ประโยชน์ที่ผุดบังเกิดของ R2R



บ่ายวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ผมนั่งฟังการประชุม คณะกรรมการนโยบายหน่วยพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล    ด้วยความตื่นตาตื่นใจ    ว่ากระบวนการประชุมนั้นค่อยๆ เผยคุณค่าในส่วนที่เรายังมองไม่เห็นในช่วงสิบห้าปีที่ผ่านมาได้อย่างไร     

คุณค่าที่เผยออกมา เท่าที่ผมจับได้มี ๓ ส่วนคือ

  • แก้ปัญหาหน้างาน  ที่เจ้าหน้าที่ระดับหน้างานพอทำได้
  • ตั้งโจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น   ท้าทายยิ่งขึ้น   แต่เกินกำลังของเจ้าหน้าที่ระดับหน้างานรายบุคคล    ผู้บริหารระดับต้น ระดับหัวหน้างาน อาจทำหน้าที่นี้ได้    โดยที่หากไม่มีผลงานวิจัย R2R เล็กๆ มาสะกิด   ก็จะคิดโจทย์นี้ไม่ออก 
  • ขยายผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง หรือทั่วทั้งองค์กร    ตามในบันทึกเมื่อวันที่ ๕ มีนาคม    หรือคิดโจทย์วิจัย R2R ที่ต้องทำร่วมกันหลายหน่วยงาน ทำหลายมิติ ที่เรียกว่า Meta R2R ที่มีตัวอย่างคือ การแก้ปัญหาตกเลือดในการคลอดของจังหวัดปทุมธานีที่ดำเนินการสำเร็จเมื่อ ๒ - ๓ ปีมาแล้ว    เรื่องนี้อาจต้องมีผู้บริหารระดับกลางถึงสูงเห็นคุณค่าและเข้ามาหนุน ()      

บันทึกนี้ต้องการจารึกสองส่วน ส่วนแรกระบุไปแล้ว คือคุณค่าของ R2R ที่ผุดบังเกิด    ส่วนที่สองคือคุณค่านั้นโผล่หรือผุดบังเกิดในที่ประชุมได้อย่างไร    ผมตีความจากการนั่งเป็นผู้สังเกตการณ์การประชุมว่า    เกิดจากบรรยากาศการประชุมค่อนไปทาง dialogue   มีรองคณบดีหลายท่านกล่าวเชื่อมโยงคุณค่าที่เห็นชัดของผลงาน R2R   และการจัดการของหน่วย R2R (ที่ได้รับความยอมรับนับถือมาก)   เป็น dialogue ในลักษณะ “ค้นหาคุณค่าเพิ่ม”  แล้วมีรองคณบดีท่านอื่น หรือผู้เข้าร่วมประชุมท่านอื่น จับประเด็นคุณค่าที่น่าจะนำมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นได้    ผมเรียกการประชุมแบบนี้ว่า  การประชุมแบบ value searching   

วิจารณ์ พานิช        

๗ ก.พ. ๖๒

 

หมายเลขบันทึก: 660388เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2019 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2019 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท