เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชากับพระพุทธรูปสำคัญที่ปรากฎในตำนานคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ พระพุทธรูปแก่นจันทร์ฉบับคำกลอนวัดเจ็ดยอด


เที่ยวเชียงใหม่กับสุภัชชากับพระพุทธรูปสำคัญที่ปรากฎในตำนานคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ พระพุทธรูปแก่นจันทร์ฉบับคำกลอนวัดเจ็ดยอด

โดย อาจารย์สุภัชชา.พันเลิศพาณิชย์

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน และสถานที่ในร่ม

หนังสือ ลักษณะไทย เขียนพระพุทธรูปแก่นจันทร์ เอาไว้ว่า
อาจจำลองมา จากพระเจ้าอุเทน สร้างถวาย

พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ยืนงามละมัย
พระหัตถ์ขวาประทานอภัย พระหัตถ์ซ้าย ถือ
ชายจีวร

ครองจีวรคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง
วิวัฒนาการไปบ้างจากยุคก่อน
ค่านิยมของท้องถิ่นไทยเน้นจีวร
ที่แน่นอน แนบไปตาม พระวรกาย

สร้างราว กลางพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙
เป็นเรื่องราวคณะกัมโพชสงฆ์เริ่มแพร่หลาย
อยู่ละโว้หรือ ลพบุรีมี มากมาย
รับคติธรรม จากสาย มหายาน

รวมวัชรยาน และเถรวาท ไว้ด้วย ผสมมา
ผสมขนบบาลี ศิลปะ  เพื่อเล่าขาน
เป็นลักษณะของพระพุทธปฏิมา แก่นจันทน์
พระรัตนปัญญานั้น เขียนไว้ สมัยพระเจ้าอุเทน

ชื่อพระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์จึงปรากฏ
มีกำหนด เขียนไว้ ให้ได้เห็น
ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพาน๗ปีเปิดประเด็น
พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างพระแก่นจันทน์ปฎิ
มา

ต่อมา กษัตริย์พม่า อัญเชิญไว้
พระพุทธปฏิมาแก่นจันทน์ปรากฏไปชื่อเมืองว่า
ทั้งพะเยาและเชียงใหม่ของล้านนา
ก่อนนำมาประดิษฐานวัดเจ็ดยอดเชียงใหม่เรา

แต่พระรัตนปัญญาเถระ มิได้ เขียนลักษณะลง
ว่าเป็นองค์ ยืนหรือนั่ง อย่างใครเขา
มีตำนาน พระแก่นจันทน์ เขียนบอกเล่า

พระพุทธปฏิมาเรา สลักจาก ไม้แก่นจันทน์แดง

จากสัดส่วน ลักษณะองค์ ปรากฏไว้
ที่เป็นไป ให้เห็นมี หลายแห่ง
เช่นแท่นสูง ๑๒ เซนติเมตร พระองค์สูง ๔๔ เซนติเมตร ที่แสดง
น่าจะเป็น พระพุทธปฏิมาแสดง แบบประทับ

แต่ พงศาวดารโยนก กลับระบุว่า
เป็นพระพุทธรูปยืนมากกว่ามากลายกลับ
มีแท่นสูง ๖ นิ้ว พระองค์สูง ๒๒ นิ้วไม่ใช่แบบนั่งประทับ
เป็นพระพุทธยืนประทับสร้างสมัยเจ้าแสนพู

ชินกาลมาลีปกรณ์กล่าวถึงพระพุทธรูปแก่นจันทร์ ไว้ว่า
พระพุทธปฏิมาแก่นจันทร์ปรากฎไปใคร่ควรรู้
แล้วเหตุใดมาอยู่เมืองพะเยาตามมาดู
เท่ารู้มี อุบาสกชื่อ โมลี

เป็นคนในแคว้นพะเยา
มีเรื่องเล่าเนื้อความมีตามนี้
บูชาที่วัดปทุมาราม ๖๐ปี
ต่อมามีเจ้านครพะเยาอัญเชิญมา

พระเจ้านามว่า ยุทธสัณฐิระ ชื่อนามนี้
เป็นผู้ที่นำองค์ลงมาหนา
ประดิษฐานไว้วัดป่าแดงหลวงดอนชัย(พะเยา)ที่รู้มา
ต่อนั้นมามี พระมหาเถรธรรมเสนาบดี

นำประดิษฐานบูชาในวัดอโสการาม
ปีจอจุลศักราช ๘๔๐ บอกตามนี้
อยู่ในวัดอโสการาม ๕๐ ปี
เป็นสมัยที่พระเจ้าพิลกเป็นราชา

จากนั้นมี อำมาตย์ชื่อ ปาเทป
อัญเชิญมา เก็บวัด ชื่อว่า

วิหารวัดดอนชัย แคว้นพะเยา อีกครา
บูชาเป็น เวลา๒๘ ปี

ถึงสมัยพระเจ้าพิลก ปนัดดาธิราช
ตรัสให้มหาอำมาตย์ ทำการนี้
ทำหนังสืออัญเชิญพระพุทธรูปแก่นจันทน์มาทันที
ประดิษฐานบูชาที่ในวัดปุพพาราม(จ.เชียงใหม่)

ปัจจุบัน เลื่องลือ ชื่อปรากฏ
พระพุทธรูปแก่นจันทร์ปรากฏล้านนาสยาม
ประดิษฐานอยู่ วัดเจ็ดยอด อันงดงาม
ชื่อนาม จังหวัดเชียงใหม่ แห่งล้านนา

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, ต้นไม้, เมฆ, ต้นพืช, สถานที่กลางแจ้ง และธรรมชาติ
ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และสถานที่กลางแจ้ง


หมายเลขบันทึก: 660265เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2019 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2019 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท