ผู้นำเชิงระบบ



เว็บไซต์ของ WEF ลงเรื่อง Systems leadership can change the world – but what exactly is it? (1)    กล่าวถึงภาวะผู้นำระดับโลก ที่จะเปลี่ยนโฉมระบบที่ซับซ้อน เช่น พลังงาน  อาหาร  สุขภาพ    ที่ระบบโลกมีความซับซ้อนยิ่ง มีระบบซ้อนระบบ  มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนยุ่งเหยิงระหว่างต่างระบบ   

 เป็นเรื่องที่กี่ยวข้องกับเรื่องที่ผมจะไปประชุมที่ลอนดอนพอดี    คือประชุมเตรียมจัด PMAC 2021  เรื่อง Global Health   

เขายกตัวอย่างสองตัวอย่างที่สเกลต่างกันสุดขั้ว    ตัวอย่างหนึ่งเป็นระบบโลก   อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นระบบชุมชน    และสรุปว่า ผู้นำที่ชักนำให้เกิดเหตุการณ์ทั้งสอง ใช้แทคติก เดียวกัน ได้แก่

  • มีความเข้าใจที่ลึกและเชื่อมโยงในเรื่องนั้น
  • สามารถเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลากหลายฝ่ายให้มีเป้าหมายร่วม
  • สร้างกลไกร่วมมือและเอื้ออำนาจแก่เครือข่ายที่กว้างขวาง  

โดยที่กิจกรรมเหล่านั้นเป็นกิจกรรมเชิงระบบ    ผู้นำแสดงบทเป็น catalyst, enabler, supporter    ในภาษาไทยน่าจะเรียกได้ว่า “นำจากข้างหลัง”    ไม่ใช่ทำตัวเด่น   ที่ ศ. ดร. เจตนา นาควัชระเรียกว่า “ผู้นำระนาดทุ้ม”

แต่ผู้นำต้อง มองทะลุ  มองเห็นภาพใหญ่  และยึดกุมเป้าหมายภาพใหญ่อยู่ตลอดเวลา   

บทความเสนอ framework ในการทำงานเป็นผู้นำการเปลี่ยนระบบ ๕ ขั้นตอนที่เชื่อมโยงกันไปมา ได้แก่

  1. 1. Convene and commit
  2. 2. Look and learn
  3. 3. Engage and energize
  4. 4. Act with accountability
  5. 5. Review and revise

แต่ละข้อข้างบนมีรายละเอียดลึกซึ้ง    แต่อคติของผมบอกว่า    เป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลเชิงระบบแบบมี learning loop   และผมขอเน้น double learning loop 

เป้าหมายเบื้องหลังบทความนี้คือ ภาวะผู้นำเพื่อการบรรลุ SDG   ซึ่งการประชุม PMAC 2021 เน้นการขับเคลื่อน Global Health เพื่อการบรรลุ SDG   เช่นเดียวกัน   

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ต.ค. ๖๒

บน TG 910  ไปลอนดอน  


    

หมายเลขบันทึก: 673219เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2019 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท