วันแม่ กับ “สภาวะความเป็นแม่” ในฐานะวาทกรรม


วันแม่ หลายคนคิดถึงแม่ของตน หลายคนคิดถึงตัวเองที่ทำหน้าที่คนเป็นแม่ หลายคนคิดถึงทั้งสองสิ่งนี้เชื่อมโยงกัน และบางคนคิดไปไกลกว่านั้น คิดถึง การเป็นแม่ของคนอื่นๆ

“สภาวะความเป็นแม่” ในประเทศไทย ได้รับความสนใจในแง่ สุขภาวะมากน้อยเพียงใด

ในแง่สาธารณสุข ดูจะเห็นเด่นชัดในเรื่องของ การเลี้ยงดูบุตร การมีน้ำนมให้ลูกกินกี้เดือนกี่ปีจึงจะดีต่อพัฒนาการลูก จะต้องเสริมพัฒนาการเรียนรู้อะไรแก่ลูกๆดี แต่โดยมากก็เป็นการมองสุขภาวะแบบเอาลูกเป็นศูนย์กลาง ไม่ได้มองโดยเอาตัวผู้หญิงที่เป็นแม่เป็นศูนย์กลาง

แล้วคนเป็นแม่ล่ะ ได้รับการหนุนเสริม ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาอย่างไรบ้าง พวกเธอจะพัฒนาตัวเองอย่างสมดุลไปพร้อมกับการพัฒนาลูกๆได้มากน้อยแค่ไหน

                                                       (cr. ภาพจากอินเตอร์เน็ต)

งานพัฒนาชุมชน ที่มีต่อสตรี หากไม่มุ่งไปที่อาชีพ ก็มุ่งไปที่บทบาทสตรีแบบเก่า คือ วางอยู่บนเงื่อนไขการเลี้ยงดูลูก สังคมเองก็มักจะให้ค่านิยมรองรับว่า ชีวิตลูกต้องใหญ่กว่าชีวิตแม่ แม่ต้องเสียสละทุกอย่างในชีวิต แม้แต่ความสุข ความใฝ่ฝันมากมายในชีวิต จึงจะเป็นแม่ที่ดีในอุดมคติ

นี่เป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุล และไม่ยุติธรรมสำหรับผู้หญิงเลย

ในแง่ของสังคมศาสตร์ ตรงนี้เป็นวาทกรรม “ความเป็นแม่” (motherhood) ที่กดทับผู้หญิงเอาไว้นะครับ จริงอยู่ การเชิดชูสตรีผู้เสียสละเพื่อลูกเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ต้องอ่านวาทกรรมที่อยู่เบื้องหลังให้ออกด้วย ว่าหลายๆครั้งที่มันละเลยสิ่งใดไป และใครได้ประโยชน์จากความเชื่อ ฐานความคิดแบบนี้


                                          cr. ภาพจากอินเตอร์เน็ต

ผู้หญิงจำนวนมาก รู้สึกมีปมด้อย อับอาย ถูกสังคมประณามหยามเหยียดที่ไม่สามารถดำรง “ความเป็นแม่” ตามสังคมอุดมคติ เอาไว้ได้

วันแม่ นอกจากจะเทิดทูนบุญคุณ แสดงความกตัญญูต่อแม่แล้ว ก็เป็นอีกวันหนึ่งนะครับ ที่เราน่าจะทำความเข้าใจผู้หญิงที่มีสภาวะความเป็นแม่อีกหลายๆแบบ ด้วยใจที่เปิดกว้างและมีเมตตามากขึ้น

เพื่อให้ แม่อีกหลายๆแบบ ไม่ว่าจะเป็น แม่ที่ต้องแยกทางไปไกล , แม่ที่ประกอบอาชีพหญิงกลางคืน , แม่ที่สำมะเลเทเมา , แม่ชายขอบทั้งหลาย ได้รับความรัก ความเข้าใจ ความห่วงใย และเข้าถึงการพัฒนาที่สร้างการมีส่วนร่วมของพวกเธอมากขึ้น


โดยไม่เอา “ความเป็นแม่” แบบใดแบบหนึ่งมาตัดสินและเหมารวมจนกลบเสียงที่หลากหลายของสตรีที่มีสิทธิที่จะคิดและใช้ชีวิตต่างออกไป

หมายเลขบันทึก: 667804เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2019 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2019 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท