ก้าวข้ามความรู้


ถึงความรู้จะเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล แต่หากเราไม่ก้าวข้ามตัวความรู้ เอาความรู้ "ใส่บ่าแบกหามไว้" โดยไม่ได้นำไปใช้ทำอะไร แทนที่ความรู้เหล่านี้จะก่อประโยชน์ อาจกลับสร้างภาระและทำให้ชีวิตเราหนักขึ้นโดยไม่จำเป็น

ตอนที่ผมเป็นเด็ก ผมมักจะได้ยินผู้ใหญ่เตือนเสมอว่า "อย่าเดินข้ามหนังสือ" ...วันนี้ที่ผมพูดถึงการ "ก้าวข้ามความรู้" นั้น ผมไม่ได้หมายถึงการเดินข้ามจริงๆหรอกครับ ผมเพียงแต่ต้องการจะสื่อว่า ถึงความรู้จะเป็นสิ่งที่มีค่ามหาศาล แต่หากเราไม่ก้าวข้ามตัวความรู้  เอาความรู้ "ใส่บ่าแบกหามไว้" โดยไม่ได้นำไปใช้ทำอะไร แทนที่ความรู้เหล่านี้จะก่อประโยชน์ อาจกลับสร้างภาระและทำให้ชีวิตเราหนักขึ้นโดยไม่จำเป็น

ผมมองว่า "ความรู้" นั้นแท้จริงแล้วก็คือสิ่งที่มนุษย์พยายามจะสื่อ "ความจริง" ออกมา...คงจะไม่มีผู้ใดปฏิเสธนะครับว่า สิ่งที่ตนรู้นั้นไม่ใช่ "ความจริง" ในโลกวิทยาศาสตร์เองมักจะแบ่งสิ่งต่างๆไว้เพียงสองอย่างคือ 1. the known - สิ่งที่เราได้รู้ และ 2. the unknown - สิ่งที่เรายังไม่รู้ (และจะรู้ได้ในอนาคต) กระบวนการทางวิทยาศาตร์จะมุ่งเน้นไปที่การพิสูจน์ การทดลอง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัด ถ้าวัดไม่ได้ก็มักจะสรุป (ไปก่อน) ว่าสิ่งนั้นไม่มีจริง

วิทยาศาสตร์ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่ ได้เริ่มมองสิ่งต่างๆในโลกนี้เปลี่ยนไป คือเริ่มยอมรับว่าสิ่งต่างๆในโลกนี้มีสามอย่างคือ 1. the known 2. the unknown และ 3. the unknowable - สิ่งที่ไม่อาจจะล่วงรู้ได้ สิ่งสุดท้ายนี่แหละครับที่ทำให้ชีวิตนี้มีสีสรร ...มีความมหัศจรรย์ ...worth living ครูอาจาย์ด้านจิตวิญญาณทั้งหลายมักจะพูดเสมอว่า the unknowable นี้ จริงๆแล้วรู้ได้ แต่ไม่ใช่การรู้ในรูปแบบที่เราเคยชิน ไม่ใช่การรับรู้ที่ผ่านสมอง ผ่านระบบการคิด ...และนี่แหละครับที่ผมเรียกว่าการ "ก้าวข้ามความรู้"

คำสำคัญ (Tags): #intuition
หมายเลขบันทึก: 6621เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2005 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เห็นด้วยคะอาจารย์ ในฐานะอาจารย์ จะเจอปรากฏการณ์ "ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด (รู้แต่แบกไว้บนบ่า)" ในหมู่นักศึกษาบ่อยครั้งคะ

ดังนั้น การสอนให้นักศึกษาสามารถดึงเอาความรู้ที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์และลดความเป็นตัวของตัวเองลงไปบ้าง เป็นเป้าหมายที่อาจารย์ควรนำมาใช้ในการสอนอีกด้วย นอกเหนือจากเป้าหมายที่เขียนเอาไว้ใน Syllabus ของแต่ละวิชาคะ

ปล. แวะไปดูบล็อกของอาจารย์ที่ http://IntuitonFlow.blogspot.com แล้วคะ รูปที่เชียงกรีล่าสวยมากคะ น่าไปเที่ยวมากเลยคะ :)
ได้เห็นมุมมองเรื่อง "ก้าวข้ามความรู้" ซึ่งท่านดร.ประพนธ์มีมุมมองที่น่าสนใจและท้าทายดีครับ เพราะบางคนไม่เพียงก้าวข้ามเท่านั้น แต่บางคนได้กระโดดข้ามไปเลยครับ

ขอเห็นแย้งนะครับ ว่าสิ่งที่ท้าทายเราจริง ๆ คือ the unknown ไม่ใช่ the unknowable ซึ่งอย่างหลังนี้ พุทธศาสนาเรียก "อจินไตย" ที่ไม่ควรเสียเวลาไป "ฝัดด้งเปล่า"กับมัน

Carlos Castaneda เขียนใน "The Fire From Within" ถึง the known, the unknown และ the unknowable ไว้ว่า

the unknown นั้น สักวันหนึ่งก็จะกลายเป็น the known ไป และการเข้าไปไขปริศนาตรงนี้ จะทำให้ชีวิตกระชุ่มกระชวย แค่นึกถึงก็ชวนตื่นเต้นแล้ว

แต่ the unkbnowable นั้น อย่างมากเราจะเห็นแวบ ๆ แบบจับไม่มั่นคั้นไม่ตาย และไม่ว่าจะเตรียมใจไว้เพียงใด ก็จะทำให้ว้าวุ่นสับสน เหนื่อยหน่ายต่อการมีชีวิต

    ขอคิดด้วยคนครับ ..

ผมว่าถึงที่สุดแล้วไม่ว่าจะเป็น the known  the unknownหรือ the unknowable ล้วนเป็นความจริงที่มีอยู่และรอคอยการเข้าไปรับรู้และหยั่งเห็นความจริงเหล่านั้น ข้อสำคัญอย่าเผลอเพลิน หรือกระเสือกกระสนเข้าไปรู้โดยลืมถามตัวเองว่า "รู้ไปทำไม" ด้วยเสมอ ยิ่งยุคที่เครื่องช่วยหาความรู้ในระดับ data และ information มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งเช่นปัจจุบัน  ยิ่งน่าเป็นห่วงครับ  ห่วงว่าคนในชาติจะเต็มไปด้วยความรู้ แต่เมื่อเจอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาทั้งส่วนตนและส่วนรวม  ยังยืนงง  ไม่รู้จะจัดการกับมันยังไงดี  ความทุกข์ ความเดือดร้อน ความไม่สงบสุข คือ indicator บ่งบอกความไม่รู้ของมนุษย์ครับ  แต่จะเป็นของท่านผู้นำ หรือของผู้ตามกันสักกี่มากน้อย ยังไม่มีคำตอบครับ

ขอแสดงความคิดเห็นนะครับ เรื่อง the unknown และ the unknowable นั้นสามารถมองให้เป็นเรื่องของบริบทที่ต่างกันครับ Castaneda เขียนโดยยึดมุมมองของตนเองในฐานะปุถุชนที่ไมค่อยจะอยากยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปเป็น warior ของ Don Juan

โดยปกติภายใต้ปัจจัยหรือบริบทเดิม the unknown สามารถกลายเป็น the known ได้ แต่ the unknownable นั้นเกินความเข้าใจ เหมือนปลาไม่เข้าใจบก นกไม่เข้าใจน้ำ แต่แนวทางของ Don Juan หรือของศาสนาพุทธ ฮินดู เต๋า มีวิธีที่แตกต่างครับนั้นคือการ self-transform ไปสู่บริบทเดียวกับ the unknownable นั้นๆ คือเป็น warior เป็นพรหม เป็นเซียน หรือบรรลุนิพพาน สิ่งเหล่านี้ unknownable แต่สามารถ achieve หรือ be แต่ไม่ใช่ know ศาสนาพุทธใช้คำว่าพุทธที่หมายถึงการตื่นได้ดีครับ ตรงนี้ดูจากหนัง the Matrix ก็จะเห็นเป็นรูปธรรมดี ชัดเจนว่าทำไมเมื่อ achieved แล้วถึงไม่มี achievement ทั้งไม่มี achiever ทั้งเขาก็ไม่ได้ achieve อะไรเลย

ขอโทษที่ต้องใช้ไทยคำอังกฤษคำนะครับ

และมีอีกอย่างที่อยากให้นักวิทยาศาสตร์ตระหนัก

เรื่องบางอย่างวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถพิศูจน์ได้ค่ะ

ในอัลกุรอานได้บอกอย่างชัดเจนและเปรียบเทียบคนที่มีความรู้มากแต่ไม่ปฎิบัติตามเสมือน ลาแบกหนังสือ ถึงจะหนักหนาอย่างไร เขาเพียงนำจากที่หนึงไปสู่อีกที่หนึ่ง ส่วนตัวเขาจะไม่เปลี่ยนอะไรเลย และไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ จากมวลหนังสือเหล่านั้น

เป็นสมาชิกใหม่ จึงต้องค่อยๆ สุ่มอ่านเรื่องราวของผู้รู้ที่เป็นสมาชิกเก่าไปก่อน

ขอบอกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกที่อ่านแล้วก็จุดประกายความคิดให้มากมาย ขอบคุณและขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท