สะท้อนย้อนมองเส้นทางขับเคลื่อน R2R ยโสธร


เมื่อประมาณต้นปีงบประมาณ 2562 

ได้ทดลองทำ Workshop เล็กๆ ที่ไม่ต้องใช้งบประมาณใดใด แต่เป็นการจัดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยใช้เวลาครึ่งวันเดือนละสองครั้ง เป็น workshop สไตล์ KM ในการเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่อง Meta R2R เดิมทีตั้งใจเฉพาะคนในองค์กรโรงพยาบาลยโสธร

แต่เมื่อถึงวันจริงๆ ปรากฏว่าคนที่เข้าร่วม workshop ส่วนใหญ่เป็นเครือข่าย R2R จากอำเภอต่างๆ เกือบทุกอำเภอ โดยทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สสจ.ยโสธรเป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์ทำหนังสือเชิญให้บุคลากรแต่ละแห่งมาร่วมเรียนรู้ได้อย่างสะดวก

การจัดกระบวนการดำเนินต่อเนื่องมาประมาณ 4 เดือนตั้งแต่ตุลาคมถึงมกราคม

เน้นในเรื่องการทำความเข้าใจ Meta  R2R และการวิเคราะ์ปัญหาระบบสุขภาพในพื้นที่เพื่อนำไปสู่ประเด็นคำถามการวิจัย หรือ Research Question 

หลังจากปูพรมองค์ความรู้ในเรื่อง R2R มาบ้างแล้ว นำไปเชื่อมโยงกับโครงการเพิ่มพูนสมรรถภาพและเติมองค์ความรู้ทางวิจัยให้แก่บุคลากรโดย สสจ.เป็นเจ้าภาพโครงการ และมี อ.ดร.กอล์ฟ และ อ.ถนอม (Ph.D.Candidate) มาร่วมจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ถือได้ว่าเป็นการขับเคลื่อนภายในจังหวัดโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในจังหวัดอย่างคุ้มค่า คล้ายการส่งไม้ต่อในการทำงานจากมกราคมถึงปัจจุบัน

ผลลัพธ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ในครั้งนี้

สะท้อนผลได้จากผลงานได้ผ่านการเข้าร่วมเสนอในประชุมวิชาการต่างๆ และได้รับรางวัลในระดับเขต และระดับประเทศเป็นที่น่าชื่นชมยิ่งนัก ได้รับรางวัลระดับเขต 9 ผลงาน จากการผ่านคัดเลือกเข้านำเสนอ 13 ผลงาน และเข้ารอบระดับประเทศ 15 ผลงาน ซึ่งล้วนแล้วเป็นผลงานที่มีคุณภาพนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่วิถีการทำงาน เป้าหมายไม่ได้เพื่อล่ารางวัล แต่การไปนำเสนอ คือ การเผยแพร่บอกเล่าให้โลกรู้ว่าเราทำอะไรบ้าง ส่วนรางวัลที่ได้ถือว่าเป็นกำไรที่ได้รับ

สำหรับผลงาน Meta R2R เองก็เช่นเดียวกัน

มีผ่านเข้ารอบพิจารณาผลงาน R2R ดีเด่นใน MOPH R2R National Forum ปี 62 ได้แก่ 

  • การพัฒนากระบวนการพยาบาล อย่างเป็นระบบด้วยกลไกมิติทางคุณภาพต่อความปลอดภัยและการเข้าถึงระบบบริการของผู้ป่วย NICU โรงพยาบาลยโสธร
  • บูรณาการการดูแลผู้ป่วย Stroke แบบผสมผสานและชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลกุดชุม 
  • การใช้กลไกล พชอ.จัดการสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพต่อการขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
  • การพัฒนาการดูแลต่อเนื่องแบบบูรณาการเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเลิงนกทา แบบไร้รอยต่อ อำเภอทรายมูล
  • การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด(Sepsis)โรงพยาบาลป่าติ้ว

เมื่อย้อนกลับไปทบทวนสะท้อนคิดในตนเองว่า ปีนี้การขับเคลื่อน R2R ของจังหวัดยโสธรค่อนข้างมีพลังมาก สะท้อนการทำงานเป็นทีม จากเดิมคิดวางภาพเฉพาะองค์กรโรงพยาบาลยโสธร แต่สภาพการณ์จริงกลับกลายเป็นว่าเคลื่อนไปทั้งจังหวัดเกินความคาดหมายของตนเอง

ได้ทำงานร่วมกับอาจารย์วิทยากรสองท่านซึ่งเก่งมากมากคือ อ.ถนอม ซึ่งเชี่ยวชาญทางด้านระบาดวิทยา และ อ.ดร.กอล์ฟ ดอกเตอร์ใหม่ป้ายแดงของเราเป็นการทำงานที่ทุ่มเทมาก และทำบทบาทของการเป็น Coaching มากกว่าเป็นผู้สอนบรรยายอย่างเดียว มีหัวใจแห่งความเป็นครูสูง ซึ่งถือว่าสิ่งนี้ทำให้ลดช่องว่างของการนำพานักปฏิบัติงานไม่ให้รู้สึกกลัวการทำวิจัย และกล้าหาญที่จะก้าวผ่านปัญหาอุปสรรคของการเรียนรู้ในเรื่องที่ยาก

ในความรู้สึกส่วนตัว

บนเส้นทางของการทดสอบความคิดความเชื่อในการสร้างการเรียนรู้ของตนเอง โดยเลือกใช้จังหวัดยโสธรเป็นพื้นที่การทำงานแบบ win win คือ นอกจากได้ทำงานแล้ว ได้อยู่บ้านเกิดแล้ว ได้ใช้ชีวิต slow life แล้วยังสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีงามกับพี่ๆ น้องๆ ชาวสาธารณสุขยโสธรได้ดียิ่งอีกด้วย

แม้ว่าเราจะมีการวางแผนบางอย่างแต่ในปรากฏการณ์จริงอาจมีสิ่งที่เกิดขึ้นและน่าเรียนรู้แทรกเข้ามาให้เราได้ทำความเข้าใจ ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “ทุกอย่างเกิดขึ้นดีเสมอ” ทุกสิ่งอย่างหากเรามองเป็นเรื่องของการเรียนรู้ความสุขเล็กๆ ก็เกิดขึ้นในใจเราได้เสมอ

#SelfReflection

26-06-62

คำสำคัญ (Tags): #r2r ยโสธร#km#r2r#meta r2r
หมายเลขบันทึก: 662278เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2019 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มิถุนายน 2019 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท