ฌาณ คืออะไร ทำไมหลายคนฝึกวิปัสสนา


ถามกันมาเยอะเรื่องฌาน

ตอบได้แต่ไม่รู้จะเข้าใจกันได้หรือเปล่า

ฌาน เป็นเรื่องของความรู้ สติ ปัญญา ระดับสูง

เป็นภาวนามยปัญญา และเป็น "ปัต

จัตตัง เวทิตัพโพ" รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น

ฌาน คือการฝึกฝนอบรมขัดเกลาจิตให้สงบ

มีสองแบบ แบบแรกเกิดฌานตอนทำสมาธิ

จิตสงบนิ่งอยู่กับสิ่งเดียว อารมณ์เดียว เช่น จิตรู้ลมหายใจเมื่อทำสมาธิ

ฌานแบบที่สอง จิตผ่านการฝึกฝนมาพอสมควร จึงนิ่งสงบอยู่ในอารมณ์เดียวตลอดเวลาหรือเกือบตลอดเวลา

ผู้มีฌาน ก็คือผู้มีสติอันดีเยี่ยม อันเกิดจากความสงบนิ่งของจิต อย่างเช่น ท่านผู้อ่านได้ไปวัดทำบุญ แล้วรู้สึกสงบ ความคิดความอ่านดีขึ้น สมองโล่งขึ้น เห็นผิดเห็นถูกชัดเจนและเข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น เรียกได้ว่าเกิดฌาณหรือสมาธิมีกำลังขึ้นมาอ่อนๆชั่วคราว

แต่ไม่นานเมื่อความสงบหายไป สมาธิหมดกำลัง ความคิดอันวุ่นวายก็กลับมาอีก เพราะการทำบุญทำทาน ได้สมาธิเพียงขั้นได้ความปิติเท่านั้น และไม่ทรงตัว

ส่วนนักปฏิบัติผู้ฝึกสมาธิเมื่อผ่านขั้นปิติ สุข ไปได้

สมาธิละเอียดจนเกิด "เอกัคคตา"

จิตสงบนิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างนี้เรียกว่า ฌาน

ฌาน นอกจากเป็นที่ดำรงของสติแล้วและยังแปลว่าความรู้ได้ด้วย เป็นฐานสติปัญญาความรู้ของพรหม ซึ่งละเอียดกว่าความรู้แบบภูมิของมนุษย์ เทวดา หรือปุถุชนทั่วไป

ความรู้แบบภูมิของคนทั่วไป

ไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ตลอดเวลา หากคนผู้นั้นมีความยึดมั่นถือมั่นในตนสูง สติปัญญาความรู้ก็จะเสื่อมถอยลงไป อาจถึงขั้นขาดสติในการยับยั้งกิเลส จนเกิดความพลั้งพลาดขึ้นได้

หากแต่ความรู้แบบฌาณนั้นไม่เสื่อมถอย ในขณะผู้ปฏิบัตินั้นอยู่ในฌาน หรือทรงฌาณได้ตลอดเวลา แม้ในการใช้ชีวิตปกติ ก็จะมีสติคอยพิจารณาอยู่ตลอดเวลา

พระพุทธศานาแบ่งความละเอียดของสติปัญญาของสัตว์ไว้เป็นภูมิทั่วไปและฌานภูมิ รวมทั้งหมด ๓๑ ภูมิ

ผู้เขียนขออนุญาตใช้ลำดับของภูมิและฌาน

มาเป็นเครื่องแยกความละเอียดของสติดังนี้

กลุ่มที่ ๑ อบายภูมิ มี ๔ ภูมิ

๑.นรก

๒.อสูรกาย

๓.เดรัจฉาน

๔.เปรตวิสัย

ภูมิกลุ่มนี้เป็นที่ภูมิของสัตว์ชั้นต่ำ เป็นภูมิที่ไม่มีสติ มีปัญญาเพียงแค่ระดับสัญญาพื้นฐานจำได้หมายรู้

กลุ่มที่ ๒ กามภูมิ

เป็นกลุ่มภูมิของมนุษย์และเทวดา มี ๗ ภูมิ

๕.มนุสส

๖.จาตุมหาราชิกา

๗.ดาวดึงส์

๘.ยามา

๙.ดุสิต

๑๐.นิมมานรดี

๑๑.ปรมิตตวสวัตตี

มนุษย์เป็นภูมิความรู้หยาบที่สุดในกลุ่มกามภูมิ มีสติระดับพื้นฐาน มีปัญญาในการคิด แยกแยะ ไตร่ตรองเหตุผล เรียกว่า จินตมยปัญญา

สุดท้ายคือกลุ่มฌาน ความรู้สติปัญญาละเอียดกว่ากลุ่มภูมิมาก และไม่เสื่อมถอย

ฌานภูมิ เป็นที่อยู่ของพรหมผู้มีรูป ๑๖ ชั้น

และพรหมผู้ไม่มีรูปอีก ๔ ชั้น

ละเอียดกว่านี้จะเข้าสู่เขตพระอรหันต์ บริสุทธิ์และนิพพานต่อไป

หากจะให้เอาความรู้ขั้นฌานหรือภาวนามยปัญญา มาอธิบายแบบจินตมยปัญญา(ความรู้ทั่วไป) ก็ยากพอควรอยู่

เพราะความรู้แบบจินตมยปัญญา ภูมิความรู้ทั่วไป ใช้หลักการคิด วิเคราะห์เหตุผล ความน่าจะเป็นจากสิ่งที่รู้จัก

ซึ่งแตกต่างจากฌานอันเป็นการรู้แจ้งโดยไม่ใช้ความคิดหรือความเชื่อใดๆ

หากใครได้ปฏิบัติฝึกฝนตนเองจนได้ฌาน

มีสติปัญญารู้แจ้ง อำนาจของฌานไม่เสื่อม หากตายจากมนุษย์ก็จะต้องเป็นพรหมเพื่อรักษาระดับฌานต่อไป

สรุป

ภูมิคือความรู้ทั่วไป ไม่ว่าจะเล่าเรียนในระดับไหน ความรู้ก็ยังเป็นภูมิอยู่ เมื่อไหร่มีกิเลสความยึดมั่นมากจนความจำเสื่อมถอย ความรู้แบบภูมิก็เสื่อม จิตตกลงอบายภูมิได้เช่นกัน

ฌาน คือความรู้ของผู้ฝึกอบรมจิต มีสติปัญญาอันทรงพลัง รู้ความเป็นจริงของธรรมชาติทุกสรรพสิ่ง

.ธัมมานุสารี.

หมายเลขบันทึก: 660458เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2019 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2019 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท