วิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาประชากรล้นโลก : ภาพสะท้อนจากงานวรรณกรรมและภาพยนตร์


#บทความ #ความเรียง

วิกฤตเศรษฐกิจ ปัญหาประชากรล้นโลก : ภาพสะท้อนจากงานวรรณกรรมและภาพยนตร์

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ (1 ตุลาคม 2562)

เวปไซต์ ประชาชาติธุรกิจ ได้นำเสนอข่าววันที่ 1 ตุลาคม 2019 ว่า "สำนักข่าวเจแปนทูเดย์รายงานว่า สถานการณ์ผู้บริโภคหลังจากที่ทางการญี่ปุ่นประกาศปรับขึ้น “ภาษีเพื่อการบริโภค” (Consumption Tax) จาก 8% เป็น 10% ซึ่งมีผลบังคับใช้วันนี้ (1 ต.ค.) เป็นวันแรก โดยรัฐบาลญี่ปุ่นให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องเพิ่มรายได้ เพื่ออุดหนุนสวัสดิการของรัฐให้กับประชากรสูงอายุของญี่ปุ่นที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่อัตราการเกิดของประชากรลดต่ำลง"

ชุดความรู้จากตำราที่เราเคยร่ำเรียงกันมาว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก อันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาประเทศในด้านอาหารการกิน ด้านสุขภาพ การรักษาพยาบาล ดังนั้นจำนวนประชากรผู้สูงอายุจึงมีจำนวนสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็สวนทางกับประชากรเกิด ซึ่งแน่นอนว่า ทุกวันนี้ภายใต้เศรษฐกิจโลกอันตกต่ำ จึงมีแนวคิดเรื่องครอบครัวให้มีขนาดเล็กลง บางครอบครัวมีลูกแค่เพียงคนเดียว หรืออีกหลายครอบครัวไม่คิดจะมีลูกด้วยกัน มันไม่สามารถผลิตประชากรขึ้นมาได้ จึงส่งผลให้ ประชากรในวัยทำงานจึงลดลงด้วย และประชากรวัยทำงานนี้เองซึ่งเป็นผู้เสียภาษีหลักของชาติจึงรับหน้าที่ในการดูแลประชากรผู้สูงอายุ ภายใต้รูปแบบการเสียภาษีรายได้ รวมถึงการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งอาจว่าภาพเป็นพีระมิดทรงหัวกลับ ด้านล่างสุดในส่วนแหลมนั้นเป็นประชากรของคนเกิด ต้องการปรมิทรเป็นประชากรวัยทำงาน ส่วนด้านบนสุดที่เป็นด้านกว้างที่สุดเป็นประชากรผู้สูงอายุ ประชากรด้านล่างจะแบกรับภาระของประชากรด้านบน

แต่ด้วยความสามารถในการบริหารประเทศในด้านเศรษฐกิจรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ได้ขึ้นภาษี 10% ไปซะทั้งหมด บางอย่างยังคงอัตราภาษีวันที่ 8 % เช่น อาหารเครื่องดื่มที่ใช้ในการดำรงชีวิต รัฐบาลญี่ปุ่นประมาณการว่า การปรับขึ้นภาษี ขึ้นเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ครั้งนี้จะสร้างรายได้ให้รัฐบาลราว 5.7 ล้านล้านเยนต่อปี (52,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เงินที่ได้จะนำไปใช้ปรับปรุงระบบประกันสังคมสำหรับผู้สูงอายุ แต่นักเศรษฐศาสตร์บางรายระบุว่า การปรับขึ้นภาษีอาจทำให้ ประชาชนใช้จ่ายน้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบการเติบโตของจีดีพีของญี่ปุ่นในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ด้วยเช่นกัน

หากมองย้อนกลับมาในประเทศไทย ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 เขาเรียกช่วงนั้นว่า "วิกฤตต้มยํากุ้ง" บางคนเรียก "เศรษฐกิจฟองสบู่แตก" ค่าเงินบาทของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องเข้าขั้นวิกฤต ภาระการชดใช้หนี้สินของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนคือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เศรษฐกิจของประเทศไทยล้มละลายและขยายตัวออกไปยังประเทศในทวีปเอเชีย และยังส่งผลต่อประเทศฝั่งยุโรปตะวันตกอีกด้วย ทั้งนี้มีสาเหตุมาจาก ปี พ.ศ. 2536 “กิจการวิเทศธนกิจ (BIBF)” เพื่อสนับสนุนกระแสการเปิดเสรีการเงิน มีนโยบายการลดค่าธรรมเนียมให้กับสถาบันการเงิน ทำให้เกิดการกู้เงินกับต่างประเทศมีสะดวกขึ้น ได้ง่ายมากขึ้นกว่าเดิม เงินกู้ระยะสั้น หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการสร้างจำนวนมากแต่กลับขายได้น้อย เจ้าของธุรกิจจึงไม่สามารถใช้นี้ได้ทันตามกำหนด สถาบันการเงิน 58 แห่งถูกระงับชั่วคราว สร้างความเสียหายวงกว้าง ในเมื่อถึงจุดอิ่มตัวจึงเกิดภาวะฟองสบู่จึงก่อตัวจากการเป็นหนี้ต่างชาติมหาศาล เกิดวิกฤตทางด้านการคลัง

นอกนั้นรัฐบาลไทยใช้มาตรการในการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ จากเดิมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2535 ในอัตรา 7% เพิ่มขึ้นในระยะชั่วคราว สวนกระทั่งในปี 2542 ประเทศไทยได้ปรับอัตราภาษีเพิ่มเพิ่มขึ้นเป็น 10%

ในช่วงเวลานั้นผมทำงานที่ร้านสะดวกซื้อ จำได้ว่าหลังจากประกาศขึ้นอัตราภาษี พวกเราพนักงานจะต้องทำการปรับราคาของสินค้าในร้านทั้งหมด ในการนับสต๊อกสินค้าใหม่ คีย์เข้าระบบ แล้วก็เปลี่ยนป้ายราคาทั้งหมด อย่างไรก็ตามอัตราภาษีที่เก็บเพิ่มขึ้นเป็น 10% นั้น ก็ไม่ได้คงที่ไว้นานมากนัก แล้วก็ปรัดลงมาที่ 7% เช่นเดิม

นอกจากนี้ยังมีวิธีเศรษฐกิจที่เป็นปัญหาหนักจนถึงขั้นที่ประเทศ แทบล่มสลายเลยก็ว่าได้อย่างเช่น วิกฤตเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา ปี ค.ศ. 1999 - 2002วิกฤตเศรษฐกิจของกรีซปี ค.ศ. 2009 ถึง 2018 และล่าสุดที่เราเห็นภาพเงินมีค่าไม่ต่างกับกระดาษคือ วิกฤตเศรษฐกิจของเวเนซุเอลา ปี ค.ศ. 2019

โดยส่วนตัวผมเอง วิธีการเศรษฐกิจของหลายประเทศที่กล่าวมา หากมองใน หนุ่มลึกแล้ว จะเห็นว่าล้วนแต่เกิด มาจากปัญหาทางด้านเศรษฐศาสตร์คือ ปริมาณของมนุษย์มีมากเกินกว่าทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดปัญหาขาดความสมดุล หากพูดง่ายๆคือ ปัญหาประชากรที่มากเกินไปนั้นเอง

ปัญหาประชากร ล้นประเทศ ล้นโลก หรือจักรวาลนั้น มีหลายคนจึงเห็นถึงปัญหาเหล่านี้มานานแล้วว่ามันจะสร้างปัญหาให้กับ สภาพทางสังคมิเศรษฐกิจการเมืองการปกครองในประเทศและโลกใบนี้เป็นอย่างมาก อย่างเช่น ทอมัส มาลธัส นักเศรษฐศาสตร์คลาสสิกและนักประชากรศาสตร์ นามอุโฆกษ์ชาวอังกฤษ ผู้มีชีวิตอยู่ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 เจ้าแห่ง "ทฤษฎีมหันตภัยมาลธูเซียน " (Malthusian catastrophe) อธิบาย ไว้ใน An essay on the principle of population : 1798 ว่า มนุษย์จะเพิ่มจำนวนประชากรเป็นอย่างมากจนก้าวล้ำทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหาทางด้านแรงงานเศรษฐกิจ และสังคม เมื่อเข้าวิกฤติ เมื่อนั้นจำนวนประชากรที่ถูกควบคุมโดยธรรมชาติ เช่นการขาดแคลนทรัพยากร ความอดอยาก การเกิดโรคระบาด รวมถึงภาวะสงคราม และรวมถึงเพื่อให้เกิดความสมดุลต้องหาทางลดจำนวนประชากร หรือหาทางป้องกันโดยการ การคุมกำเนิด ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ และยึดเวลาการแต่งงานให้ช้าออกไป

ลองมามองในมุมอื่นกันบ้างโดยเฉพาะในมุมของบันเทิง นักคิดนักเขียนได้ตระหนักถึงปัญหาประชากรล้นโลกเอาไว้เนิ่นนานแล้วยกตัวอย่างเช่นงานวรรณกรรมและภาพยนตร์ดังต่อไปนี้

ใน Inferno แบร์ตรองด์ โซบริสต์ นักพันธุ์วิศวกรรมศาสตร์มีแนวคิดว่า สาเหตุที่ทำให้โลกไม่สงบสุขก็เป็นเพราะโลกมีประชากรมากเกินไป จึงมีความจำเป็นจะต้องควบคุม และลดจำนวนประชากร

ใน 12 Monkeys เจฟฟรี่ กอยส์ ลูกชายนักชีวเคมีผู้คิดไวรัสโรคร้าย มีแนวคิดว่าสาเหตุที่ทำให้โลกวุ่นวายมีประชากรเยอะเกินไป จึงมีความจำเป็นจะต้องลดจำนวนประชากรโดยการปล่อยไวรัสร้ายควบคุม

ใน Downsizing รัฐบาลมีแนวคิดว่า ประชากรโลกมีจำนวนมากเกินไปทำให้ทรัพยากรไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงมีความจำเป็นต้องลดขนาดของคนให้เล็กลงเหลือเพียง 1 นิ้ว เพื่อประหยัดทรัพยากรและพี่เหรอใคร

ใน Avengers : Infinity War และ Avenger : End Game ธานอส มีความคิดว่า สาเหตุที่ทำให้จักรวาลให้สงบสุขซึ่งมีประชากรมากเกินไป จึงมีความจำเป็นจะต้องลดจำนวนประชากรขึ้น

ปัญหาประชากรล้นโลกเป็นเป็นภัยต่อประชากรในโลกนี้โดยตรง และยังรวมถึงสภาพแวดล้อมของโลกอีกด้วย และหลายคนที่มีแนวคิดสุดโต่งก็อาจจะมีวิธีการลดจำนวนประชากร อย่างที่กล่าวไปในงานวรรณกรรมและภาพยนตร์ตัวอย่างที่กล่าวไปในข้างต้นก็เป็นได้

ช้อมูลประกอบการเขียน

หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ, BBC News.(2560). วิกฤตต้มยำกุ้ง ปี 2540: ย้อนตำนาน 5 ตัวละครเอก. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/thail...

นายปั้นเงิน. aom money. (2561) “ต้มยำกุ้ง” มหาวิกฤตการเงินรสเผ็ดร้อนของคนไทย ภาคกำเนิดวิกฤต. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562, จาก https://aommoney.com/stories/m...

ประชาชาติธุรกิจ. (2562). เป็นงง? ญี่ปุ่นปรับขึ้น “ภาษีบริโภค” วันนี้ “กินร้าน 10% แต่กลับบ้าน 8%”. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2562, จาก https://www.prachachat.net/wor...

@วาทิน ศานติ์ สันติ

#MovieStation #สถานีหนัง #บทความภาพยนตร์

#การลดจำนวนประชากร

หมายเลขบันทึก: 670161เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2019 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2019 06:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท