เวชกรรมไทย๑๖: ปถวีธาตุ


ปถวีธาตุ
ธาตุดิน ๒๐ หรืออวัยวะที่คงรูปร่าง เห็นได้ จับต้องได้ รับสัมผัสได้ ๒๐ ชนิด มีรูปร่างลักษณะที่เป็นของแข็ง มีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะชนิด อยู่ร่วมกันและเกาะกลุ่มกันเป็นระบบเพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน และอยู่ร่วมกับธาตุอีก ๓ กลุ่ม เรียกว่าเป็น “สหชาตธรรม” อยู่อาศัยพึ่งพาซึ่งกันและกัน ไม่สามารถแยกกันทำหน้าที่ได้ เช่น ข้อต่อ จะประกอบด้วย อัฏฐิ ลักสิกา (ธาตุน้ำ) อากาศธาตุ นหารู มังสัง (ที่หุ้มด้วยกิโลมกัง) ตะโจ ตะโจเปียก (ผิวข้อ) ในแท่งกระดูก(อัฏฐิ) ก็มีอัฏฐิมิญชัง และมีโลหิตัง (ธาตุน้ำ)มาเลี้ยงให้ได้รับอาหารธาตุที่ดูดซึมมาเป็นธารณธาตุสำหรับสร้างเสริมและซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดสึกหรอ โดยโลหิตังมาได้เพราะธาตุลม ที่ขับเคลื่อนให้เกิดพลังจากธาตุไฟ นี่คือความเป็น “สหชาตธรรม” ของธาตุทั้ง ๔ และอากาศธาตุ การเป็นแพทย์เวชกรรมไทยจึงต้องรู้จักและเข้าใจในคุณลักษณะและคุณสมบัติของธาตุทั้ง ๕ ที่รวมกันเป็น “เบญจมหาภูตรูป” ที่การแพทย์แผนปัจจุบันเขาเรียนวิชามนุษย์กายวิภาคศาสตร์ (Human anatomy) แพทย์ต้องรู้ปกติก่อน เมื่อตรวจคนไข้จะได้แยกได้ว่า อันไหนปกติ (สถานัม) อันไหนผิดปกติ (วิปลาส = กำเริบ หย่อน พิการ) แค่นี้ยังไม่พอ ต้องเรียนรู้อีกว่า อวัยวะ(ธาตุ) ที่มีคุณลักษณะต่างๆทำงานอะไร ทำงานอย่างไร ทำงานได้อย่างไร ทำงานสัมพันธ์กันอย่างไรหรือทำหน้าที่อย่างไร (Function) ที่แพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่า สรีรวิทยา (Physiology) ส่วนแพทย์เวชกรรมไทยเราต้องเรียนรู้เรื่อง “เบญจขันธ์” 
พิเชฐ บัญญัติ, พ.บ., พท.บ., ส.บ.
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย

หมายเลขบันทึก: 659860เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท