รายงานการวิจัยรูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ : กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก


การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพควรมีรูปแบบของระบบการบริหารจัดการของตนที่ใช้กระบวนการของ PDCA และ KM

รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สำหรับ
สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ : กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษา จังหวัดพิษณุโลก
Operating Model of Integrated Educational Management System for Educational Service Areas and Schools Emphasizing  Knowledge – Based Economy Society: A case of Educational Service Areas and Schools in Phitsanulok Province

 วารีรัตน์  แก้วอุไร1 

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบทั่วไป (General Model) ของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก และเพื่อพัฒนากลไกของการแปลงรูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ สู่รูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก วิธีการดำเนินการวิจัย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (Participatory Research)
 ผลการวิจัยพบว่า
1.  รูปแบบทั่วไป (General Model) ของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก การวางแผนบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้ MSPA ของสถานศึกษา จะต้องมีการกำหนดภารงาน จำแนกตามโครงการสร้างบริหารงานของสถานศึกษา ในโรงเรียนทั่วไปจะแบ่งเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การบริหารงบประมาณ 3) การบริหารงานบุคคล 4) การบริหารงานทั่วไป ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่อาจจำแนกตามฝ่าย 7 ฝ่าย เพื่อรองรับการประกันคุณภาพ 
2.  รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่ใช้กลไกในการแปลงรูปแบบทั่วไปให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ (Customized Model) มีระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นผลิตผลจากการเสริมพลังอำนาจ (Empowerment) ให้ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 และผู้บริหารสถานศึกษา สามารถสร้างและแสดงพลังความสามารถในการพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
ด้วยตนเอง  โดยมีแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบ บูรณาการสำหรับเขตพื้นที่ การศึกษาและสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก  ได้แก่

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ ระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้

-----------------------------------------------------------------------------
1ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วารีรัตน์  แก้วอุไร ร่วมกับ รองศาสตราจารย์เทียมจันทร์  พานิชย์ผลินไชย  ดร.อมรรัตน์  วัฒนาธร นางสาวอังคณา  อ่อนธานี ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 1. วาดภาพความสำเร็จ (Success) การบริหารจัดการศึกษาจะต้องวาดภาพความสำเร็จของเขตพื้นที่การศึกษา  และสถานศึกษา ในด้านวิสัยทัศน์ (Vision) จุดมุ่งหมาย (Goal) บทบาท (Role) และภารกิจ (mission) ที่เป็นภาพความสำเร็จของการจัดการศึกษา (มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ และ 4 ร.) ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
 2. กำหนดโครงสร้าง (Structure) การบริหารจัดการการศึกษาจะต้องมีการกำหนดโครงสร้างกลุ่มงาน และมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นโครงสร้างการบริหารที่มีความยืดหยุ่น และตอบสนองต่อภารกิจหลัก และมีบรรยากาศที่เป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
 3. บริหารจัดการ (Management) การบริหารจัดการศึกษาจะต้องมีการบูรณาการการบริหารโดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การระดมทรัพยากร การวางกลยุทธ์สำคัญและการขับเคลื่อนกลยุทธ์ การมีส่วนร่วม และความเป็นอิสระ
 4. ติดตามกำกับ (Monitoring) การบริหารจัดการศึกษา  จะต้องมีการตรวจสอบภายในและติดตามประเมินผลที่ดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขจนบรรลุจุดมุ่งหมาย
 โดยมีกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก 4 กลยุทธ์  ดังนี้
 1. ส่งเสริมและสร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างเสมอภาพและทัดเทียมกัน
 2. ระดมสรรพกำลังทุกภาคส่วนของสังคมในการจัดการศึกษา
 3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
 4. พัฒนามาตรฐานคุณภาพนักเรียนและขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล
 การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  โดยใช้ MSPA ของสถานศึกษา มีรูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาที่ใช้หลักการจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  โดยใช้ MSPA  ในการบริหารงาน  และได้จัดทำคู่มือฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานภายในสถานศึกษา  มีสาระสำคัญที่เหมือนกัน  ดังนี้
 1. ความเป็นมาและความสำคัญของระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบ      บูรณาการ
 2. ภาพความสำเร็จของการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ
 3. โครงสร้างการบริหาร
 4. การบริหารจัดการ
 5. การกำกับ  ติดตาม
 6. ข้อจำกัดของการบริหารจัดการและแนวทางแก้ไข
 โดยทุกโรงเรียนต่างนำการบริหารจัดการแบบ MSPA ไปบริหารจัดการในโครงสร้างภารงาน หลักและการกำหนดงาน/โครงการ ให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ เพื่อมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณลักษณะ 4 ร. ได้แก่ รู้ทัน รู้นำโลก  เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ    รวมพลังสร้างสรรค์สังคม รักความเป็นไทย ใฝ่สันติ 
 การติดตามกำกับ (Monitoring) พบว่า โรงเรียนทุกโรงเรียนได้มีการตรวจสอบภายในและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้ มีการกำหนดคณะกรรมการ ให้ครูและบุคลากรทุกคนของโรงเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและปรับปรุงเพื่อพัฒนาโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง มีระบบการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในโรงเรียน กำหนดระยะเวลาในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในโรงเรียน  การปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด และสรุปผลรายงานการปฏิบัติต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียน และนำผลการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข ตามกระบวนการของ PDCA เพื่อใช้รายงานผลการตรวจสอบตนเอง (SAR)


Abstract

 The research objectives were; to develop general model of Integrated  Educational Management System (IEMS) for Educational Service Areas and schools in Phitsanulok, and to develop mechanism   of transmitting model of IEMS under Education Reform into the appropriate model of Educational Service Areas and schools in Phitsanulok
 Research Procedure: It is  R & D research focusing on the participation of the involved persons as Participatory Research. Research Findings:
 1.  General Model of IEMS for Educational Service Areas and schools in  Phitsanulok is composed of 4 components;
                   1.1 Success : Educational Management has to be proposed with the success for  Educational Service Areas and schools  through vision, goal,  roles and mission on the success of educational management together with  National Basic Education Standards as well as ‘4 Ror’ Characteristics  which is distinctive and responding to  the needs emphasizing  knowledge- based economics society.
     1.2 Structure : Educational Management has to be provided with  a structure of working group  and standards of task operating,  based on managing  structure which is flexible and associable to the mission. The atmosphere of leaning culture is also included.
     1.3  Management: Educational Management has to be integrated with MSPA; mobilization, strategies, participation and autonomy, for moving forward.
     1.4  Monitoring: Educational management has to be validated internally and  the operating tasks have to be from time to time evaluated with concrete indicators in order to be improved until achieve its objectives.
         Four strategies for developing  the  quality of Education  are ; 1) promoting and creating the equality and equity of educational opportunity 2) mobilizing all of the social sectors in educational management 3) developing educational management system and the quality of learning and 4) developing  the standards of student quality and the competency of their international competitiveness.
Model of IEMS for schools which is in use in  the  integrated management  principles  with MSPA  and provided  the  handout  so that they could be used as  guidelines  for using within schools.  It composes of 1) rational 2) success3) structure 4) management 5) monitoring and 6) limitation.
 The planning of IEMS with MSPA, most schools formulate tasks  under the structure of school management which is divided into 4 sections 1) The management of academic affair 2) The management of budgeting 3) The management of personals  4)  The management of general affair.  For the big-sized school, school tasks might be  divided into 7 sections responding  to the Quality Assurance. In other woods, all schools tried to put  MSPA management into their

Key word: Model Development, Integrated Management Administrative System, Knowledge- based Economy
                  Society.
Reviewed by: Assoc.Prof. Dr. Sumlee  Thongthew, Chulalongkorn University.


main  tasks as well as projects  so that the students could achieve ‘4 Ror’ characteristics ;1) smart consumer                       2) breakthrough thinker 3) social concerns and  4) Thai pride.
 The mechanism of monitoring for the internal quality and the  follow-up of the evaluation results  is done by providing working committee comprising teachers and every person in school to take part  in improving school tasks  so that school could be continuously developed , monitoring internal quality assurance, timing for monitoring and reviewing school  tasks and summarizing  as  self assessment report.

ความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัย
 ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวและเร่งพัฒนาเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy Society) ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศ  และเปิดกว้างออกสู่นานาชาติมากขึ้น  จึงมีความจำเป็นต้องปฏิรูประบบราชการและระบบการศึกษา  เพื่อพัฒนาศักยภาพของประเทศสู่การแข่งขันบนเวทีนานาชาติ  การพัฒนาที่นำไปสู่สังคมที่มีฐานความรู้ (Knowledge-Based Society) ซึ่งประชาชนสามารถเรียนรู้  สร้างความรู้  ใช้ความรู้ในการผลิตเพื่อการแบ่งปันได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานในขณะ เดียวกันก็สามารถรักษาเอกลักษณ์และความเป็นไทยได้  จึงจำเป็นต้องปรับระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้  มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถเรียนรู้  สืบค้นความรู้  จัดเก็บและใช้ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือเชิงยุทธศาสตร์  สำหรับพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน  ในการเปลี่ยนผ่านการศึกษาสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้  จะต้องพัฒนาเด็กไทยให้นิสัยดีและมีความรู้ดี  โดยมีลักษณะสำคัญคือ  รู้จักคิด  รู้จักเลือกและค้นคว้า  มีทักษะการแก้ปัญหาในอนาคต  มีทักษะการบริหารจัดการ  สื่อสาร  รู้จักการเทียบมาตรฐาน  และการพัฒนาตนเองสู่การแข่งขันกับโลกภายนอก  ครูจะต้องจัดการเรียนรู้ให้เด็กสามารถบูรณาการเชื่อมโยงสาระการเรียนกับงานโครงการและชีวิตจริงได้ (ชัยอนันต์ สมุทวานิช, 30 สิงหาคม 2547)  โดยเด็กไทยจะต้องมีลักษณะรู้ทัน  รู้นำโลก  เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ  รวมพลัง สร้างสรรค์สังคม  และ รักความเป็นไทย ใฝ่สันติ
 การพัฒนาประเทศสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งเป็นสังคมที่ประชาชนมีความรู้และศักยภาพในการแสวงหาความรู้สำหรับการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ซึ่งประกอบด้วยความสามารถพื้นฐาน ได้แก่สามารถเรียนรู้ สร้างความรู้ ใช้ความรู้ และผลิตผลงานคุณภาพสำหรับการแข่งขันได้ ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  4ร ซึ่งประกอบด้วย รู้ทัน รู้นำโลก เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญการปฏิบัติ  รวมพลังสร้างสรรค์สังคม  และรักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติ โดยมีระบบการบริหารจัดการการศึกษาที่เหมาะสมรองรับ
 หน่วยงานสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ประสบความสำเร็จหรือไม่ก็คือ เขตพื้นที่การศึกษา (Educational Service Areas) และสถานศึกษาอันเป็นหน่วยยุทธศาสตร์ทางการศึกษาในพื้นที่ (Strategic Area) หรือเปรียบเสมือนแม่ทัพนาย กองที่จะนำพาการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์ร่วมกัน
 เขตพื้นที่การศึกษาที่มีการจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ  มีหน้าที่ต้องส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน  ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ต่างๆ ต้องวางระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการจำเป็นของตนเอง  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด  ซึ่งการบริหารจัดการเรียนรู้ในเขตพื้นที่การศึกษาควรต้องบูรณาการเข้ากับยุทธศาสตร์ของจังหวัด  โดยมีสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ  เป็นการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนของสังคมในเขตพื้นที่เข้าสู่ระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งการวิจัยนี้จะวางรูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้จังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ได้รูปแบบของระบบบริหารจัดการและ ส่งเสริมเรียนรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลกทั้งในเชิงการบริหารวิชาการ การบริหารบุคคล การบริหารบุคคล การบริหารทั่วไป และงบประมาณ   ให้เกิดความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและตามความต้องการของชุมชนตลอดจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางการศึกษาสำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในฐานะคณะทำงานของสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของการใช้รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาของจังหวัดพิษณุโลกเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งยังเป้นการวางรากฐานสำหรับการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ สังคมแห่งการเรียนรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงได้ดำเนินการโครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อให้ได้รูปแบบที่เป็น Operating Model สำหรับจังหวัดพิษณุโลกที่ปรับให้เหมาะกับบริบทของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อสามารถเป็นตัวอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและศักยภาพเหมะสมสำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
     1.  เพื่อพัฒนารูปแบบทั่วไป (General Model) ของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
 2.  เพื่อพัฒนากลไกของการแปลงรูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ สู่รูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก

วิธีดำเนินการวิจัย
 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (Participatory Research)

ขอบเขตของการวิจัย
 1.  การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (Integrated Educational Management  System, iEMS) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก
     1.1  วาดภาพความสำเร็จ (Success) 
     1.2  กำหนดโครงสร้าง (Structure)
     1.3  บริหารจัดการ (Management)  โดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน ได้แก่ การระดมทรัพยากร (Mobilization)  กลยุทธ์(Strategy) การมีส่วนร่วม (Participation) และความเป็นอิสระ (Autonomy)
     1.4  ติดตามกำกับ  (Monitoring) 
     รูปแบบทั่วไปของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยระบบย่อยดังต่อไปนี้
      1) ระบบการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย การดำเนินงานและบริหารจัดการด้านหลักสูตรการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การนิเทศกำกับติดตามและประเมิน การใช้เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
       2) ระบบการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การกำหนดวิสัยทัศน์ การวางแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ โครงสร้างการบริหาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารนโยบาย การแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ การกำกับติดตาม การประเมินผลนโยบาย
       3) ระบบการบริหารบุคคล ประกอบด้วย ระบบข้อมูลสารสนเทศ การกำหนดอัตรากำลัง การพัฒนากำลัง การพัฒนาบุคลากร การประเมินการปฏิบัติงาน
        4) ระบบการประสานความร่วมมือ ประกอบด้วย การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและระดมทุกภาคส่วนในเขตพื้นที่เพื่อจัดการศึกษา การสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน โรงเรียน วิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาในเขตพื้นที่ สถาบันทางสังคมในท้องถิ่นและจังหวัดเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน 
       รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการมีทั้งรูปแบบทั่วไป และกลไกในการแปลงรูปแบบทั่วไปให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่ (Customized Model)
 2.  พื้นที่ในการศึกษาระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ได้แก่ 
       2.1 เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 ประกอบด้วย สำนักเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก  เขต 1 และสถานศึกษา 4 แห่ง คือ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนวัดเสาหิน โรงเรียนวัดมหาวนาราม และ โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา
                 2.2  เขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 ประกอบด้วย สำนักเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2 และสถานศึกษา 4 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านวังสาร โรงเรียนบ้านเนินสะอาด โรงเรียน      วังทองพิทยาคม และ โรงเรียนวังพิกุลวิทยศึกษา
 เพื่อให้ได้รูปแบบที่เป็น Operating Model สำหรับจังหวัดพิษณุโลกที่ปรับให้เหมาะกับบริบทของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก เพื่อสามารถเป็นตัวอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและศักยภาพเหมะสมสำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้
การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนการดำเนินการต่อไปนี้
 ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ
 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรประชุมร่วมกับทีมวิจัยจุฬาเพื่อทำความเข้าใจความมุ่งหมายของการดำเนินการวิจัย และทำการคัดเลือกสำนักเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก 3 แห่งได้แก่ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี โรงเรียนบ้านวังสาร และโรงเรียนเสาหิน เป็นกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในช่วงแรก
 ขั้นที่ 2  ขั้นดำเนินการ
  2.1 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร ทีมวิจัยเขตพื้นที่การศึกษา และทีมวิจัยสถานศึกษา วางแผนจัดทำคู่มือระบบบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
 2.2 การนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการแบบบูรณาการของเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 เขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2  สถานศึกษา 3 แห่งในช่วงแรก และสถานศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก อีก 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนมหาวนาราม โรงเรียนบางระกำวิทยศึกษา โรงเรียนวังทองพิทยาคม โรงเรียนวังพิกุล และโรงเรียนบ้านเนินสะอาด
 2.3 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร  ทีมวิจัยเขตพื้นที่การศึกษา และทีมวิจัยสถานศึกษา ร่วมประชุมกับทีมวิจัยจุฬาเพื่อนำเสนอคู่มือและรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 2.4 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร นิเทศและติดตามการจัดทำคู่มือระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1 และเขต 2 และสถานศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก 8 แห่ง เกี่ยวกับความก้าวหน้าและปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำคู่มือ และให้ข้อเสนอแนะ
 2.5 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร และทีมวิจัยจุฬานิเทศและติดตามการจัดทำคู่มือระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1 และเขต 2 และสถานศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก 8 แห่ง เกี่ยวกับความก้าวหน้าและปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำคู่มือ และให้ข้อเสนอแนะ
 2.6 ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรและทีมวิจัยจุฬามีการประชุมร่วมกันทีมวิจัยเขตพื้นที่การศึกษา และทีมวิจัยสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลกเพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินการตามระบบการบริหารจัดการการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้
 ขั้นที่ 3  การสังเคราะห์ระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตการศึกษาและสถานศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้
   3.1  สังเคราะห์ระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับเขตการศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ในแต่ละเขตพื้นที่ โดยใช้ MSPA
 3.2  สังเคราะห์ระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษา
จังหวัดพิษณุโลกในแต่ละเขตพื้นที่ โดยใช้ MSPA
 3.3  สังเคราะห์รูปแบบทั่วไป (General Model) ของระบบบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
 3.4  วิเคราะห์กระบวนการและกำหนดกลไกของการแปลงรูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ สู่รูปแบบที่เหมาะสมกับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาของจังหวัดพิษณุโลก
การวิจัยภาคสนามในจังหวัดพิษณุโลก มีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 8 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2 แห่ง และมหาวิทยาลัยท้องถิ่น ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก มีสถานศึกษาเข้าร่วมในฐานะโรงเรียนแกนนำ 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และโรงเรียนวัดเสาหิน ส่วนโรงเรียนเครือข่าย 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังสาร ส่วนระยะที่สอง มีสถานศึกษาเข้าร่วมในฐานะโรงเรียนเครือข่ายเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ได้แก่ โรงเรียน วัดมหาวนาราม บางระกำวิทยศึกษา บ้านเนินสะอาด วังทองพิทยาคม และวังพิกุลวิทยา รวมโรงเรียนแกนนำ 2 แห่ง โรงเรียนเครือข่าย 6 แห่งและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2 แห่ง  ซึ่งผลการติดตามการดำเนินงานในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนแกนนำ มีสาระสำคัญดังนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก 
                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต1 (ตัวแทนเขตพื้นที่การศึกษา)
สำนักงานเขตพื้นที่พิษณุโลก เขต 1 ก่อนเข้าร่วมโครงการมีคู่มือแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของเขตตั้งแต่ต้นปี 2548 และมีโครงการหลายโครงการที่มีการพัฒนาผู้เรียนและครูอยู่แล้ว โดยมีจุดเด่นของการบริหารจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เช่น  นำ ICT มาใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอนมากขึ้น  การนำข้อมูลโรงเรียนมาใช้เป็นฐานในการพัฒนาการเรียนการสอน มีชมรมครูภาษาอังกฤษ ชมรมผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนา  ซึ่งส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแก่ครู   เปิดโอกาสให้ครูช่วยสร้างสื่อ นวัตกรรม และช่วยเป็นวิทยากรในการพัฒนาการเรียนการสอน มีศูนย์พัฒนาการเรียนรู้  ศูนย์ ERIC  ศูนย์รวมสื่อของสำนักงานเขตพื้น เขต 1  มี Station Unit จำนวน   3 แห่ง  เพื่อให้โรงเรียนหมุนเวียนนำนักเรียนมาจัดการเรียนการสอนพัฒนาคอมพิวเตอร์  ซึ่งมี 3 สถานี  มี Mobile Unit ให้ครูใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
เมื่อเข้าร่วมโครงการ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1 แต่งตั้งคณะทำงานทำหน้าที่ประสานงานในการจัดทำคู่มือของเขตพื้นที่ และได้ดำเนินการยกร่างคู่มือโดยรวบรวมจากสิ่งที่มีอยู่ เนื่องจากทางเขตได้เคยจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของเขตตั้งแต่ต้นปี 2548 รวมทั้งนำมาบูรณาการกับการปฏิบัติงานจริง  โดยมีกระบวนการหรือขั้นตอนในการพัฒนาคู่มือฯ ดังนี้ เริ่มจากศึกษาแนวทางการบริหารจัดการโดยใช้หลัก MSPA และศึกษาคู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของ สพฐ. และแผนพัฒนาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากนั้นจึงจัดประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดโครงร่างของคู่มือ   รวมทั้งการกำกับ ติดตามและประเมินผล แล้วจึงแบ่งกลุ่มคณะทำงาน เขียนรายละเอียดของเอกสารตามโครงร่าง  จัดพิมพ์เอกสารนำเสนอให้แต่ละกลุ่มในเขตพื้นที่ และฝ่ายบริหารของเขตพื้นที่ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ตลอดจนปรับแก้เอกสารตามข้อเสนอแนะ แต่ในช่วงที่นำคู่มือไปใช้  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1 ไม่ได้มีนโยบายนำคู่มือการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการไปใช้ปฏิบัติจริงทุกส่วนงาน จึงขาดการพัฒนาติดตามการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง  คู่มือที่ได้เป็นการประชุมของคณะทำงานเพื่อกำหนดโครงร่างของคู่มือการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการฯ ทำให้ลักษณะการปฏิบัติงานของบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 1 ต่างกลุ่มต่างทำงาน  จึงทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีคู่มือการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ MSPA เป็นตัวขับเคลื่อน แต่ผลของการนำคู่มือไปใช้อาจเกิดหรือไม่ได้เกิดขึ้นทุกส่วนงานก็ได้เนื่องจากไม่ได้มีการติดตามผลการนำไปใช้   
ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้ระบบการบริหารจัดการการศึกษาแบบบูรณาการ 
1) หน่วยงานราชการในจังหวัดได้มีการบริหารจัดการศึกษา บริหารทางการศึกษาโดยมีการระดมทรัพยากรร่วมกัน ทั้งบุคลากร การจัดการ วัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณเพื่อเพิ่มศักยภาพของสถานศึกษาส่งผลให้ผู้เรียนเกิดลักษณะ 4 ร.
  2) บุคลากรในสำนักงานมีส่วนร่วมในการวางกลยุทธ์ในการบริหารร่วมกัน โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และงาน/โครงการ/กิจกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพจริงของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  3) สถานศึกษาได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเองมากขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้น
  4) นักเรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตนเองมากยิ่งขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามากขึ้น โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กระบวนการและโครงการ ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะพึงประสงค์ 4 ร.
รูปแบบของระบบการบริหารจัดการศึกษา จัดเป็นการบริหารด้านปัจจัยกระบวนการ ผลสำเร็จโดยโมเดล MSPA มาบริหารจัดการศึกษา ตามสถานการณ์ของการบริหารด้านปัจจัยและกระบวนการ และผลสำเร็จ ต่อการบริหาร คุณภาพการศึกษา คุณภาพผู้เรียน (4 ร.)และความสามารถแข่งขันระดับสากล ซึ่งเป็นการต่อยอดผู้เรียนให้มีความสามารถสูงขึ้น และมีรูปแบบการบริหารจัดการ (Management)  โดยใช้หลัก MSPA ดังนี้
การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา (Mobilization)
การระดมทรัพยากร (M) ปัจจัยประกอบด้วย สถานศึกษา บุคลากร งบประมาณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการระดมทรัพยากรด้านบุคลากร แต่ละกลุ่มงาน ระดมความคิดเห็นในการปฏิบัติงาน มีการประสานงานแต่ละกลุ่มงาน ทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น ด้านระดมทรัพยากรด้านงบประมาณ มีการสนับสนุนจากกลุ่มงานอำนวยการ ฝ่ายนโยบายและแผนงาน รวมทั้งความร่วมมือจากแหล่งต่างๆที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

การวางกลยุทธ์และการขับเคลื่อนกลยุทธ์สำคัญ (Strategy)
กลยุทธ์ (S) ประกอบด้วย กลยุทธ์ สพฐ. สพท. จังหวัด CEO การปฏิบัติงานภายใต้กรอบนโยบายและแผนงาน ผลที่เกิดขึ้น การทำงานเป็นระบบ และทุกคนยึดตามนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การทำงานภายใต้ขอบเขต เสนอความคิด ทำงานอย่างมีอิสระ บุคลากรทุกคนทำงานภายใต้ขอบเขตและนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย (Participation)
การมีส่วนร่วม (P) เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมนโยบาย ดำเนินงาน บุคลากรร่วมดำเนินงาน ทำงานร่วมกัน ทำให้ผู้มีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เช่น ชมรมภาษาอังกฤษ ชมรมพระพุทธศาสนา ชมรมภาษาไทย ผลงาน CEO จังหวัดมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ผลที่เกิดขึ้นทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทำให้งานประสบความสำเร็จและมีคุณภาพมากขึ้น
ความเป็นอิสระและความโดดเด่นทางวิชาการ (Autonomy)
ความเป็นอิสระ (A) มีแนวคิดที่อิสระ อิสระในการทำงานภายใต้ขอบเขตของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา บุคลากรทุกคนมีอิสระในการปฏิบัติงาน ทำงานเต็มศักยภาพ
ปัญหาและอุปสรรค
1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต1 มีการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่ให้เด่นชัด และบุคลากรบางส่วนยังไม่ตระหนักในการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการโดยใช้หลัก MSPA
2) การดำเนินการตามแผนขาดการกำกับ ติดตามและประเมินผลที่ชัดเจน
3) การนิเทศ ติดตาม ดำเนินงานโครงการมีการประสานงานการนิเทศที่ดีแต่บุคลากรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีภาระมาก จึงทำให้ไม่ได้ร่วมการนิเทศเป็นบางครั้งส่งผลให้ขาดความชัดเจนในการดำเนินงานตามโครงการ
โรงเรียนวัดเสาหิน (โรงเรียนแกนนำ ตัวแทนสถานศึกษาประเภทประถมศึกษาขนาดเล็ก)
ก่อนเข้าร่วมโครงการโรงเรียนวัดเสาหินมีการบริหารจัดการที่เน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม มีระบบการบริหารที่เน้นการพัฒนาร่วมกัน มีเครือข่ายมหาวิทยาลัยให้การช่วยเหลือ แต่ยังไม่สามารถพัฒนาครูให้มีความสามารถทางเทคโนโลยีอย่างทั่วถึงรวมทั้งขาดความเป็นอิสระในการสรรหาครูและบริหารจัดการงบประมาณ
เมื่อเข้าร่วมโครงการระยะแรกโรงเรียนมีการดำเนินการบริหารจัดการการศึกษาในโรงเรียน ได้แก่  การจัดทำแผนการสอนตามรูปแบบของ CRP การนำหลักสูตร 4F ไปใช้ในช่วงชั้นที่ 1 ในรูปแบบของตลาดวิชาโดยครูฝ่ายวิชาการเป็นผู้ดูแลหลัก ผู้บริหารทำหน้าที่สนับสนุนเรื่องสื่อ-อุปกรณ์ นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ อบจ.  อบต. และมหาวิทยาลัยนเรศวร  ส่วนเรื่อง NET ยังไม่ได้มีการดำเนินการเนื่องจากโรงเรียนยังไม่สามารถเข้าอินเทอร์เน็ตได้เพราะไม่มีสายสัญญาณโทรศัพท์  เมื่อมีการบริหารจัดการแบบบูรณาการโดยใช้หลัก MSPA มีการจัดทำคู่มือฯเป็นรูปเล่ม โดยเชิญคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้แทนครูแต่ละช่วงชั้นมาประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ  จากนั้นร่วมกันจัดทำคู่มือและเสนอให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแก้ไข  มีการติดตามผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนทุกสัปดาห์ 

หมายเลขบันทึก: 65991เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คิดถึงพี่นะคะ

จากเด็ก  ราชภัฏยะลา

สนใจงานวิจัยนี้มาก ตอนนี้ผมกำลังเรียน ป.เอก บริหารการศึกษาที่จุฬา

อยากนำหลักการบริหารไปวิจัยเกี่ยวกับ

1. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือขายกลุ่มโรงเรียน ใน สพท.โดยใช้หลัก MSPA

2. การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาของ สพท.โดยใช้หลัก MSPA

ขอความกรุณาให้ท่านช่วยให้ข้อเสนอแนะด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท