ถอดบทเรียนจากการฟัง "มาร์ติน วีลเลอร์" " : เส้นความพอเพียง


ผมฟังคุณมาร์ติน วีลเลอร์ มาไม่น้อย (ผ่านยูทูป ไม่เคยเจอตัวจริง..)  แต่ที่ประทับใจที่สุดคลิปสองคลิปนี้ (คลิปที่ ๑, คลิปที่ ๒) เพราะการสะท้อนจากคนที่เกิดในลอนดอน อยู่อังกฤษ ๓๐ ปี จากประเทศที่เป็นต้นแบบด้านประชาธิปไตย และจากคนที่มาใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านชนบท จ.

  • มาร์ติน วีลเลอร์ มาจาก อังกฤษ อาศัยอยู่ลอนดอน ๓๐ ปี 
  • มาอยู่เมืองไทย ๑๘ ปีกว่า (ขณะที่พูดปี ๒๕๕๔) ได้ภรรยา ๑ ลูก ๓ คน  คนแรกลูกชาย ๑๖ ปี (ตอนนนี้ ๒๑ ปี) คนที่สองเป็นลูกสาว ๑๔ (๙๕) ปี เรียนที่วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์  คนสุดท้ายเป็นลูกชาย ๘ ขอบ (ตอนนี้ ๑๓ ปีแล้ว) 
  • มาประเทศไทยครั้งแรก ต้องการมาเที่ยว วางแผนว่าจะมาเที่ยวไทย ไปพม่า ต่อไปบาหลี และจะไปอยู่ที่ออสเตรเลีย... แต่มาประเทศไทยเพียง ๒ เดือน (ประเทศแรก) เงินหมด...เหลือ ๕๐๐ ่บาท 
  • ไปซื้อเทคไทด์ ร้องเท้า และกระเป๋าเอกสาร ไปสมัครงานได้เป็นครูสบาย ๆ  ได้เงินเดือนตั้ง ๓๐,๐๐๐ กว่าบาท ....  เพราะคนไทยให้เกียรติและยกย่องฝรั่งมาก  คืออาศัยช่องโหว่ที่คนไทยใส่ใจและดูแลคนอื่นทั้งหมด ยกเว้นตนเอง 
  • ก่อนจะมาเจอคุณรจนา ภรรยา ลูกชาวนาที่ไปทำมาหากินที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่ ๑๓ ปี 
  • วันแรกที่ไปเยี่ยมบ้านแม่ยาย ที่อีสาน บ้านเกิดของรจนา อยู่ที่ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เกิดความประทับใจที่สุด 
    • ชาวบ้านที่อยู่อีสาน ดีกว่า ชาวบ้านที่อังกฤษมาก ๆ  ชาวบ้านที่อังกฤษไม่มีบ้านของตนเอง
    • ชาวบ้านที่อังกฤษอยู่เคหะ ถ้าอยากมีบ้าน (แคบ ๆ) ต้องใช้หนี้เป็น ๒๕-๓๐ ปี แต่ที่อีสานมีบ้านเป็นของตนเองทุกคน  
    • ที่อีสานมีที่ทำกิน (ครอบครัวภรรยา มีตั้ง ๔๗ ไร่) ในขณะที่คนอังกฤษ คนที่มีที่ทำกินมีเพียง ๐.๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น 
    • ไม่มีลักเล็กขโมยน้อย บ้านช่องห้องเรือนไม่ต้องมีกุญแจใดๆ ปล่อยไว้โล่ง ๆ ก็ไม่มีปัญหา 
    • และที่ประทับใจที่สุดคือ นิสัยของคนไทยอีสาน ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แบ่งปัน พึ่งพาอาศัยกัน ... มาร์ตินเรียกว่า เป็นสวรรค์เลยทีเดียว 
  • คนอังกฤษเกือบทั้งหมดเกิดในเมือง มีอาชีพรับจ้าง ขึ้นอยู่กับว่าจะรับจ้างสูงหรือรับจ้างต่ำ บรรพบุรุษของมาร์ติน วีลเลอร์ สืบต่อมากว่า ๒๐๐ กว่าปี ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร รับจ้างมาชั่วโคตร ... ลูกของมาร์ติน เป็นลูกหลานรุ่นแรกที่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง 
  • มาร์ติน เปลี่ยนใจไม่ไปไหน ลงมือทำนา ทำการเกษตร กอปรกับได้เรียนรู้ศาสตร์พระราชาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากบ้านภรรยาเป็นหมู่บ้านต้นแบบของ "หมู่บ้านของเศรษฐกิจพอเพียง"

  • มาร์ตินบอกว่า ขณะนี้คนไทยเอาเป็นเอาตายจริง ๆ กับเรื่องการเมือง แต่ไม่ค่อยเอาจริงเอาจังกับเรื่องอื่น ๆ  กลับกันกับฝรั่ง ที่จะเอาจริงเอาจังกับทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเมือง 
  • อังกฤษเป็นแม่แบบของประชาธิปไตยไทย มีระบบรัฐสภามากว่า ๓๖๐ ปี ...ทุกอย่างเหมือนเดิมหมด คนรวยก็รวยเหมือนเดิม ชาวบ้านก็เป็นชาวบ้านเหมือนเดิม  
  • แนวทางพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดคือ เศรษฐกิจพอเพียง 
  • คนไทยส่วนใหญ่ยังจับประเด็นไม่ถูกเลย ... เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ลาออกจากราชการไปเลี้ยงควายที่บ้าน ... เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่ไปทำการเกษตร ไปทำนา.....
  • เศรษฐกิจพอเพียง คือ ต้องขีดเส้นให้ตนเองได้ ความพอเพียงของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนต้องรู้จักขีดเส้นให้ตนเองได้ มีอาชีพอะไรก็ทำอาชีพนั้นไป แต่ให้รู้จักพอ 
สะท้อนการเรียนรู้และประทับใจ
  • ประเทศที่พัฒนาเจริญรุ่งเรือง และเป็นต้นแบบด้านประชาธิปไตย  ชาวบ้าน (ประชาชน) ไม่ได้มีความสุขมากมากกว่าประเทศไทย 
  • ระบบประชาธิปไตย แบบมีรัฐสภา ของประเทศอังกฤษที่จัดว่าพัฒนาสุดยอดแล้ว ไม่ใด้ช่วยให้เกิดความเสมอภาคทางเศรษฐกิจเลย ยิ่งทำให้เกิดการผูกขาดของชนชั้นรวย-จนมากขึ้น 
  • ชาวบ้านในประเทศไทยร่ำรวยกว่าชาวบ้านที่อังกฤษ  มีบ้าน มีที่ดินทำกิน  คือ พออยู่ พอกิน มากกว่า
  • ทุกอย่างเป็นไปดังที่ในหลวง ร.๙ ทรงกล่าวไว้ .... ประเทศที่พัฒนาอย่างมาก มีแต่ถอยหลัง ... ประเทศไทยเป็นประเทศที่มั่งคั่ง และเป็นจุดยุทธศาสตร์ ....  
.............................................................................................................................................................
พวกนักก๊อปปี้ประชาธิปไตย จะฟังเข้าใจ ประสบการณ์จากมาร์ติน วีลเลอร์ บ้างไหมนะ 
หมายเลขบันทึก: 660046เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2019 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2019 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท