มุมมองการพัฒนาการศึกษาไทย ในยุกต์ 4.0


            การจัดการเรียนการสอนในยุกต์ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนโฉมจากเดิมไปอย่างรวดเร็ว เมื่อก่อนครูเป็นศูนย์กลางแห่งความรู้ของผู้เรียน หากครูผู้สอนไม่เตรียมการสอน ไม่ออกแบบการเรียนรู้ที่ดี ไม่เตรียมเนื้อหาตามจุดประสงค์การสอน และไม่มีการเตรียมสื่อการสอนที่ดีแล้ว การศึกษาจะไม่ประสบผลสำเร็จ หรือ เรียกว่ามีประสิทธิภาพต่ำ
            ในปัจจุบัน ครูส่วนมากเข้าใจว่า การเรียนการสอนง่ายขึ้น  เนื้อหา องค์ความรู้ต่างๆ มีอยู่พร้อมบนระบบอินเตอร์เนต เพียงแค่ให้ผู้เรียนได้ไปค้นคว้า ศึกษาดู ก็สามารถที่จะเกิดการเรียนรู้ได้แล้ว

            ครูไม่ได้ให้ความรู้ในการสังเคราะห์ข้อมูล พื้นฐานคือ ข้อมูลจริง ข้อมูลเท็จ ความมั่นใจ เชื่อถือข้อมูลอยู่ระดับใด วิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ดีที่เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์แห่งการเรียนรู้ การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับเด็ก จึงอยู่ในระดับที่เรียกว่าเกิดประสิทธิภาพต่ำ เช่นกัน

             แล้วครูต้องทำอย่างไร ?   นี่คือปัญหาที่เกิดแก่ครูส่วนมาก  หากเรานำเอาสิ่งที่ดี ในระบบเก่า  ของเรามาร่วมใช้ คือ การออกแบบการสอน การวิเคราะห์หลักสูตร การเตรียมแผนการสอน การออกแบบกิจกรรม การผลิตสื่อหรือจัดเตรียมสื่อจากระบบอินเตอร์เนต ให้เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ จากสอนให้ผู้เรียนรู้วิธีค้นคว้าสื่อปัจจุบันอย่างมีคุณภาพ ซึ่งนี่คือการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในเอกสารตำรา และ บนระบบ มาใช้อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และสอนให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ร่วมกับครู แตก ต่อยอดความรู้โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์  และโยงไปสู่สภาวะปัจจุบันของผู้เรียน เพื่อเตรียมการสู่อนาคตได้อย่างมีความพร้อมและสมบูรณ์

              นี่คือ การเรียนการสอน ในยุกต์ 4.0 โดยแท้            

หมายเลขบันทึก: 660133เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2019 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2019 11:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท