TMI2006-เวชสารสนเทศ (3)-1 โรงพยาบาลเฟรนไชส์


สาเหตุความล้มเหลวของสารสนเทศในโรงพยาบาล-วันนี้แน่นกว่าเมื่อวานนนน

ตามหัวข้อ นี่คือบทสรุปจากการเข้าฟังครับ คือ เรื่องวันนี้เนื้อหาเหมือนไม่มีอะไรมากมายแต่มีประเด็นถกเถียงกันเผ็ดร้อนมาก จนไม่มีใครละสายตาระหว่างคนถามกับวิทยากรที่เหมือนโดนรุม ก่อนจะไปถึงนั้นขอเริ่มจากหัวข้อ 108 สาเหตุที่ทำให้สารสนเทศ(ไอที)โรงพยาบาลล้มเหลวโดย นพ.ถาวร สกุลพานิชย์ท่านบรรยายโดยขอตินิดครับ ใช้ศัพท์เทคนิคเยอะพอควรจนผมจดไม่ค่อยออกแต่โยรวมถือว่าดีมากครับ ท่าจัดเรียงสาเหตุเป็นระบบแล้วมาดูว่าในระบบอาจจะผิดพลาดได้จุดไหนบ้างจาก 4 ขั้นหลักนี้

1.วางแผน

 
2.ทดลองพัฒนา  3.ดำเนินการ  4.ดูแลระบบ 
1 เท่า 10 เท่า 100 เท่า 1,000 เท่า

 แผนผัง ความเสียหายที่เกิดเมื่อดำเนินผ่านไปขั้นนั้นแล้วอึ้งไม๊ครับขั้นสุดท้าย 1000 เท่า

ผมอึ้งครับท่านอธิบายว่า เมื่อดำเนินการถึงขั้นสุดท้ายแล้วคนดูแลไม่อยู่ อาจเพราะถูกซื้อตัวหรือย้ายไปสาเหตุอันใดก็ตาม แล้วคนรับช่วงไม่มีข้อมูลเก่า หากเกิดปัญหาขึ้นมาเหมือน สายไฟใต้ดินขาดแล้วเราไม่มีแปลน ช่างอาจต้องรื้อทั้งพื้นเพื่อหาสายไฟครับ กลายเป็นการรื้อที่อาจต้องรื้อทั้งระบบ วางแผนใหม่ เทรนคนใหม่ วางระบบใหม่ เสียเวลาทดลองใหม่ เยอะแยะมาก ดังนั้นถ้าจะให้ดีสุดให้พยายามคิดให้รอบคอบก่อนตั้งแต่ขั้นวางแผนว่า บริษัทเขาจะสามารถดูแลเราได้ถึงไหน ไม่ใช่เอาแต่ถูกๆ (เจ็บครับ) 

 ต่อมาท่านกล่าวถึงสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ล้มเหลว คือ วัฒนธรรมองค์กรครับคือ คนไทย(ไม่อยากใช้คำนี้เลย) เป็นคนขี้เกรงใจ เวลาเขาทำโปรแกรมมาให้ก็เซ็นต์ยอมรับไปจะได้เสร็จๆ ไม่ตรวจทดลองให้ชัดก่อน บริษัทเขาทำเสร็จก็เผ่นแน่บ แล้วมามีปัญหาทีหลังเรื่อย นอกจากนี้ยังขี้เกียจจด ขี้เกียจจำ เวลาใช้โปรแกรมเลยค่อยๆ ศึกษาเอง (มั่ว) ไปตายเอาดาบหน้า.....
มิหนำซ้ำ บางทีเราฟังเขาพูด(มีปัญหานะ)ไม่พูด ไม่เถียง แต่ออกนอกห้องนินทา+ไม่ทำตามที่บอก....

ส่วนสาเหตุรองมาคือการออกแบบไม่เหมาะสม, การตัดสินใจเป็นของผู้บริหารส่วนเดียวไม่มีให้ผู้ให้บริการมีส่วนร่วม,การเปลี่ยนแปลงการทำงานบ่อยๆ และอื่นๆ  

ตอนจบปิดเรื่องด้วยคำถามที่หลายคนรอ เริ่มจาก
คำถามแรก
ถามว่า "ทำไมฝ่ายรัฐจึงออกโปรแกรมแต่ละหน่วยงานมาให้รพ.ทำงานซ้ำๆ กัน แต่ดันใช้คนละโปรแกรม ทำให้คนทำงานเหนื่อยต้องมาทำเรื่องเดียวกันแต่ต้องใช้หลายๆ โปรแกรม (ต้องจำหลายวิธีใช้,หลายรหัสที่ออกมาไม่เหมือนกัน,เวลามีปัญหาก็ยุ่งตามใครมาแก้ลำบาก) น่าจะมีโปรแกรมแบบเดียวแล้วจำแนกแจกจ่ายไปให้ทุกแห่งใช้ซึ่งน่าจะต่อรองราคาได้อีกมาก"

วิทยากร
..ต้องกล่าวถึงแต่ละหน่วยงานก่อนนะครับ คือแต่ละหน่วยเขามีซอฟแวต์ของเขาอยู่แล้ว+มีเครื่องเซอเวอร์ของเขาแล้ว+เขาพัฒนามาไกลแล้ว การที่จะให้หน่วยงานไปรื้อมาเริ่มของใหม่เป็นไปไม่ได้ครับ
เพราะตามที่ผมเสนอไปค่าเสียหายมันเป็น 1,000 เท่าเพื่อการเริ่มใหม่
อีกอย่างครับ การที่จะให้แต่ละรพ.ใช้ซอฟแวต์เหมือนกันเป็นปัญหาที่ล้มแล้วล้มอีกครับ ที่รัฐเคยนำร่องไปหลายโครงการ ทั้ง 3 รพ.,10 รพ. ทีละน้อยก็ล้มมาแล้วเพราะอะไรเหรอครับ

เพราะแต่ละรพ.ไม่มีการปรับเข้าหาซอฟแวต์ไงครับ คือให้บริษัทเขียนเข้ากับการทำงานของตัวเองอย่างเดียว ทีนี้บริษัทส่งคำต้องการ 10 รพ.ต้องการ 10 แบบ เขาก็พัฒนาให้ไม่ไหวครับ ต้องจ้างโปรแกรมเมอร์แต่ละรพ.กันอีกต่างหาก ทีนี้ไปๆ มาๆ ค่าใช้จ่ายบานปลาย รพ.ก็จ่ายค่าดูแลไม่ไหว บริษัทก็ยกเลิกสัญญา รพ.ก็เคว้ง ต้องมาเริ่มใหม่หมด....(น่ากลัวว่า รพ.เราจะเป็นแบบนี้จัง)

แต่ท่านก็เข้าใจครับเพราะแต่ละรพ. มีคน,อุปกรณ์,คนใช้บริการต่างกันทั้งจำนวนและคุณภาพ เลยทำให้ขั้นตอนการทำงานต่างกันไปด้วย จะทำเหมือนธนาคาร หรือ7-11 ที่เป็นเฟรนไชต์ไม่ได้ ท่านจบแบบให้คิดครับว่า รพ.จะปรับคนเข้าหาซอฟแวต์บ้างได้ไหม คำตอบน่าจะอยู่ที่การบริหารบุคลากรมากกว่า เพราะท่านเจอมามากว่า คนทำงานต้องการยังงั้นอย่างงี้แล้วพอทำออกมาสักพักก็บอกว่าไม่ได้เรื่องไม่เอา...พอจบปั๊บมีท่านอื่นถามต่ออีกพอสมควรครับ แต่เกี่ยวกับนโยบายรัฐก็ไม่ขอพูดครับเพราะมันไกลตัว

จบครับสำหรับตอนแรก ของ 4 ห้องในวันนี้
ซึ่งเป็นห้องที่ผมว่าเนื้อหาเหมือนน้อยที่สุดแล้วนะครับ
 

สรุปครับ ท่านให้กำลังใจพวกเราครับว่าขนาดประเทศพัฒนาแล้วยังล้มเหลวได้มากถึง 85% แล้วประเทศกำลังพัฒนาแบบเราล้มเหลวถือว่าเป็นเรื่องปกติ อย่าซีเรียส...(ให้กำลังใจป่าวเนี่ย) 

บันทึกด้วยความเร่งรีบก่อนไปเข้าเวรด้วยเวลา 20 นาที 

 

หมายเลขบันทึก: 66096เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านๆ แล้วก็นึกย้อนอดีตไปถึงตอนที่รพ.เรายังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ ดูจะสงบสุขกว่านี้นะ 

แวะมาทักทายและให้กำลังให้สู้ต่อไปครับ คนดีกว่าคอมฯครับ
เห็นด้วยกับ คุณขจิต ว่า "คนดีกว่าคอมฯ" ค่ะ  อย่าท้อแท้นะคะ

ขอบคุณทุกท่านครับที่มาให้กำลังใจ

  • ขอยืนยันครับว่า "ไม่ได้ท้อครับ"
  • ที่ผมเขียนมันดูท้อแท้ อาจเพราะผมถอดจากบรรยากาศตรงนั้นมากไปหน่อยครับ คือ อินกับพวกพี่ๆ และอาจารย์ที่เข้าไปถกตรงนั้น
  • ผมถือว่าเป็นโชคดีที่ได้มุมมองที่กว้างขึ้นครับ โดยเฉพาะ ความรู้จาก อ.ถาวร ครับเพราะท่านมีประสพการณ์พบเจอโครงการที่ล้มเหลวมาเยอะ ทำให้ได้รับรู้เห็นสาเหตุสิ่งที่ทำให้ล้มเหลวมามากจนรวมเป็นความรู้ถ่ายทอดให้ทุกท่าน
  • ความรู้จากท่านทำให้ผมได้คิดว่า "ต้องเตรียมพร้อมก่อนที่คิดจะทำอะไรต่อไป" เพราะถ้าล้มขั้นวางแผนจะเสียหายน้อยที่สุด (ต้องรีบหาจุดบอดให้เจอก่อนที่จะลงมือทำครับ)

ไชโย...ไชโย...ไชโย......ดีใจค่ะที่ทราบว่า "ไม่ได้ท้อครับ"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท