3 คำแนะนำย่อยในการสร้างบทสนทนาเพื่อการประเมิน


การประเมินตามสภาพจริงไม่ได้หมายถึงการใช้แต่ข้อสอบเท่านั้น แต่การสัมภาษณ์ หรือการคุยอย่างไม่เป็นทางการถือเป็นทางเลือกที่ดีแบบหนึ่ง

คำว่าการประเมินตามสภาพจริง (assessment) มีการใช้อย่างหลากหลาย และก่อให้เกิดความกังวลกับทั้งครูและนักเรียน อย่างไรก็ตาม พวกเราส่วนใหญ่รู้ว่าการประเมินตามสภาพจริงนั้นไม่ได้เป็นแบบที่หลายคนนึกถึงแน่ มันน่าจะหมายถึง ความเข้าใจว่าเราอยู่ที่ใดในระบอบการเรียนรู้ของเรา เพื่อที่ว่าเราจะได้วางแผนกันต่อไปถึงแนวทางการเรียนรู้ มันต้องเป็นประสบการณ์เรียนรู้ที่ทรงความหมาย และเป็นธรรมชาติ

วิธีการหนึ่งในการออกแบบการประเมินตามสภาพจริงใหม่คือการทักษะทางบทสนทนา เพื่อการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียน จริงๆแล้ว บทสนทนาบ่อยครั้งที่จะเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการประเมิน บางครั้งการให้แต่ข้อทดสอบอาจข่มขู่นักเรียน แต่การพูดคุยอาจเป็นวิธีการทรงประสิทธิภาพที่สุดในการประเมินการเรียนรู้ โครงงาน หรือ ภาระงาน อาจการใช้เวลามากในการวัดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ หรือผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติมากกว่าบทสนทนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อการประเมิน บทสนทนายังอาจเป็นทางเลือกที่เสนอแก่นักเรียน โดยปล่อยให้พวกเด็กๆตัดสินใจว่าจะแสดงการเรียนรู้ของเขาอย่างไร

1. การเตรียมบทสนทนา: ในการออกแบบเพื่อนำบทสนทนามาประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน เธอจะต้องสร้างรายการของคำถามที่มีเนื้อหาเฉพาะเพื่อถามนักเรียนเพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าเธอกำลังได้หลักฐานเพื่อการเรียนรู้ของพวกนักเรียน

คำถามทั่วไป และตัวที่บอก (prompts) เช่น เธอกำลังเรียนรู้เรื่องอะไร (What are you learning about?) และบอกฉันเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Tell me about that) เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ในการให้นักเรียนมีการพูด แต่เธอต้องหาคำถามเฉพาะ และตัวบอก (prompt) ให้ได้ เธออาจเริ่มต้นที่การทบทวนจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (learning target)ในหน่วยนั้น และสร้างคำถามที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ และรวมถึงจุดมุ่งหมายอื่นๆที่เธอให้กับนักเรียนของเธอ

เธอสามารถใช้คำถามที่เป็นลำดับขั้น (sequence the question) เพื่อที่จะสืบค้นการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น และหาหลักฐาน---เธอไม่จำเป็นต้องใช้คำถามเป็นข้อๆในคำถามที่เตรียมไว้ เธอสามารถใช้คำถามที่ง่ายๆ และครอบคลุมทักษาการคิด เช่น เธอสังเกตเห็นอะไรใน....? (What did you notice in…..?) หรือแบ่งปันตัวละครที่ทำเมื่อ......(Share the character did when….) ต่อจากนั้นจึงเริ่มคำถามที่ต้องใช้ระดับการคิดขั้นสูง เช่น เธอคิดอะไรเกี่ยวกับ.... (What do you think….?) หรือ เธอจะทำนายเรื่องนี้ได้ไหมหาก.... (What would you predict would happen if….) สิ่งนี้ทำให้นักเรียนแบ่งปันประสบการณ์ที่แตกต่างกันในการเรียนรู้ ซึ่งจะสามารถทำให้เธอประเมินได้อย่างถูกต้องมมากยิ่งขึ้น สิ่งที่สำคัญก็คือการู้ว่าเธอต้องการประเมินเรื่องอะไร และมีจุดมุ่งหมายอยู่ในใจเพื่อการตั้งคำถาม และตะล่อมให้นักเรียนเกิดการคิด จงใช้คำถามในฐานะที่เป็นสื่อมากกว่าเป็นต้นฉบับ (script)

มันสำคัญที่จะมีการถอดความ (paraphrase) กับนักเรียน เมื่อพวกเขากำลังแสดงถึงการเรียนรู้ ในฐานะที่เป็นบางสิ่งที่เธอกำลังฟัง และนักเรียนทำหลักฐานการเรียนรู้ให้แจ่มแจ้ง หากเธอไม่เข้าใจว่าพวกเขากำลังพูดเรื่องอะไรอยู่ หรือพวกเขาอาจอธิบายบางสิ่งที่ง่ายเกินไปโดยไม่ดูข้อเท็จจริง (oversimplification) หรืออธิบายผิดก็ตาม

2. จงเลือกระหว่างการประเมินแบบตรงหรือแบบอ้อม: มีหลายวิธีในการใช้บทสนทนาเพื่อการตรวจสอบความเข้าใจ บางครั้งเราสังเกตและทำการประเมินในการพูดคุยทั่วไป หรือการประเมินแบบอ้อม (unobtrusive) และยังไม่แทรกแซงกระบวนการเรียนรู้ เมื่อเราประเมินแบบอ้อม นักเรียนจะไม่รู้ว่าเรากำลังประเมินพวกเขาอยู่ สิ่งนี้เราเรียกว่าประสบการณ์เสี่ยงหรือเดิมพันน้อย (low-stakes experience)

เราสามารถประเมินแบบตรงเลยได้ (obtrusive) สมมติในฉากนี้ เราจะแทรกแซงกระบวนการเรียนรู้เพื่อตรวจสอบความเข้าใจแบบการนั่งสอบ ดังนั้นการประเมินจะเป็นการใช้บทสนทนา เราเรียกกระบวนการนี้ว่าประสบการณ์โดยเทียบเคียงเดิมพันน้อย (relatively low)

3. เก็บเอกสารถึงความก้าวหน้าของผู้เรียน: บางครั้งการทำงานกับกระดาษ และดินสอเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการศึกษาการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นเอกสาร บางคนอาจคิดว่านี่เป็นโรงเรียนอันเก่าแก่ และการโน้ตในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเป็นสิ่งที่ดีกว่า ฉันชอบที่จะมีแผ่นกระดาษง่ายๆในการตรวจสอบไปกับฉัน เมื่อมีการสนทนากับเด็กๆด้วย เมื่อฉันมีคอมพิวเตอร์ ฉันอาจเน้นไปที่ข้อมูลที่เข้ามามากกว่าฟังเสียงของเด็กๆ

เครื่องมือในการบันทึกเป็นเอกสารทำให้ฉันรวบรวมข้อมูลอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่กวนสมาธิ หรือกันจากบทสนทนาที่ทรงความหมาย ในฐานะที่เป็นครู ควรจะมีมันระหว่างสนทนากับเด็กๆ หรือบันทึกไว้หลังจากนั้นในทันที

เธออาจมีแผ่นกระดาษสำหรับเด็กแต่ละคน ซึ่งจะมีจุดมุ่งหมายในการเรียน, บทสนทนาหรือการประเมินที่เธอทำกับนักเรียน และคะแนนในแต่ละการประเมิน หรือเธออาจมีแผ่นกระดาษซึ่งมีชื่อนักเรียนทุกคน และมีการให้คะแนนเมื่อมีการสนทนา (แผ่นกระดาษควรเป็นอิสระ)

เธอจะสังเกตว่าเอกสารเหล่านี้ควรจะเร็ว และไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการเขียนมากมายนัก หากเธอรู้จุดมุ่งหมายในการเรียนตั้งแต่เริ่มแรก ต่อมาเพียงแค่ติกเท่านั้น ไม่ต้องบรรยายอะไรมากมายเลย

แทนที่จะคิดว่าการประเมินต้องเป็นเรื่องใหญ่ แต่เราสามารถใช้บทสนทนาในการประเมินนักเรียนด้วยวิธีการที่เดิมพันน้อย และเครียดน้อย เราสามารถเลือกบทสนทนาที่จะเป็นทางการหรือไม่ก็ได้ แต่เราควรเตรียมคำถามเพื่อวัดระดับความเข้าใจของเด็กไว้ก่อน

แน่นอนว่านี่ไม่ใช่แนวคิดใหม่ มันเป็นสิ่งที่ยืนยันว่าครูได้ทำอยู่เป็นประจำแล้ว การสนทนากับนักเรียนทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น และนำสามารถนำไปสู่การเรียนที่ดีขึ้นอีกส่วนหนึ่งด้วย

แปลและเรียบเรียงจาก

Andrew Miller. 3 Tips for Using Conversation for Assessment

https://www.edutopia.org/article/3-tips-using-conversations-assessment

หมายเลขบันทึก: 660385เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2019 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2019 18:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

This is very useful for teachers in the 21c. Creating friendly and trusty atmosphere for learning is not easy but necessary for successful facilitation.

Forgive me for bitching this “…เมื่อเราประเมินแบบอ้อม นักเรียนจะไม่รู้ว่าเรากำลังประเมินพวกเขาอยู่ สิ่งนี้เราเรียกว่าประสบการณ์เสี่ยงหรือเดิมพันน้อย (low-stakes experience)…”. Perhaps “ประสบการณ์เสี่ยงน้อย หรือเดิมพันน้อย” would give clearer meaning to “low-stakes experience”. This is a subtlety that we should practice for good 21C teaching.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท