ชีวิตที่พอเพียง : 3431. โตเกียว ๒๕๖๒ : 9. ฉลาดซื้อบริการสุขภาพ



ในการประชุม  มีเอกสาร Parallel Session 4  Subtheme 2 : Institutional capacity and governance for strategic purchasing  - a leverage for UHC   ทำให้ผมนึกถึงชื่อบันทึกนี้  

ที่จริงนี่คือเรื่องระบบการเงินเพื่อ UHC  ที่มองอีกมุมหนึ่ง    คือมุมของนักเศรษฐศาสตร์    มองว่ารัฐต้องใช้เงินซื้อบริการสุขภาพให้แก่ประชาชนอย่างชาญฉลาด    เงินที่จ่ายไปต้องได้รับประโยชน์คุ้มค่า    นี่คือที่มาของวิชาการด้าน HITA – Health Intervention and Technology Assessment    ซึ่งถ้าไม่ระวัง  บริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีด้านการบำบัดรักษาใหม่ๆ ราคาแพงจะหาวิธีกดดันให้ประชาชนเรียกร้องให้รัฐต้องจ่ายเงินซื้อเทคโนโลยี ตามที่บริษัทตั้งราคา     โดยอ้างว่าเป็นยาที่จะช่วยยื้อชีวิต    ประเทศไทยมีประสบการณ์ในการต่อรองกับบริษัทยาข้ามชาติเหล่านั้น    ที่เมื่อเราเสนอผลวิจัย HITA ว่าราคาที่บริษัทตั้ง สมมติว่าฉีดครั้งละ ๑๐,๐๐๐ บาท ไม่คุ้มกับผลลัพธ์ที่ได้    ราคาที่คุ้มค่าคือ ๑,๐๐๐ บาท    บริษัทยอมลดราคาให้ทันที เพื่อให้ได้เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ   

เรื่องฉลาดซื้อนี้ ก็เหมือนกับทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพ    มีความซับซ้อนหลายแง่หลายมุม    รัฐจ่ายเงินเพื่อจัดระบบ P&P ให้แก่ประชาชน    จะช่วยให้การเกิดความเจ็บป่วยลดลง    เท่ากับการลงทุน P&P จะช่วยให้รัฐประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพในภาพรวม    

ข้อความในย่อหน้าบน ต้องการ evidence เชิงประจักษ์    ผมจึงยุให้ สสส. ว่าจ้าง IHPP ให้ทำวิจัยหาหลักฐานดังกล่าว     โดยหาทางร่วมมือกับ ญี่ปุ่น  และอีกประเทศหนึ่งที่รายได้ต่ำกว่าไทย และมีการลงทุน P&P อย่างเป็นระบบเช่นเดียวกัน    หลักฐานที่ต้องการสองอย่างคือ ความเจ็บป่วยลดลง  และค่าใช้จ่ายลดลง   เชื่อมโยงกับการลงทุนและดำเนินการ P&P

วิจารณ์ พานิช

๖ เม.ย. ๖๒

หมายเลขบันทึก: 661642เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2019 19:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2019 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท