การประเมินหลักสูตร


การประเมินหลักสูตรคือกระบวนการที่สำคัญในการได้สารสนเทศมาปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
การประเมินหลักสูตร หมายถึง การศึกษารวบรวมข้อมูลของหลักสูตรทั้งหมดเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำ การดำเนินการใช้และผลของการใช้หลักสูตร ตลอดจนการตัดสินคุณค่าและคุณภาพของหลักสูตร แล้วนำมาวิเคราะห์เทียบกับเกณฑ์เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้คุณค่าแก่หลักสูตรว่าหลักสูตรมีข้อดี จุดอ่อนในเรื่องใด รวมทั้งผลการใช้หลักสูตรและตัดสินว่าหลักสูตรมีคุณค่าตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ การประเมินผลหลักสูตรเป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรเพราะจะทำให้ทราบว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จเพียงใด  มีอะไรที่จะต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง  หรือจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป การประเมินหลักสูตรมี 3 ระยะหลัก ๆ คือ การประเมินหลักสูตรก่อนนำหลักสูตรไปใช้ การประเมินระหว่างการใช้หลักสูตร การประเมินหลังการใช้หลักสูตร ถ้าต้องการได้ข้อมูลที่เป็นภาพรวมของการพัฒนาหลักสูตรทั้งหมดเมื่อใช้หลักสูตรครบรอบแล้ว ก็ควรประเมินทั้งระบบหลักสูตร
การกำหนดหลักสูตรเพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันย่อมไม่สามารถจะตอบสนองกับสภาพปัญหาและความต้องการในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่ละท้องถิ่นย่อมมีเอกลักษณ์และจุดเด่นที่ต้องนำมาพัฒนาให้เกิดเป็นองค์ความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อการสืบทอดต่อและเพื่อความตระหนักถึงความสำคัญและรักในถิ่นฐาน ประกอบกับข้อกำหนดใน พรบ. 2542 มาตรา 27 ทำให้สถานศึกษาต้องปรับปรุงหลักสูตรโดยจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม      ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เรียกว่า การจัดทำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น โดยดำเนินการได้หลายรูปแบบตามสภาพปัญหาและความต้องการเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้
หมายเลขบันทึก: 65984เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2006 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท