การเรียนรู้แบบได้ลงมือทำ (Active learning)


รายงานการวิจัยฉบับเต็มสามารถเข้าถึงได้ที่​ Measuring actual learning versus feeling in response to being actively engaged in the classroom

ขอเก็บความที่น่าสนใจ มานำเสนอ ดังต่อไปนี้

การวิจัยนี้มาจากการเรียนการสอนจริงในรายวิชาฟิสิคส์ของมหาวิทยาฮาร์วาร์ด เป็นหลักสูตรที่ใช้มาหลายปีแล้ว รายวิขานี้เปิดสอนปีละสองรอบ มีการเรียน การสอน 15 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 90 นาที เป็นการเรียนการสอนแบบ Interactive lecture ที่มีการบรรยายและเขียนกระดานเป็นหลัก มีการสาธิต และ การ Quiz แบบ Interactive เป็นระยะๆ

การทดลอง จัดให้มีขึ้นในสัปดาห์ที่ 12 ใน 2 หัวข้อวิชาคือ Static equilibrium และ Fluids รุ่นนั้นมีนักศึกษา 149 คน แบ่งแบบสุ่มเป็น 2 ห้อง (A กับ B)

ในหัวข้อวิชาแรก ห้อง A และอาจารย์ A ใช้ Active learning ซึ่งราวครึ่งหนึ่ง ของเวลาในชั้นเรียน อาจารย์ใช้ในการ Feedback และ Mini- lectures เวลาอีกครึ่งหนึ่ง เป็นกิจกรรมกลุ่ม (Group activities) ของนักศึกษา

ส่วนห้อง B และอาจารย์ B ใช้ Passive learning เวลาในชั้นเรียนเป็นการบรรยาย ซึ่งเป็นกิจกรรมของอาจารย์เพียงฝ่ายเดียว

ในหัวข้อวิชาที่สอง สลับให้ห้อง A ใช้ Passive learning และห้อง B ใช้ Active learning

เมื่อจบการเรียนการสอนแต่ละหัวข้อวิชา นักศึกษาตอบแบบสอบถาม ความรู้สึกว่าได้เรียนรู้ (Feeling of learning - FOL) และตอบ Multiple choice questions 12 ข้อ ที่เป็นการทดสอบการเรียนรู้ (Test of learning - TOL)

ผลการทดสอบดังกล่าว สรุปไว้ในแผนภาพข้างล่างนี้

คำตอบความรู้สึกว่าได้เรียนรู้ (FOL) ทั้ง 4 คำถาม บ่งว่านักศึกษาชอบ Passive learning (mean =3.9) มากกว่า Active learning (mean = 2.9, p < 0.001)
คำตอบการทดสอบการเรียนรู้ (TOL) บ่งไปในทางตรงข้ามคือ Active learning มีคะแนนสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

สรุปว่า ผลออกมาเป็น Negative correlation ระหว่าง FOL กัน TOL คณะผู้วิจัยจึง พยายามแสวงหาคำอธิบาย จากการทบทวนวรรณกรรมได้มาสองคำตอบ ได้แก่
(1) ผู้บรรยายคล่อง (เก่ง) ทำให้นักศึกษารู้สึกว่าได้เรียนรู้มากกว่าความเป็นจริง
(2) ผู้ที่ยังใหม่ในวิชา(Novices) ย่อมยากที่จะประเมินการเรียนรู้ในวิชานั้นๆของตน
คณะผู้วิจัยได้เสนอเหตุผลอีกข้อหนึ่งคือ
(3) นักศึกษาที่ยังไม่คุ้นกับ Active learning ย่อมไม่เข้าใจว่า การใช้ความพยายาม มากขึ้นเพื่อการเรียนรู้ (Cognitive struggle) ใน Active learning นั่นแหละ ทำให้เกิด การเรียนรู้ดีขึ้น

ทั้งนี้คณะผู้วิจัยได้แสวงหาข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อนำมาสนับสนุนข้อสรุปนี้ไว้ด้วย รวมทั้งได้นำไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนนักศึกษารุ่นต่อมาดังนี้
(1) เมื่อเริ่มต้นรายวิชา อาจารย์ใช้เวลา 20 นาทีเสนอเรื่อง Active learning and evidence of effectiveness (มีตัวอย่างให้ download มาดูได้ในภาคผนวกของ รายงาน) ตามด้วยการตอบข้อข้องใจของนักศึกษา
(2) มีการเฝ้าดูปฏิกิริยาของนักศึกษา เพื่อแก้ไข เช่น ปัญหาการทำงานร่วมกัน ของนักศึกษา
(3) ตอนจบพบว่า กว่าร้อยละ 65 ของนักศึกษาตอบว่ารู้สึกว่า Active learning ได้ผลดีมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป และร้อยละ 75 บอกว่า การนำเสนอในข้อ (1) มีส่วนช่วยอย่างสำคัญ

สรุปว่า ความสำเร็จของการใช้ การเรียนรู้แบบได้ลงมือทำ (Active learning) ขึ้นอยู่กับการมีแรงจูงใจและการเข้าร่วม (Motivation and engagement) ของนักศึกษา จึงสำคัญมากที่ นักศึกษาต้องเข้าใจดีตั้งแต่แรก ถึงผลดีที่เกิดจาก การใช้ความพยายามมากขึ้นในการเรียนรู้แบบได้ลงมือทำ (Active learning)

หมายเหตุ
ตัวอย่างรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้แบบได้ลงมือทำ (Active learning) ในระดับมหาวิทยาลัย ดูได้จากเรื่อง การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน Team-based learning (TBL)


อำนาจ ศรีรัตนบัลล์
9 กันยายน 2562

คำสำคัญ (Tags): #active learning#Team-based learning
หมายเลขบันทึก: 667826เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2019 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2020 08:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอกราบงามๆ แด่ครูอำนาจ ผู้กระตุ้นการเรียนรู้แก่ผมมาตั้งแต่เป็นนิสิตแพทย์»สามปัจจัยซึ่งทำให้ FOL สูง (หรือ ผู้เรียนชอบและคิดว่าตนรู้เพิ่ม) อันได้แก่ ทักษะขั้นเทพของครู, การขาดประสบการณ์จริงของผู้เรียน, การไม่คุ้นกับ ACTIVE LEARNING น่าจะมีอิทธิพลต่อผู้เรียนชาวไทย และรูปแบบการเรียนแบบไทย ยิ่งกว่าที่ฮาวาร์ดมากนักที่กระตุกคิดผม คือ ครูที่ฮาวาร์ดใข้ความเป็นกัลยาณมิตร ทำให้ผู้เรียนพอมองออกว่ากระบวนการ AL เกิดผลดีระยาวต่อผู้เรียนอย่างไร ขั้นตอนเป็นเข่นไร โดยให้ซักถาม dialoque แล้วลองฝึกกันเป็นกลุ่มโดยครูคอยกระตุ้นการเรียนรู้ ผมฝังใจกับครูเปาโล ครูกศน.บราซิลที่กระตุ้นการเรีบนรผุ่แก่ผู้ปบูกอ้อยจนอ่านออกเขีบนได้ จากบทบาท learning facilitator

แถมยังประทับใจกับ “การตะล่อม’ ให้มุมมองของผู้เนีบนเห็นประโยชน์ และอยากลอง AL ซึ่ง Derek Cabrera เรียกว่า Perspective

กระทู้นี้จึงเป็นอีก evidence ยืนยันบทบาท learning facilitator และการโน้มน้าว perspective ของผู้เรียน เรื่องนี้ครูอำนาจท่านย้ำเสมอๆ มานับสิบปี

ขอกราบงามๆ แด่ครูอำนาจ ผู้กระตุ้นการเรียนรู้แก่ผมมาตั้งแต่เป็นนิสิตแพทย์»สามปัจจัยซึ่งทำให้ FOL สูง (หรือ ผู้เรียนชอบและคิดว่าตนรู้เพิ่ม) อันได้แก่ ทักษะขั้นเทพของครู, การขาดประสบการณ์จริงของผู้เรียน, การไม่คุ้นกับ ACTIVE LEARNING น่าจะมีอิทธิพลต่อผู้เรียนชาวไทย และรูปแบบการเรียนแบบไทย ยิ่งกว่าที่ฮาวาร์ดมากนักที่กระตุกคิดผม คือ ครูที่ฮาวาร์ดใข้ความเป็นกัลยาณมิตร ทำให้ผู้เรียนพอมองออกว่ากระบวนการ AL เกิดผลดีระยาวต่อผู้เรียนอย่างไร ขั้นตอนเป็นเข่นไร โดยให้ซักถาม dialoque แล้วลองฝึกกันเป็นกลุ่มโดยครูคอยกระตุ้นการเรียนรู้ ผมฝังใจกับครูเปาโล ครูกศน.บราซิลที่กระตุ้นการเรีบนรผุ่แก่ผู้ปบูกอ้อยจนอ่านออกเขีบนได้ จากบทบาท learning facilitator

แถมยังประทับใจกับ “การตะล่อม’ ให้มุมมองของผู้เนีบนเห็นประโยชน์ และอยากลอง AL ซึ่ง Derek Cabrera เรียกว่า Perspective

กระทู้นี้จึงเป็นอีก evidence ยืนยันบทบาท learning facilitator และการโน้มน้าว perspective ของผู้เรียน เรื่องนี้ครูอำนาจท่านย้ำเสมอๆ มานับสิบปี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท