เก็บตกการพิจารณารางวัลช่อราชพฤกษ์ (เสียงจากนิสิต)


“รางวัลช่อราชพฤกษ์” คือรางวัลสูงสุดของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น “นักกิจกรรม” ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยประเภทองค์กรนั้น เราดูเป็นรายปีการศึกษา ส่วนบุคคลเราพิจารณาเฉพาะนิสิตในชั้นปีสุดท้ายที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา – เรียกได้ว่าสะสมความดี สะสมผลงานตลอดการเป็นนิสิตแล้วมานำเสนอ

ระยะหลังๆ เมื่อมีโอกาสเป็นกรรมการสัมภาษณ์นิสิต ทั้งเรื่องทุนการศึกษา  หรือการเชิดชูเกียรติ  สิ่งที่ผมจะยึดปฏิบัติก็คือตั้งคำถามแต่ละกลุ่มแบบไม่ซ้ำกัน  เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้นิสิตออกจากห้องแล้วไปแชร์กับเพื่อนๆ

เช่นเดียวกับการพยายามบันทึกข้อมูลอันเป็น “ปากคำ”ของนิสิตมาสื่อสารตามกาละอันสมควร  เพราะเชื่อ (เอง) ว่า  ปากคำที่ว่านั้นย่อมมีประโยชน์บ้างล่ะ  ถึงจะไม่มากมาย แต่ก็ต้องมีบ้างล่ะ นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อ


ล่าสุด – ในเวทีการพิจารณาคัดเลือกนิสิตและองค์กรนิสิตเนื่องใน “รางวัลช่อราพฤกษ์”  ผมก็ยังคงยึดปฏิบัติในทำนองนั้น  เพียงแต่คราวนี้ทั้งผมและกรรมการท่านอื่นๆ ได้ช่วยกันซักถามในหลากประเด็น  แต่ที่ผมจะหยิบยกมานี้  เป็นปากคำที่มาจากคำถามเชิงการเรียนรู้มากกว่าการตอบคำถามเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลแห่งการเชิดชู   เป็นต้นว่า

อะไรคือแบบอย่างที่ดีในตัวคุณที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมที่สามารถสอนคนอื่นในองค์กรได้บ้าง

  • ความเสียสละ อดทน  รับผิดชอบต่อหน้าที่
  • การทำงานแบบพี่แบบน้อง  การทำงานในแนวราบ   ยืดหยุ่น และเป็นกันเอง
  • การแบ่งงานต่อสมาชิกบนฐานของความสามารถ ความถนัด และความสนใจของสมาชิก
  • การแบ่งเวลาที่สมดุลระหว่างการเรียนกับกิจกรรม
  • การจัดการขยะหลังเสร็จสิ้นกิจกรรม
  • การประเมินผล AAR แบบมีส่วนร่วมกับคณะทำงาน
  • การลำดับความสำคัญของงาน


ดร.มลฤดี  เชาวรัตน์ (รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานิสิต) : ประธานกรรมการฯ


อะไรคือ Soft skills ที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมนอกหลักสูตร

  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  • การวางแผน  การออกแบบ
  • การเป็นทีม  การทำงานแบบมีส่วนร่วม
  • การสื่อสารเชิงสร้างสรรค์
  • การใช้เทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์

อะไรคือจุดเด่นของตนเองที่ค้นพบในขณะทำกิจกรรม

  • จิตอาสา  ทุ่มเท  อดทน  ไม่ย่อท้อ
  • มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  • การวางแผนที่เป็นระบบ  เป็นแผนที่ปฏิบัติจริงได้
  • มีความยืดหยุ่นตามสถานการณ์
  • กล้าตัดสินใจ
  • แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • การมีเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก


อะไรคือจุดอ่อนของตนเองที่ค้นพบจากการทำกิจกรรม  หรืออะไรที่อยากให้หนุนเสริมทั้งต่อตัวเองและรุ่นน้องที่จะเข้ามาทำกิจกรรม

  • การไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
  • การสื่อสาร  (ไม่ขวานผ่าซาก)
  • ใจร้อน หงุดหงิดง่าย
  • ไม่กล้าได้กล้าเสีย
  • ใจอ่อน  อะลุ่มอล่วยจนเกินไป 

อะไรคืองานสร้างสรรค์ หรือสิ่งที่คุณได้ริเริ่มในขณะทำกิจกรรม

  • การยกระดับกิจกรรมภายในออกสู่สังคมด้วยการบริการสังคม
  • การจัดกิจกรรมบนฐานวัฒนธรรมของอีสาน
  • การใช้ไอทีมาเกื้อหนุนกิจกรรม เช่น  การประชาสัมพันธ์  การสืบค้นข้อมูล  การรวบรวมข้อมูล  การผลิตสื่อ
  • การจัดกิจกรรมที่เหมาะกับช่วงวัย  และความต้องการผู้รับ
  • การเรียนรู้เรื่องประชาคมอาเซียน
  • การพยายามแก้ปัญหาเรื่องขยะ การจราจร



นี่เป็นประเด็นที่นิสิตได้บอกเล่าในเวทีของการเข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลช่อราชพฤกษ์ ประจำปีการศึกษา 2562  ซึ่งมีทั้งประเภทองค์กร และบุคคล

ผมขออนุญาตที่จะไม่ประมวลวิเคราะห์ สังเคราะห์อะไรต่อสิ่งที่นิสิตได้สะท้อนออกมา  ว่าแท้จริงแล้วตอบตรงคำถามหรือไม่  หรือสิ่งที่สื่อมานั้นมีความหมายเช่นใด  รวมถึงสัมพันธ์กับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยได้ปักหมุดไว้แค่ไหน  รวมถึงสัมพันธ์กับทิศทางการผลิตบัณฑิตของสังคมไทย หรือไม่

แต่อยากจะบอกว่า “รางวัลช่อราชพฤกษ์”  คือรางวัลสูงสุดของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น  “นักกิจกรรม”  ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  โดยประเภทองค์กรนั้น  เราดูเป็นรายปีการศึกษา  ส่วนบุคคลเราพิจารณาเฉพาะนิสิตในชั้นปีสุดท้ายที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา – เรียกได้ว่าสะสมความดี สะสมผลงานตลอดการเป็นนิสิตแล้วมานำเสนอ ....

รางวัลนี้จะมอบให้กับนิสิตในวันที่ 27 เมษายน 2562  ในเวทีวันกิจกรรมพัฒนานิสิต และวันขอบคุณนักกิจกรรม

และนี่ก็ใกล้จะถึงวันเข้าให้แล้ว....

ภาพ  : กลุ่มงานกิจกรรมนิสิต / งานประชาสัมพันธ์และสารสนเทศนิสิต

หมายเลขบันทึก: 661200เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2019 00:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2019 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยินดีกับนักกิจกรรมที่จะได้รางวัลนะคะ

ยินดีกับนิสิตทุกคนที่ได้ให้ “ปากคำ” นะคะ

สะท้อนความเชื่อ. Mindset เพื่อสังคมที่ดีขึ้น. … น้อง ๆ องค์กรที่ได้รางวัล มีแง่มุมที่โดดเด่นให้รุ่นน้องได้เรียนรู้

บันทึกสร้างคนต่อยอดไปอีกเช่นเคยนะคะ อ.แผ่นดิน

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท