สมอง นักทำนาย



ผมค่อยๆ ละเลียดหนังสือ How Emotions Are Made : The Secret Life of the Brain (1)    ถึงบทที่  4 The Origin of Feeling    ที่อธิบายกลไกทางสมอง    บอกว่าสมองมีกลไกทำงานไม่หยุด “Intrinsic brain activity is millions and millions of nonstop predictions.”    ซึ่งหมายความว่า สมองตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา (แม้ขณะหลับ?)     

กลไกดังกล่าวเรียกว่า interoception    รับรู้สถานการณ์ภายในร่างกายของตนเอง    ซึ่งอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายกำลังทำงานตามหน้าที่ของตัวอย่างขะมักเขม้น    และแต่ละส่วนของร่างกายส่งสัญญาณข้อมูลไปยังสมอง แบบ real time อยู่ ตลอดเวลา    ในภาษาวิชาการเรียกว่า intrinsic brain activity    ที่ทำงานแบบไม่มีเวลาพัก ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย    ผ่านการทำงานของเครือข่ายเซลล์สมอง ที่เรียกว่า intrinsic networks    โปรดสังเกตว่า คำ networks มีตัว s อยู่ด้วย    คือมีหลาย network เชื่อมต่อกัน  ทำงานแบบประสานร่วมมือก

intrinsic brain activity คือที่มาของความฝัน  ฝันกลางวัน  จินตนาการ  ใจลอย  และ reveries (เปิดดิกหาคำแปลของ reveries ได้คำแปลว่า ฝันกลางวัน   เลยไม่รู้ว่าต่างจากคำว่า daydream ที่มีอยู่แล้วอย่างไร    สงสัยอาจจะตรงกับคำว่า “มโน” ในภาษาไทยยุคใหม่    สมัยผมเป็นเด็ก อยู่ที่บ้านนอก ผู้ใหญ่จะพูดกันว่า เด็กคนนั้นคนนี้ “ตอแหล”   คือกุเรื่องขึ้นเองเป็นตุเป็นตะ   น่าจะเกี่ยวกับ intrinsic brain activity นี้) 

intrinsic brain activity ยังทำหน้าที่เป็นบ่อเกิดของการรับรู้ทั้งรับรู้ผัสสะจากภายนอก และผัสสะจากภายใน (interoception)     เป็นพื้นฐานของความรู้สึก พอใจ  ไม่พอใจ  สงบ  หรือกระวนกระวาย 

สมองสั่งสมประสบการณ์ไว้    และใช้ intrinsic brain activity ประกอบกับประสบการณ์เดิม ในการทำนายว่ากำลังจะเผชิญเหตุการณ์อะไรในอนาคตอันใกล้    เป็นการทำนายนับล้านล้านชุดในเวลาอันสั้น    เป็นการทำนายแบบต่อเนื่องไม่มีการหยุดพัก    และไม่ใช่แค่ทำนาย ยังอธิบายความหมายของสภาพที่กำลังเผชิญด้วย   

หากการทำนายถูกต้องครบถ้วน  ข้อมูลจากผัสสะภายนอกก็ไม่ต้องเดินทางต่อไปยังส่วนอื่นๆ ของสมอง    ช่วยให้สมองประหยัดพลังงาน   

สมองมนุษย์จึงเป็น predictive brain   ไม่ใช่ reactive brain    การทำนายเตรียมพร้อมเคลื่อนไหว ช่วยให้บรรพบุรุษไกลโพ้นของเราเผ่นอ้าวทันทีที่กลไกภายในระบบประสาทบอกว่าอาจมีภัย    ก่อนที่สมองส่วน cerebral cortex จะบอกว่า เสือ   

ความเป็นสมองนักทำนาย นอกจากช่วยประหยัดพลังงานแล้ว ยังช่วยให้รอดชีวิตจากภัยร้ายด้วย

แต่การทำนายนี้ ไม่ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไปนะครับ    หลายครั้งทำนายผิด   เราก็เก็บเป็นข้อมูลสั่งสมไว้ ทั้งที่ทำนายถูก และที่ทำนายผิด    พัฒนาเป็น โมเดลความคิด (mental model)   หรือกระบวนทัศน์ เกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือเรื่องต่างๆ     

โปรดสังเกตนะครับ ว่าสมองเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา    มี learning loop นับล้านล้าน loop ในแต่ละชั่วขณะ   ที่เริ่มด้วย intrinsic brain activity  ยืนยันว่าทำนายถูกหรือผิดด้วยผัสสะจากโลกภายนอก    เป็นข้อมูลนำไปแก้ไขปรับปรุง intrinsic brain activity

สมองมนุษย์ไม่ใช่แค่มีความสามารถทำนายอนาคต  แต่ยังสามารถจินตนาการอนาคตได้ด้วย 

วิจารณ์ พานิช

๒๙ มี.ค. ๖๒

ห้อง ๗๐๘  อาคาร ๘๔ ปี ชั้น ๗ ฝั่งตะวันออก   โรงพยาบาลศิริราช

หมายเลขบันทึก: 661074เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2019 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2019 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท