ไม่เปลี่ยน= แพ้ = สูญพันธุ์



          วันนี้ไปประชุมผู้ปกครองที่ไม่ใช่คนพูดแต่ในฐานะคนฟังเพราะปกติด้วยบทบาทความเป็นครูแต่วันนี้มาในฐานะพ่อ  โรงเรียนได้เชิญผู้แทนจากบริษัทที่ทำระบบดูแลนักเรียนแบบครบวงจรมาแนะนำApplication ดังกล่าว  หัวข้อที่ผู้แทนคนนี้พูดคือไม่เปลี่ยน= แพ้ = สูญพันธุ์เป็นการพูดแค่ราวๆ10-12 นาทีแต่เป็นการพูดที่ทรงพลังมากจนผมอดเอามาเล่าต่อในมุมของผมไม่ได้

       สำหรับคนรุ่นผม(ปีนี้41) รึอายุไล่เลี่ยกันคงคุ้นเคยกับนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้มาแน่ๆเช่นเทปคาสเซ็ทกล้องฟิล์มโทรศัพท์โนเกียแบล็คเบอรี่โทรศัพท์บ้านธนาณัติโทรเลข  ที่ยกตัวอย่างมานี่สมัยเด็กๆคงคุ้นเคยและใช้กันอยู่เป็นประจำแต่หากดูในปัจจุบันจะเห็นว่าบางอย่างหายไปแล้ว  บางอย่างยังมีอยู่แต่หาได้ยากและบางอย่างกำลังจะกลายเป็นอดีต  ลองดูตัวอย่างแรกเทปคาสเซ็ทเชื่อว่าสมัยก่อนทุกบ้านต้องมีเครื่องเล่นเทปแต่พอมีการมาของmp3 ซึ่งมาในรูปแบบแผ่นซีดีเทปก็หายไปจนสูญพันธุ์เป็นการถาวรถูกแทนที่ด้วยCD/DVD แต่อนิจจาตอนนี้ทั้งสองแผ่นที่ว่าก็ถูกทดแทนด้วยสิ่งที่สะดวกกว่าเช่นFlash drive หรือstorge drive แบบcloud ต่างๆ   

          สมัยก่อนเวลาจะถ่ายรูปสักรูปคนถ่ายจะคิดแล้วคิดอีกกว่าจะกดชัตเตอร์เพราะทุกครั้งที่กดลงไปหนึ่งแชะหมายถึงค่าใช้จ่ายอันได้แก่ฟิล์ม(ซึ่งม้วนนึงมี36รูปถ้าไม่เสียหัวกับท้ายฟิล์ม) ค่าล้าง  และค่าอัดรูป  สมัยก่อนฟิล์มที่ดีงที่สุดมีส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดคือฟิล์มโกดัก(Kodak) มีเรื่องเล่าว่าขณะช่วงปี1993 ตอนนั้นบริษัทโกดักครองตลาดฟิล์มเจ้าเดียวเกินกว่า50%ของทั้งโลก  ฝ่ายวิจัยและพัฒนาได้สร้างกล้องถ่ายรูปดิจิตอลสำเร็จเป็นเจ้าแรกแต่CEOของโกดักณตอนนั้นตัดสินใจไม่พัฒนาการต่อหรือสร้างมาเป็นผลิตภัณ์ออกขายโดยให้เหตุผลว่าเราเป็นเบอร์หนึางทางด้านการขายฟิล์มถ้ากล้องถ่ายรูปดิจิตอลถูกผลิตมาเราจะขายฟิล์มไม่ได้  หลังจากนั้นไม่นานSony ได้ผลิตกล้องถ่ายรูปดิจิตอลออกขายเป็นครั้งแรกใและราวปี2004 บริษัทโกดักก็ล้มละลายเนื่องจากคนไม่ใช้กล้องฟิล์มแล้ว  รูปแบบลักษณะคล้ายๆกับโทรศัพท์มือถือNokia ยักษ์ใหญ่จากฟินแลนด์ที่ครองโลกมือถือนานกว่าทศวรรษใครๆที่เกิดทันช่วงปี40-43 จะรู้ว่า3310 คือรหัสมือถือในตำนานที่คนสมัยนั้นมีเกือบทุกคนจนความมั่นใจในความเข้มแข็งของแบรนด์ทำให้เกิดการยึดติดกับระบบปฏิบัติการSymbian แล้วBlackberry (bb) ก็เข้ามาแทนที่ด้วยสิ่งที่สดกว่าในระยะสั้นๆBlackberry ก็ตายด้วยการมาของiPhone จวบจนทุกวันนี้ที่ช่วงนึงSamsung เข้ามาช่วงชิงตลาดแต่ก็ถูกHuawei ตีแซงจนได้ในปัจจุบัน

       ที่ผมยกตัวอย่างมาก็เพียงเพราะว่ามีหลายคนพูดโดยเฉพาะคนใหญ่คนโตว่าอยากยกระดับการศึกษาอยากให้การศึกษาไทยดีขึ้นทัดเทียมสิงคโปร์เอยฟินแลนด์เอยญี่ปุ่นเอยคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่ดูแลวางนโยบายแต่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการปฏิบัติ  ถ้าจะเคยน่าจะเป็นการลงพื้นที่ถ่ายรูปเปิดงาน/โครงการ/พิธีแล้วก็เดินถามจากเด็กๆหรือครูที่ถูกจัดมาว่าเป็นอย่างไร  จากนั้นเขาก็จะอุปโลกน์ว่าเข้าใจแล้วจากการลงพื้นที่กอปรการรายงานของผู้เชี่ยวชาญส่วนตัวที่ปรึกษาส่วนตัวหรือรายงานเอกสารว่าดังนั้นว่าดังนี้แล้วท่านก็เชื่อข้อมูลที่ว่านี้ปั้ดโธ่!!

     ไม่เปลี่ยน= แพ้ = สูญพันธุ์  อาจจะฟังดูแรงเกินไปนิด  แต่อะไรล่ะที่เราควรเปลี่ยนเพราะการศึกษาไทยก็เปลี่ยนรัฐมนตรีเปลี่ยนกฎหมาย  เปลี่ยนนโยบาย  เปลี่ยนคำเรียกอะไรต่างๆจนสุดท้ายถึงขั้นที่ว่าเปลี่ยนจนครบแล้วก็วนกลับมาที่เดิมแล้ว  สำหรับผมการเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของโรงเรียนคือเปลี่ยนผู้นำนั่นคือเปลี่ยนกระบวนการคิดของผู้อำนวยการโรงเรียนและคนที่อยู่สูงกว่านั้นขึ้นไป(บางท่านหรืออาจจะหลายๆท่าน) เหตุผลก็คือผอ.คือคนที่เป็นคนบังคับเรือจะไปหน้าถอยหลังเลี้ยวเข้าป่าแวะเข้าถ้ำรึลงเหวลงคลองก็คนนี้ถ้าระบบเหนือผอ.ขึ้นไปสั่งงานสะเปะสะปะผอ.ก็จะสามารถพิจารณาว่าอันไหนเหมาะสมทั้งกับนักเรียนครูและกับหน่วยงานที่อยู่สูงขึ้นไป  เพราะการจะเปลี่ยนอธิบดีเปลี่ยนเลขาธิการเปลี่ยนรมต.คงทำได้ยากยิ่งแต่เปลี่ยนผอ.โรงเรียนนี่แหละทำได้ง่ายกว่าและมีผลมากกว่าเหมือนคำพูดของอาจารย์ท่านนึงพูดเมื่อผมเข้าโรงเรียนผู้บริหารเมื่อ4 ปีที่แล้วว่า“ไม่มีผอ.ที่ยอดเยี่ยมในโรงเรียนที่แย่  และไม่มีผอ.ที่แย่ในโรงเรียนที่ยอดเยี่ยม”  คำกล่าวนี้คงสะท้อนบริบทที่ผมอ้างมาได้สมบูรณ์ที่สุดแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 661721เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2019 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2019 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท