การออกแบบองค์กร


การออกแบบองค์กร

การออกแบบองค์กรตามสถานการณ์  

   การออกแบบโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • 1. สภาพแวดล้อม (Environment)  โครงสร้างขององค์กรจะต้องมีความยืดหยุ่น มีลักษณะการกระจายอำนาจอำนาจหน้าที่มีกฏระเบียบและวิธีปฏิบัติน้อย องค์กรแบบนี้เรียกว่าองค์การแบบสิ่งมีชีวิตเสมือนจริง เนื่องจากสมาชิกในองค์กรมีการปฏิบัติร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ เหมาะสมกับบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีและธุรกิจอุปโภคบริโภคเพราะต้องตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างหลากหลาย (Differentiation) หรือแบบบูรณาการ (Integration) ทำให้ลักษณะขององค์การแตกต่างกันไป หากออกแบบองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างหลากหลาย (Differentiation) ส่วนต่างๆ ขององค์การจะแตกตัวและแยกออกจากกัน ดังนั้นองค์การที่ยิ่งมีหน่วยงานย่อยๆ ยิ่งมาก ยิ่งมีลักษณะขององค์การแบบแตกต่างหลากหลายที่เกิดจากความชำนาญเฉพาะด้านเชิงเทคนิคและการแบ่งงานกันทำ และหากออกแบบองค์กรให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยเป็นแบบบูรณาการ (Integration) ส่วนต่างๆ ขององค์การจะร่วมกันทำงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน สำหรับองค์การที่มีการบูรณาการในระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญจะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน ซึ่งต้องอาศัยสายการบังคับบัญชาที่เป็นทางการ มาตรฐานของ้กฏเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ การใช้ทีมงานข้ามสายงานและเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเอื้อต่อการติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกันของส่วนต่างๆ ในองค์การ
  • 2. เทคโนโลยี (Technology) ได้แบ่งองค์กรเป็น 3 ประเภทตามลักษณะความซับซ้อนทางเทคโนโลยี ได้แก่
  • - เทคโนโลยีการผลิตน้อยชิ้น (Small batch Technology) มีการซับซ้อนน้อยที่สุดและใช้การผลิตแบบดั่งเดิม จะเป็นองค์กรแบบสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะไม่เป็นทางการและยืดหยุ่น
  • - เทคโนโลยีการผลิตมากชิ้น (Large batch Technology) เป็นการผลิตสินค้าจำนวนมากตามสายการผลิตซึ่งประกอบชิ้นส่วนต่างๆ จนกลายเป็นสินค้าสำเร็จรูป สินค้าส่วนใหญ่ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงต้องมีความชำนาญเฉพาะด้าน
  • - เทคโนโลยีการผลิตแบบกระบวนการต่อเนื่อง (Continuous Process Technology) เป็นองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีที่ใช้เครื่องจักรทำงานทั้งหมด มนุษย์ทำหน้าที่เพียงควบคุมและซ่อมบำรุงเครื่องจักร ลักษณะองค์การแบบมีชีวิตซึ่งมีความเข้มงวดและเป็นทางการน้อย

  

  • 3. วงจรชีวิต (Life Cycle) ขององค์กร ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเกิด  วัยเด็ก วัยกลางคน และเติบโตเต็มที่ เมื่อองค์กรเติบโตขึ้นไปในแต่ละขั้น องค์กรจะมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความเป็นเครื่องจักรกลมากขึ้น มีความชำนาญเฉพาะด้านมากขึ้น กระจายอำนาจมากขึ้น มีความเป็นระบบราชการมากขึ้น ซึ่งในแต่ละช่วงขององค์กรจะมีการออกแบบองค์กรที่แตกต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 665303เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2019 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2019 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท