Transform สู่คณะบริหารธุรกิจแห่งศตวรรษที่ ๒๑




วันเสาร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ผมไปทำงานรับใช้ มช. รวม ๔ เรื่อง มากเป็นประวัติการณ์    เรื่องหนึ่งที่สร้างความชื่นฉ่ำในหัวใจยิ่งนักคือวาระการประชุมคณะกรรมการประเมินผลการบริหารงานของคณบดีคณะบริหารธุรกิจ  รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร  ในช่วงครบรอบการปฏิบัติงานวาระที่สอง รอบที่ ๑  ในรอบระยะเวลา ๑ ปี ๖ เดือน   

อ่านรายงานผลการดำเนินงานของท่านคณบดีสิริวุฒิแล้ว     ผมเกิดแรงบันดาลใจเขียนบันทึกนี้    เพื่อชี้ให้เห็นวิธีดำเนินการเพื่อ transform หน่วยงานระดับคณะ    โดยผมตีความนำมาเล่าดังต่อไปนี้

  • พัฒนาอาจารย์    อาจารย์คือพลังหลักในการ transform คณะ   คณบดีในฐานะผู้นำจึงต้องมีวิธีส่งเสริมแรงบันดาลใจ  และสนับสนุนการสร้างผลงานเพื่อความก้าวหน้าของอาจารย์    ในกรณีนี้มีเป้าหมายชัดเจนคือ ให้อาจารย์มีคุณสมบัติครบตาม AACSB (1)เพื่อให้คณะผ่านการรับรองมาตรฐาน AACSB   ซึ่งจะทำให้บัณฑิตเป็นที่ยอมรับในวงการนานาชาติ   

สนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยของอาจารย์    และค่อยๆ ยกระดับคุณภาพการตีพิมพ์ จนในปี ๒๕๖๒ ยอมรับเฉพาะวารสารใน TCI 1 หรือในวารสารในฐานข้อมูลนานาชาติเท่านั้น    และตั้งเป้าว่า ในปี ๒๕๖๔ จะยอมรับเฉพาะการตีพิมพ์ในวารสารในฐานข้อมูลนานาชาติเท่านั้น   

 นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาอาจารย์เพื่อให้สามารถขอตำแหน่งวิชาการได้    ทั้งสองกรณีของเป้าหมายการพัฒนาอาจารย์ เป็นการใช้มาตรฐานที่คณาจารย์ยอมรับและได้ประโยชน์ในการดำเนินการ    ช่วยให้การจัดการการเปลี่ยนแปลงมีบรรยากาศเชิงบวก  

  • พัฒนาหลักสูตร และการบริหารหลักสูตร    มีการพัฒนาระบบวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษาเป็นรายคน    โดยทำเป็น Learning Dashboard ให้ นศ. เข้าไปติดตามผลการเรียนรู้และพัฒนาการของตนตามหลักสูตรได้   

มีกระบวนการ assurance of learning  หลากหลายกระบวนการ    และใช้ข้อมูลจากกระบวนการนี้เป็น feedback ป้อนกลับมาพัฒนาการจัดการเรียนรู้แก่ นศ.    รวมทั้งนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้บริหารของ business school ทั่วโลก  ในการประชุมประจำปีของ AACSB  

จัดการเรียนรู้แบบ action learning ข้ามศาสตร์ ร่วมกับคณะอื่น    ได้แก่คณะวิทยาศาสตร์  วิศวกรรมศาสตร์  และอุทยานวิทยาศาสตร์    ในการจัดการเรียนรู้จากโจทย์จริงของธุรกิจ อันได้แก่ธุรกิจการเงิน และ SME   

จัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ คือห้องเรียน ให้เหมาะสมต่อการเรียนแบบ flipped classroom   และ experiential learning

กำหนดให้ นศ. เรียนรู้จากการทำงานรับใช้สังคม (service learning) ระยะยาว    โดยให้ นศ. เลือกปัญหาสังคมที่ตนสนใจ และชุมชนเป้าหมาย    กำหนดแผนระยะยาว ๓ ปี ดำเนินการร่วมกับชุมชน    มีการจัดการสนับสนุนโดยคณะ    และดำเนินการวิจัยร่วมกับคณะศึกษาศาสตร์ และ Copenhagen Business School  

จัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีพ ให้บริการแก่ นศ.  (2)

  • พัฒนากิจกรรม engagement กับ real sector   กิจกรรม service learning ข้างบน  เป็น community engagement อย่างหนึ่ง  บูรณาการกับการเรียนรู้ของนักศึกษา    นอกจากนั้น ยังมีธนาคารไทยพาณิชย์เป็นหุ้นส่วนในการนำปัญหามาให้ นศ. เรียนโดยการฝึกแก้ปัญหา  และกำลังดำเนินการขยายหุ้นส่วนไปยัง SME    มีการจัดตั้ง Center of Engagement กับ Social Enterprise  

อ่านเอกสาร SAR (Self-Assessment Report) ของท่านคณบดีสิริวุฒิ ได้ที่ (

วิจารณ์ พานิช

๒๒ ก.ค. ๖๒

Blog sirivuth from Pattie KB
หมายเลขบันทึก: 666910เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2019 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2019 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท