู้นำในการกู้ และเป็นผู้สนับสนุนงานเลี้ยงในช่วงหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ ได้ประกาศว่าจะควบคุมการกู้ของพวกธุรกิจขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ

แต่การรวมตัวกันของครอบครัวทั้งห้า ในเรื่องอำนาจทางเศรษฐกิจก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน นักวิเคราะห์คนหนึ่งที่ธนาคารการลงทุนนาๆชาติ เชื่อว่า ครอบครัวทั้งห้าใหญ่เกินกว่าที่จะล้มได้ ดังจะเห็นได้จากความตึงเครียดทางการเงิน ที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งทำให้เกิดความกังวลทางการตลาด

นักวิจารณ์คนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะที่ธนาคารในประเทศถูกควบคุมโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีความสม่ำเสมอน้อยหรือไม่มีสิ่งนั้นเลย ในการจับตาดูกิจกรรม, การลงทุน, การตัดสินใจทางการเงิน

เขากล่าวว่าความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัททั้ง 5 กำลังจะจัดทำคอนโดมิเนี่ยม รวมทั้งการพัฒนาอื่นๆ แต่มีมากเกินไป รายงานเมื่อเร็วนี้แสดงว่า มีบ้านที่ว่างอยู่มากกว่า 500,000 หน่วย ในเมืองใหญ่

การร่วมมือกันของบริษัททั้ง 5 คือการขายปลีก ทั้งในกรุงเทฯและชนบท โดยเฉลี่ยแล้วผู้บริโภคชาวไทยทำงานหนักมาก โดยมีหนี้ครัวเรือน 79% ของ GDP และกำลังขึ้น เป็นอันดับสองในเอเชีย

หากพูดกันแบบกว้างๆ นักวิจารณ์กล่าวว่า การเข้ามากุมอำนาจทางเศรษฐกิจของ 5 บริษัท คือความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจที่ยากจะรักษา ดังที่มีหลายตัวชี้วัดชี้ ในขณะที่บริษัททั้ง 5 กลับเจริญเติบโตในช่วงที่ประยุทธ์ครองอำนาจอยู่ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่เป็นฝ่ายค้าน บอกกับเอเชีย ไทมส์ ในการสัมภาษณ์เดือน พฤศจิกายนว่า ภาคธุรกิจของไมยจำนวนมากเป็นทุนนิยมผูกขาด และเป็นผู้ขายน้อยราย (เพราะมีทุกอย่างให้เลือกสรร) ที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวจำนวนน้อยแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ  เพื่อที่จะสร้างความร่ำรวยจำนวนมาก

เขากล่าวว่า ครอบครัวทั้ง 5 และกลุ่มทุนนิยมไทยอื่นๆ สะสมความมั่งคั่งด้วยวิธีการแบบโบราณ (regressive means) โดยการร่วมกับผู้ถือครองทางอำนาจ เพื่อที่จะสร้างกฎหมาย และระเบียบอื่นๆที่ทำให้การแข่งขันลดลง และนำไปสู่การถือทุกปัจจัยแบบทุนผูกขาด (เช่นทำฟาร์มไก่ แต่ก็ขายอาหาร รวมทั้งแช่ไก่ไปส่งต่างประเทศด้วย) เพื่อครอบครองห่วงโซ่อุปทาน

ธนาธร ซึ่งตนเองเป็นเจ้าของบริษัทชิ้นส่วนรถยนต์ กล่าวว่า บริษัททั้ง 5 แห่งควรจะมีนวัตกรรม และใช้ผลผลิตทางนวัตกรรมไปแข่งขันในโลก บริษัทใหญ่ไม่ควรจะขโมยงาน และธุรกิจจากผู้ประกอบการชั้น 2 และ 3

พรรคอนาคตใหม่ของเขา ที่นโยบายหลักคือการทุบทำลายทุนนิยมผูกขาด มีการประกาศว่าเขาจะสนับสนุนร่างพ.รบ.ในสภา เพื่อการสนับสนุนการแข่งขันในตลาดแอลกอฮอล์ที่ใช้ในชุมชน ซึ่งเป็นการท้าทายกับไทยเบฟ และบุญรอด ที่เป็นยักษ์ใหญ่สองค่ายในตลาดแอลกอฮอล์นี้

ในวันที่ 11 ธันวาคม มีการเย้ยหยันเรื่องหนึ่ง นั่นคือ กกต. ต้องการยุบพรรคอนาคตใหม่ เพราะทำผิดเรื่องทางการเงินในการหาเสียง และคาดโทษคนที่บริจาค ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินเรื่องนี้หลังจากรับเรื่องจากกกต. แล้ว

มีบางคนเสนอว่าการต่อต้านพรรคอนาคตใหม่ อาจส่งผลต่อบริษัทต่างๆ รวมทั้งตระกูล ที่สนับสนุนเขาอยู่ ในนามของการกระจายความมั่งคั่ง (wealth redistribution)

ธนาคารการลงทุนชื่อ Credit Suisse อ้างถึงรายงานความร่ำรวยของโลก ที่เปิดเผยในปี 2018 ว่าประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่เหลื่อมล้ำมากที่สุดในโลก รายงานยังอ้างว่า 67% ของความร่ำรวยของชาติถือครองโดยคนเพียงแค่ 1% ในปี 2018 และเพิ่มขึ้นจาก 56% ในปี 2016

หากมาดูตารางความร่ำรวยเป็นบุคคล ตระกูลเจียรวนนท์ ของกลุ่มซีพี ติดอันดับที่ 50 ของนิตยสาร Forbes ที่ร่ำรวยที่สุด โดยมีทรัพย์สินประมาณ 29.5 พันล้านเหรียญ กลุ่มจิราธิวัฒน์ ของกลุ่มเซ็นทรัล เป็นอันดับสอง โดยมีทรัพย์สินประมาณ 21 พันล้านเหรียญ ในขณะที่ไทยเบฟ คือ เจริญ สิริวัฒนภักดี ได้อันดับ 4 มีทรัพย์สินประมาณ 16.2 พันล้านเหรียญ

ในขณะที่ธนาคารโลก มีมาตรวัดและรายงานหลายอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความยากจน และความเหลื่อมล้ำที่เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่เผด็จการทหารประยุทธ์ครองอำนาจ และสนับสนุนความร่ำรวยครอบครัวทั้ง 5 และอำนาจในการตลาดตลอดมา

อัตราความยากจนที่เป็นทางการในประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2016 เป็น 10% ของประชากร ในขณะที่ 40% ของประชากรมีความมั่งคั่งโดยดูจากการบริโภคโดยเฉลี่ย แต่หนี้ครัวเรือนกลับเพิ่มมากขึ้นในการปกครองแบบเผด็จการของประยุทธ์

ธนาคารโลกยังอ้างอิงถึง โพล Gallup World ที่กล่าวว่ามาตรฐานการอยู่ดีทางการเงิน และรายได้ได้ลดลงตั้งแต่ปี 2016

รัฐบาลผสมของประยุทธ์ได้อ้างถึงความแตกต่างด้านความร่ำรวยและการอยู่ดีกินดีของคนยากจน โดยการมีนโยบายการแจกเงินกับคนแก่และเยาวชน และมีบัตรสวัสดิการที่ผิดพลาด

เป็นเช่นเดียวกับนายกฯที่ถูกรัฐประหารไป ก็คือทักษิณ ชินวัตร  นักวิจารณ์บอกว่านโยบายของประยุทธ์ มีลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์เงิน ที่ไม่ช่วยในการกระตุ้นความมั่งคั่งแบบยั่งยืน และไม่ต้องพูดถึงระเบียบในเชิงโครงสร้าง เพราะเอาแต่พะนอกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และไม่เกิดประโยชน์กับพวกผู้ประกอบการรายย่อย (SME)

แผนการที่ให้ตลาดมีการแข่งขันไม่ได้รับการสนับสนุนในรัฐบาลประยุทธ์ ในขณะที่ระเบียบที่เอาใจแต่ธุรกิจขนาดใหญ่ ไม่สนใจธุรกิจขนาดเล็ก ก็แข็งทื่อ และไม่นุ่มนวล

ยังคงเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าความขัดแย้งทางการเมืองเป็นสาเหตุของความเหลื่อมล้ำด้านความรวยขนาดไหน? และประเด็นนี้เกี่ยวพันอย่างไรกับผลประโยชน์ทางการเมือง ดังที่ขบวนการเสื้อแดงแสดงให้เห็น?

แต่การหดหายลงของเศรษฐกิจในประเทศ ดังที่ GDP หล่นลงไปถึง 3% ในปีนี้ และมาตรการการกระตุ้นที่มีประสิทธิภาพอาจไม่ช่วยอะไรในปี 2020 คือการอ้างที่ทำทุกอย่างเพื่อคนจนได้รับการทดสอบที่มีความเสี่ยงสูง

ในขณะที่กำไรของบริษัททั้ง 5 แห่งกลับเจริญเติบโต แต่เศรษฐกิจในเมืองไทยกลับเชื่องช้า รัฐบาลพลังประชารัฐจะได้รับแรงกดดันอย่างหนักในหมู่ผู้วิจารณ์ เพราะตอนนี้มีเสียงกระหึ่มว่านโยบายที่เอาใจแต่ธุรกิจขนาดใหญ่มากกว่าธุรกิจขนาดเล็ก รวยมากกว่าจน

หากและความเป็นจริงทางการเมืองได้รับการเชื่อถือมากขึ้น สถานภาพของรัฐบาลพลังประชารัฐ ที่สนับสนุนบริษัท 5 แห่ง และชนชั้นนำอื่นๆ อาจพังทลายในราคาพิเศษ (particular expense) เลยทีเดียว

 แปลและเก็บความจาก

Shawn W. Crispin. Thailand’s five families’ prop and imperil Prayut

https://www.asiatimes.com/2019/12/article/thailands-five-families-prop-and-imperil-prayut/

หมายเลขบันทึก: 674152เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2020 18:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มกราคม 2020 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท