เทคโนโลยีการสื่อสารกับการเมืองเรื่อง Cambridge Analytica


 

ดร.ปรเมศวร์ กุมารบุญ

Cyber criminologist

           

           จริงๆ แล้วข้อมูลทั้งหมดอยู่ที่ "อ้างอิง" ท้ายบทความครับทำ link ไว้ให้เรียบร้อย แต่หากใครเห็นว่าข้อมูลเยอะแยะมาก ผมก็ย่อยมาเป็นบทความนี้มาให้อ่านง่ายๆ ครับ

          สามก๊กนั้นผู้นำแข่งขันกันที่ “เลือกใช้กุนซือ” ในปี 2008 ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีชื่อเสียงเท่าใดในขณะลงสมัครรับเลือกตั้ง และทุกคนทราบดีว่า การใช้สื่อออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพนั้นส่งผลให้ บารัค โอบามา ชนะการเลือกตั้งถึงสองสมัย และเป็นประธานาธิบดีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงคนหนึ่งของสหรัฐ อเมริกา ทั้งนี้ก็เพราะเลือกกุนซือ Social media หนุ่มน้อยวัย 25 ปีนามว่า Joe Rospars

   Joe Rospars แม้จะอายุน้อย แต่ผลงานในปี 2008 เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งสมัยที่สองเมื่อปี 2012 เขาได้สร้างทีมงานที่ยิ่งใหญ่รองรับโลกยุคดิจิทัลสำหรับงานสื่อสารการเมืองบริหารผลงาน โอบามา ทางสื่อออนไลน์  ในทีมมีตั้งแต่ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักวิเคราะห์ข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญดิจิทัล แพลตฟอร์ม นักวิเคราะห์พฤติกรรม เป็นต้น

 

   แต่วิธีการสื่อสารการเมืองดิจิทัลของ โดนัล ทรัมป์ นั้น มีประสิทธิภาพกว่า บารัค โอบามา มาก เพราะ ทรัมป์ แตกต่างจาก โอบามา ตรงที่มีคนไม่ชอบจำนวนมากมาก่อน แต่ในที่สุดก็ชนะการเลือกตั้งจนได้ และถูกกล่าวขานถึงความไม่ชอบธรรมว่าทำการปล้นประชาธิปไตยของชาวอเมริกันไปด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้าเกินกว่าที่จะหาหลักฐานเอาผิดได้ เรื่องราวทั้งหมดเริ่มเปิดโปงโดย New York Times และ The Guardian ด้วยรายงานข่าวเชิงสืบสวน

เทคโนโลยีวิศวกรรมข้อมูลเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ได้

   โดนัลด์ ทรัมป์ ได้กุนซือนามว่า สตีฟ แบนนอน (Steve Bannon) วัย 65 ปี มาเป็นประธานยุทธศาสตร์ในการหาเสียง เขาเป็นอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท Cambridge Analytica ภายหลังได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แต่งตั้งเขาเป็น Chief Strategist ประจำประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ

 

Steve Bannon

 

บริษัท Cambridge Analytica หรือ CA คือบริษัทวิจัยข้อมูล ก่อตั้งที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ธุรกิจให้คำปรึกษากลยุทธ์การเมือง และการหาเสียงเลือกตั้ง  โดยมี บริษัท Strategic Communication Laboratories (SCL) เป็นบริษัทแม่

สตีฟ แบนนอน รู้ดีว่าเทคโนโลยีวิศวกรรมข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ อาทิเช่น การล่วงรู้ Algorithm ของ Facebook การรู้ข้อมูลเชิงจิตวิทยาส่วนบุคคลของผู้ใช้ Facebook ความรู้ด้าน Psychometrics และเทคโนโลยี Data analytic จะสามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ตั้งเป้าหมาย วางแผนการผลิต content จนสามารถทำให้มีผลกระตุ้น จูงใจ เปลี่ยนใจ โน้มน้าวเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและพฤติกรรมของคนอเมริกันให้ลงคะแนนเสียงกับ โดนัลด์ ทรัมป์ จนได้

ข้อมูลผู้ใช้ Facebook ที่ Cambridge Analytica นำมาวิเคราะห์จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวอเมริกันมากกว่า 230 ล้านคนซึ่งประกอบไปตั้งแต่ลักษณะบุคคล ความชอบ และสภาพแวดล้อมเป็นต้น มีจำนวนมากถึง 5,000 จุดข้อมูล (Data Point) และผู้ใช้ Facebook ชาวอเมริกันมีมากถึง 70% ของประชากร

เรื่องมันเกิดจาก Dr.Aleksandr Kogan อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้สร้าง Application ชื่อว่า “thisisyourdigitallife” โดยอ้างว่าเป็นเครื่องมือในการวิจัยสำหรับนักจิตวิทยาและมีค่าตอบแทนให้ผู้ที่เข้ามาตอบแบบสอบถาม App ดังกล่าวจะให้ผู้ใช้ล็อกอินผ่านบัญชี Facebook ของผู้ใช้ และเข้าถึงโปรไฟล์ของผู้ใช้ รวมถึงข้อมูลของเพื่อนผู้ใช้ด้วย โดยมีผู้ดาวน์โหลดมากถึง 270,000 ครั้ง และเมื่อเข้าถึงเพื่อนใน Facebook ของผู้ใช้ที่ล็อกอินเข้ามาได้ ก็รวมยอดได้ข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ Facebook นับห้าสิบล้านคน

Aleksandr Kogan

 

Kogan ขายข้อมูลผู้ใช้เหล่านั้นให้กับ Cambridge Analytica โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทาง Facebook ได้กล่าวว่าการที่ Kogan ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้กับ Cambridge Analytica โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้นั้น ถือเป็นการละเมิดกฎสำคัญของโซเชียลเน็ตเวิร์ค และผิดกฎหมาย

นักวิจัยชาวสวิสตีพิมพ์รายงานเรื่อง  “The Data That Turned the World Upside Down” อันประกอบด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบทางจิตวิทยาของ Cambridge Analytica ที่คณะหาเสียงของทรัมป์นำไปใช้ และงานวิจัยของนักจิตวิทยาชื่อ Michal Kosinski ซึ่งเป็นอาจารย์อยู่ที่ Swiss Federal Institute of Technology (ETH) เขาบรรยายถึงอันตรายของ Big Data and the digital revolution ซึ่งข้อมูลเพื่อการปฏิบัติการจิตวิทยาต่อผู้ใช้ Facebook ด้วย Psychometrics ในการสื่อสารการเมือง จะเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติ

Michal Kosinski



 

Michal Kosinski กล่าวว่าข้อมูลที่ Kogan ขายให้กับ Cambridge Analytica นั้นน่าจะเป็นข้อมูลจากการวิเคราะห์คนกดไลค์ (Like)

จำนวนคนที่กดไลค์ Content แบบไหน สามารถวิเคราะห์ลักษณะของคนๆ นั้นได้เลย เช่น วิเคราะห์ความถูกต้องสีผิว ว่าคนที่กดไลค์ content แบบนี้สีผิวอะไร แม่นยำถึง 95% วิเคราะห์ความถูกต้องว่าคนที่กดไลค์ content แบบนั้นเป็นเพศอะไร แม่นยำถึง 88% และวิเคราะห์ความถูกต้อง ว่าคนที่กดไลค์ content แบบไหนๆ ชอบ เดโมแครต หรือ รีพับลิกัน แม่นยำถึง 85%

Cambridge Analytica ระบุว่าข้อมูลลักษณะทางจิตวิทยาของผู้ใช้ Facebook ที่ทางบริษัทมี สามารถบ่งชี้ถึงตัวตนผู้มีสิทธิออกเสียงและบุคลิกลักษณะได้ “เราจะทราบได้ว่าข้อความแบบไหนที่จะทำให้พวกเขาประทับใจ พวกเขาจะพบเจอข้อความทำนองนี้จากที่ไหน และเราจะต้องย้ำข้อความประเภทนี้กับพวกเขากี่ครั้งจึงจะทำให้พวกเขาเปลี่ยนวิธีคิดได้

ในที่สุดก็ได้ผู้จ่ายเงินลงทุน 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ว่าจ้าง Cambridge Analytica ให้ทำงานให้ ทรัมป์ เขาคือ โรเบิร์ต เมอร์เซอร์ (Robert Mercer) เจ้าของสื่อขวาจัด Breitbart ซึ่ง สตีเฟน แบนนอน เป็นอดีตบรรณาธิการมาก่อน ซึ่งหนังสือพิมพ์การ์เดียนรายงานว่า Christopher Wylie ซึ่งเป็น data scientist ของ Cambridge Analytica เป็น Whistle blower ผู้ออกมาเปิดโปงบริษัทของเขาเองว่า Cambridge Analytica สร้างซอฟต์แวร์ที่สามารถ “ทำนาย” และ “สร้างอิทธิพลจูงใจ” ผู้ใช้ Facebook และขายเครื่องมือเหล่านี้ให้แก่ แบนนอน และ เมอร์เซอร์ เพื่อนำ “อาวุธ” นี้ไปต่อสู้ใน “สงครามวัฒนธรรม” และ สตีฟ แบนนอน เคยเป็นเจ้านายของเขามาก่อนนั่นเอง

Robert Mercer

Wylie ให้สัมภาษณ์เดอะการ์เดียน “จะมีการสร้างเว็บไซต์และบล็อก หรืออะไรก็ตามที่เราคิดว่าสามารถสื่อไปถึงโพรไฟล์ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อให้เห็น คลิกเข้าไปอ่าน จนกระทั่งคล้อยตาม และเริ่มมีมุมมองต่างไปจากเดิม เป้าหมายทั้งหลายทั้งปวงคือเพื่อสลายสังคมเสียก่อน เมื่อสลายสังคมได้แล้ว ก็สามารถนำชิ้นส่วนต่างๆ มาต่อเข้ากันใหม่เพื่อให้เป็นสังคมในแบบที่คาดหวังไว้

สิ่งที่เขาล่วงรู้ความในใจกลุ่มเป้าหมายอยากได้ยินก็เช่น ความกังวลที่สุดของคนอเมริกันนั่นก็คือการก่อการร้าย "Make American great again" แตกต่างจาก ฮิลรารี่ ที่เป็นตัวแทนในยุคของ โอบามา ที่ความสงบกลับมาด้วยความเป็นคนสุภาพอ่อนน้อมยื่นมือเข้าหาเสรีภาพ ส่วนอีกเรื่องก็ผู้ลี้ภัยที่เขาใช้มาเป็นประเด็นหลักด้วยกำแพงกั้นเม็กซิโก เป็นต้น

Christopher Wylie ซึ่งเป็น data scientist ของ Cambridge Analytica

จากคลิปวิดีโอที่นักข่าว The Guardian แอบบันทึกตอนปลอมตัวไปพบ Alexander Nix, CEO ของ Cambridge Analytica โดยอ้างว่าเป็นนักธุรกิจจากศรีลังกาที่ต้องการจะให้ช่วยส่งเสริมนักการเมืองในการเลือกตั้งที่กำลังจะถึงและในการสนทนานาย Alexander Nix, CEO ของ Cambridge Analytica ก็เผยรายละเอียดว่าบริษัทเขาช่วยให้ โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งอย่างไร และยกตัวอย่างกิจกรรมที่ดิสเครดิตคู่แข่ง นางฮิลลารี คลินตัน ด้วยการสร้างข่าวปลอม (Fake news) เช่น สร้างสถานการณ์ทำให้ดูเหมือนติดสินบน หรือยุ่งเกี่ยวกับโสเภณี สารพัดโฆษณาข้อความป้ายสีนางฮิลลารี คลินตัน ไปทั่วโลกออนไลน์ ให้ผู้ใช้ Facebook เปลี่ยนมาสนใจ ทรัมป์ แทน

Alexander Nix, CEO ของ Cambridge Analytica

Data Analytic ภัยคุกคามระบอบประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงให้

18 เมษายน 2561 Ralph Jennings ได้เปิดเผยบทความ Heavy Facebook Use Exposed Southeast Asia to Breaches of Personal Data ความว่าก่อนการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ประเทศฟิลิปินส์ถูกใช้เป็นสนามทดลองผลการเลือกตั้งของ Cambridge Analytica ชาวฟิลิปปินส์ราว 1,175,000 คน ถูกดึงข้อมูลส่วนตัวไปใช้อย่างไม่เหมาะสม อีกทั้งชาวอินโดนีเซียอีกราว 1,100,000 คน และเวียดนามราว 427,000 คน และเชื่อว่าผู้ใช้ Facebook ทั่วโลกจำนวน 87 ล้านคน ถูกดึงข้อมูลส่วนตัวไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

31 มีนาคม 2561 บางกอกโพสต์ได้เผยแพร่บทความเรื่อง Cambridge Analytica parent 'active in Thailand before 2001' ความว่าในประเทศไทยมีการใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับ Cambridge Analytica เพื่อประโยชน์ทางการเมืองมานานแล้วตั้งแต่ปี 2544

SCL บริษัทแม่ของ Cambridge Analytica อ้างว่า พวกเขาทำงานการเลือกตั้งมากกว่า 100 campaigns ใน 32 ประเทศ

สำหรับประเทศไทย

                    ต้นทุนการโฆษณาเมื่อก่อนเรียกว่า Cost per view หรือ Cost per million (CPM) ต้นทุนต่อวิวที่คนเห็นล้านคน กล่าวคือ ประมาณหัวละ 10 บาทในการได้เห็นสื่อโฆษณา การเปลี่ยนความเชื่อหรือเชื่อในสินค้าเขาเรียกว่า "บ่อยแค่ไหน" (Repeat) ต้องเห็นโฆษณาบ่อยแค่ไหนจนเปลี่ยนใจมาซื้อ การคำนวนต้นทุนก็จะเพิ่มขึ้น

                         ประชาธิปไตยนั้นต้องให้ข้อมูลและความรู้แก่ประชาชนอย่างเพียงพอก่อนตัดสินใจเลือก แต่การโน้มน้าวจิตใจหรือการใช้โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) หรือการปฏิบัติการจิตวิทยาบนสื่ออินเทอร์เน็ต (Psychological on cyber) เป็นสิ่งที่ผิดโดยสามัญสำนึกหากเราพิจารณาด้วยตัวเอง 

                       คอมมิวนิสต์ นั้นเก่งในการกุเรื่องเศรษฐกิจรากหญ้า เพราะคนจนและแรงงานคือฐานเสียงใหญ่ พวกเขาจะทำให้ฐานะดีขึ้นจากการล้มชัั้นแล้วเอาเงินมาแบ่งปันกัน แต่เขาจะไม่สอนให้มีความรู้ทั้งที่ความรู้ต่างหากคือการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาประเทศ

                        เดิมที คอมมิวนิสต์ เข้ามาปฏิบัติการจิตวิทยาชุมชนด้วยการ โน้มน้าวให้เหตุผลข้อดีของพวกเขา ข้อเสียของรัฐเรา ซ้ำๆๆ (Repeat to believe) จนเปลี่ยนความเชื่อเปลี่ยนทัศนคติประชาชน สิ่งที่เขาต้องทำอันดับแรกก็คือ ล้มสถาบัน เพราะไม่มี คอมมิวนิสต์ ที่มีสถาบันชั้นสูง จากนั้นสร้างความแตกแยกระหว่างชนชั้นทำให้ประเทศอ่อนแอ แล้วเข้าแทรกแซง แต่ด้วยประเทศเรามีความเหนียวแน่นกับสถาบันชั้นสูงเราจึงไม่พ่าย คอมมิวนิสต์ ง่ายๆ
 
                    แต่ อัลกอริธึม ของ Social media เป็นเครื่องมือใหม่แห่งยุคสมัยของ คอมมิวนิสต์ ซึ่งรัฐบาลไม่มีทางตามทัน และคนที่ทำงานการข่าวต่างเห็นประจักษ์ชัดว่า คนไทยเราเลือก คอมมิวนิสต์ เข้าไปเป็น สส. ในสภาได้จากการใช้ Social Media และเม็ดเงินมหาศาล Repeat to Vote จะว่าไปแล้วก็แปลกเรื่องปฏิบัติการจิตวิทยาบนสื่ออินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องใหญ่ของชาติ แต่เรากลับไม่เคยมีผู้นำประเทศคนใดเข้าถึงและสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนเมื่อเผชิญเรื่องดังกล่าวว่าจะรับมืออย่างไร

                     ปฏิบัติการจิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันว่าเราเปลี่ยนทัศนคติความเชื่อคนจนมาลงคะแนนให้เราได้ด้วย Content หากเพียงแต่ยากเกินที่วิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศเห็นว่าเป็นภัยคุกคามที่เป็นอันตรายควรแก่การกำหนดกฎหมายเป็นโทษอาญา แต่ปัจจุบันเป็นช่องว่างทางกฎหมายที่ทำได้ไม่ผิดอาญา การกระทำใดมีโทษอาญา การกระทำนั้นคือการก่ออาชญากรรม (No crime without punishment; No punishment without law)
 

             เจตนารมณ์กฎหมายห้ามไม่ให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถือครองหุ้นสื่อและหนังสือพิมพ์ นั้นก็เพื่อห้ามผู้ที่มีเงินมากกว่าใช้ประโยชน์จากสื่อในการสื่อสารการเมือง แต่เรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารปัจจุบันแทบจะไม่มีการปิดกั้นความเท่าเทียมในเรื่องการใช้ทุนได้ หรือไม่ก็ยากที่จะสกัดกั้น หรือไม่ก็ห้ามไม่ได้อีกต่อไป เพราะนับวัน Tactics ในการใช้สื่อออนไลน์หลากหลายมากมายจนตามไม่ไหว ผู้ที่มีเงินมากกว่าย่อมได้เปรียบไปโดยที่กฎหมายตามไม่ทัน

 

 

อ้างอิง

  • - How Trump won | DW Documentary

(https://www.youtube.com/watch?v=fdClC7E8QHE )

  • - Cambridge Analytica: Whistleblower reveals data grab of 50 million Facebook profiles (https://www.youtube.com/watch?v=zb6-xz-geH4 )
  • - How Cambridge Analytica manipulated US election through 50 million Facebook users | Explanation

(https://www.youtube.com/watch?v=ynVfOdvAtqU )

  • - ‘I made Steve Bannon’s psychological warfare tool’: meet the data war whistleblower

https://www.theguardian.com/news/2018/mar/17/data-war-whistleblower-christopher-wylie-faceook-nix-bannon-trump

  • - เปิดความลับ ‘Cambridge Analytica’ วิธีใช้ข้อมูลเฟซบุ๊กเปลี่ยนความคิดคน

https://money2know.com/%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%81-3/

https://publicpolicy.stanford.edu/news/data-turned-world-upside-down

  • - กรณี ‘เคมบริดจ์ อนาไลติกา’ อีกบทเรียนของผู้ใช้ ‘เฟซบุ๊ก’

https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_889746

  • - เฟซบุ๊กรั่ว

http://www.marutbunnag.com/article/484/

  • - Robert Mercer: the big data billionaire waging war on mainstream media

https://www.theguardian.com/politics/2017/feb/26/robert-mercer-breitbart-war-on-media-steve-bannon-donald-trump-nigel-farage

  • - What Role Did Technology Play In The 2016 Election?

https://www.forbes.com/sites/quora/2017/10/27/what-role-did-technology-play-in-the-2016-election/#6fdfb5952cfa

  • - Heavy Facebook Use Exposed Southeast Asia to Breaches of Personal Data

https://www.voanews.com/a/facebook-data-breach/4340056.html

หมายเลขบันทึก: 661719เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2019 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2021 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท