เสน่ห์บ้านนอก


พูดเรื่องความตาย อย่างหนึ่งมักจะนึกถึง เสียดายความสวยงามของโลก ความมหัศจรรย์ในธรรมชาติ ความชื่นฉ่ำหัวใจจากสายลมที่โลมไล้ แดดอ่อนละมุนนวลตา เสียงนก เสียงความเงียบ กลิ่นดิน กลิ่นหญ้า กลิ่นควันไฟ..

บางคนบอกเพราะที่มาของเราใช่หรือไม่ คนที่ไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่เคยอยู่เคยกินในสภาพแวดล้อมอย่างนี้มาก่อน คนที่เติบโตหรืออยู่แต่ในเมืองใหญ่ จะรู้สึกดีต่อธรรมชาติหรือความเป็นชนบทนี้ได้หรือ?

ถ้าเรื่องพันธุศาสตร์ สิ่งมีชีวิตมีที่มาที่ไปจากสองอย่าง หนึ่งยีน สองสภาพแวดล้อมหรือประสบการณ์

พิจาณาตัวเองแล้ว น่าจะเป็นเช่นนั้น โตมากับบ้านนอก กับธรรมชาติเหล่านี้ ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ รุ่นปู่ย่าตายายแล้ว

เสน่ห์ท้องนา เสน่ห์ของชนบทที่หลงใหล..

หมายเลขบันทึก: 667799เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2019 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2019 21:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ลุกขึ้น. ชูสองมือเห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ ^_,^

ท้องนาเปลี่ยนสภาพไป.. ตามวันเวลา และวิวัฒนาการ… ควันไฟที่อ้อยอิ่งอยู่ในเตาหายไป.. หากเป็นการลุกไหม้เผาผลาญ เพื่อยึดครอง..หมดเสน่ห์.. หะหาย.. แรงกระสันต์.. บ้านนอก..

รู้สึกเสมอๆ ว่าโล่งหู โล่งตา โล่งใจ ยามที่ได้ออกมาสัมผัสกับสภาพแวดล้อมอย่างนี้ สุดท้ายย้ายบ้านมาอยู่กับมันเลยครับ(ฮา)

ขอบคุณทพญ.ธิรัมภามากครับ

“ได้อย่างงงง ก็ต้องเสียอย่างงงง” อัสนีย์และวสันต์ว่าไว้ครับ..

ขอบคุณยายธีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท