เวชกรรมไทย๑๕: ธาตุดิน


ธาตุดินหรือปถวีธาตุ

เป็นอวัยวะ (Organ) ที่มีโครงสร้างแข็ง (Solid structure) คงรูปร่างอยู่ได้ มองเห็นได้ สัมผัสได้ เป็นสิ่งที่รู้ว่ามี เป็นที่อยู่ของธาตุอื่นๆ คำว่า “ดินหรือปถวี” จึงสื่อถึงคุณลักษณะและคุณสมบัติของธาตุ ส่วนคำว่า “ธาตุดินหรือปถวีธาตุ” หมายถึง กลุ่มอวัยวะ (Organ system)ที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติ(Characteristic)เป็น “ดิน(Din)” ในทางการแพทย์แผนไทย จำแนกเป็น ๒๐ ชนิด เรียกว่า วีสติปถวีธาตุ การศึกษาในเรื่องรูปร่างลักษณะ ตำแหน่งที่ตั้งของอวัยวะต่างๆในร่างกายในสภาวะปกตินี้ เรียกว่า กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเป็นฐานเปรียบเทียบขณะที่แพทย์ตรวจร่างกายผู้ป่วยว่าธาตุหรืออวัยวะใดปกติ (สถานัม/Normal) หรือผิดปกติ(วิปลาส) ไปในทางกำเริบ (วฤทธิ/Hyper) หย่อน (กษายะ/Hypo) หรือวิการ (ภินนะ/Failure) จนเกิดพยาธิสภาพ มีพยาธิวิการ หรือรอยโรคให้ตรวจพบประกอบการทำสมุฏฐานวินิจฉัยและโรควินิจฉัยได้
พิเชฐ บัญญัติ, พ.บ., พท.บ., ส.บ.
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย

หมายเลขบันทึก: 659859เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 11:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท