เวชกรรมไทย๑๐: พยาธิกำเนิดแผนไทย


พยาธิกำเนิดแผนไทย (Thai traditional pathogenesis

พยาธิกำเนิดแบบการแพทย์แผนไทยด้วยสมุฏฐานวินิจฉัยหาอสมดุลตรีธาตุและอปรกติเบญจมหาภูตรูป
ช่วงบ่าย เนื้อหาบรรยายเปลี่ยนจากสภาพปกติ(Normality/สถานัม)มาเป็นสภาพผิดปกติ(Abnormality/วิการ) เกี่ยวกับกลไกการเกิดความเจ็บป่วย ธรรมชาติการเกิดโรคหรือการดำเนินโรค(Natural history of disease) พยาธิกำเนิด (Pathogenesis) พยาธิสภาพ (Disease) พยาธิสรีรวิทยา (Pathophysiology) พยาธิวิการ (Lesion) ตามแนวทางการแพทย์แผนไทยที่เกิดจาก ตรีโทษหรืออสมดุลตรีธาตุ (Tri doshes Imbalance) คือ ปิตตะ(Pitta) วาตะ(Wata) เสมหะ(Semha) แปรปรวน/เสียสมดุล (วิปลาส)หรือเป็นจลนะ ไปทางกำเริบ(Hyper) หย่อน(Hypo)หรือพิการ(Failure) เสียตัวใดตัวหนึ่ง(Monodoshesเอกโทษ๑/๓) หรือสองตัว(Didoshesทุวันโทษ๒/๓) หรือสามตัว (Tridoshesมหาสันนิบาต๓/๓) ส่งผลกระทบให้เกิด อปรกติธาตุ (Organ dysfunction) จากเตโชธาตุ(Fi/Energy) วาโยธาตุ(Lom/Movement) อาโปธาตุ(Nam/Liquid structure) สุดท้ายกระทบไปถึงปัถวีธาตุ(Din/Solid structure) เกิดพยาธิวิการหรือธาตุวิการ (กำเริบ/วฤทธิ/Hyper หรือหย่อน/กษายะ/Hypo หรือพิการ/ล้มเหลว/ภินนะ/Failure) เกิดพยาธิสภาพหรือโรค(Disease)หรือความเจ็บป่วย(Illness)ขึ้น จนแสดงออกเป็นลักษณะทางคลินิกคือ อาการ (Symptom)และอาการแสดง (Sign) ของโรค(Disease) หรือความเจ็บป่วย (illness) ทำให้คนไข้ทุกข์ทรมาน ไม่สบายกายไม่สบายใจ (Suffering) การรู้กลไกการเกิดโรคหรือพยาธิกำเนิดหรือสมุฏฐานวินิจฉัย จะต้องรู้สาเหตุหรือสมุฏฐาน (Etiology) โดยรู้จักตรีโทษ (Tridoshes Imbalance) เรียกว่า ตรีธาตุสมุฏฐาน เป็นเบื้องต้น(๑) และรู้ความผิดปรกติของคุณสมบัติ (Biochemistry)/รูปร่าง(Anatomy)/หน้าที่ (Physiology)ของธาตุ(อวัยวะและระบบอวัยวะ/Organ dysfunction & Lesion)ตามมา(๒) เรียกว่า ธาตุสมุฏฐาน ในทางการแพทย์แผนไทยรวมธาตุ๔ เป็น ๔๒ ธาตุ แต่มักจะเรียกกันทั่วๆไปว่า อวัยวะของร่างกายมีครบ ๓๒ ประการ เพราะคิดว่าเป็นอวัยวะแค่วีสติปัถวีธาตุ ๒๐ รวมกับทวาทศอาโปธาตุ ๑๒ รวมเป็น ๓๒ ประการ ส่วนเตโชธาตุกับวาโยธาตุจับต้องได้ยากแต่รู้ว่ามี เปลี่ยนแปรได้ง่ายตามเวลา(กาล) แทรกและแปรเปลี่ยนไปอยู่กับวีสติปัถวีธาตุและทวาทศอาโปธาตุ จึงไม่ได้รวมเป็นอวัยวะ เราจึงเรียก จตุกาลเตโชธาตุ กับ ฉกาลวาโยธาตุ (สังเกตว่ามีคำ “กาล”อยู่ในชื่อทั้งสองกลุ่ม) เมื่อแพทย์เวชกรรมไทย วิเคราะห์ได้ทั้งตรีธาตุสมุฏฐานและธาตุสมุฏฐานแล้วก็นำเอา สมุฏฐานทั้งสอง มาวิเคราะห์ร่วมกับอายุสมุฏฐาน(๓) การได้รับปัจจัยดำรงชีพหรือตรีสาร (อาหาร/Food, อากาศ/อัสสาสะ/ลมหายใจเข้า/Gas, อาโป/น้ำดื่ม/Drinking water ซึ่งปัจจัย ๓ อย่างนี้จะเข้าสู่ร่างกายทางช่องปากหรือชิวหาทวาร แต่อัสสาสะจะเข้าทางช่องจมูก/ฆานทวารไปยังบัปผาสังเป็นหลัก ไปช่องปากพร้อมน้ำดื่มและอาหารเป็นรอง เมื่ออาหาร/Food เข้าสู่ช่องปากหรือชิวหาทวารก็จะถูกบดเคี้ยวด้วยทันตาและคลุกเคล้าด้วยเขโฬเผาผลาญด้วยปริณามัคคีที่กระตุ้นด้วยพัทธปิตตะในชิวหาทวาร อันตังส่วนต้นหรือหลอดอาหารหรือEsophagus ขับเคลื่อนลงสู่อันตังส่วนกลางหรือกระเพาะอาหารหรือStomach และต่อเนื่องไปจนถึงในอันตคุณังหรือลำไส้เล็กหรือSmall bowelจะกลายเป็นอาหารใหม่หรืออุทริยังหรือChymeที่จะถูกพัทธปิตตะกับอพัทธปิตตะมากระตุ้นเกิดปริณามัคคีเผาผลาญดูดซึมไปใช้ประโยชน์เกิดเป็นกำเดาที่ทำให้มีจตุกาลเตโชธาตุ และเคลื่อนไปอยู่ที่อันตังส่วนปลายหรือลำไส้ใหญ่หรือLarge bowel กลายเป็นกรีสังหรืออาหารเก่าหรือFeces และถูกขับออกทางทวารหนักหรือAnus กลายเป็นอุจจาระหรือStool ) (๔) พฤติกรรมคนไข้(Behavior/มูลเหตุก่อโรค)(๕) ลักษณะทางคลินิก(Clinical manifestation คือ อาการ/Symptomสิ่งที่คนไข้บอกเราได้จากการพูดคุยหรือการซักประวัติ/History taking, อาการแสดงหรือการตรวจจับอาการ/Sign สิ่งที่เราตรวจพบจากตัวคนไข้ด้วยวิธีการตรวจจับอาการหรือการตรวจร่างกายทางคลินิก/Physical examination ด้วยการดู ฟัง เคาะ/สัมผัส คลำ ดม) ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อม/Environment (อุตุสมุฏฐาน/Season กาลสมุฏฐาน/Time ประเทศสมุฏฐาน/Place)((๖) สิ่งที่ได้จากทั้ง ๖ เรื่องนี้แพทย์ก็จะสามารถวินิจฉัยสาเหตุของโรค(สมุฏฐานวินิจฉัย/Pathogenesis) วินิจฉัยโรคแยกโรค (Differential diagnosis) วินิจฉัยโรค (Definite diagnosis) และวินิจฉัยกำลังโรค (พยากรณ์โรค/Prognosis)ได้ นำไปสู่การดูแลรักษาหรือบำบัดโรค(Care/Therapy) ด้วยการรุ(ขับของเสีย) การล้อม(จำกัดอันตราย) การปรับ(สมดุล/สภาพ) การเสริม(ความแข็งแรงธาตุ) ซึ่งในการแพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่าการบริการผสมผสาน/Comprehensive care คือ การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรคและการหื้นฟูสภาพ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการบริบาลอย่างเหมาะสมทั้งกายและใจ/เบญจขันธ์(รูป/Body เวทนา/sensation/feeling สัญญา/Perception/Memory สังขาร/Volition/Thought วิญญาณ/Consciousness)หรือที่การแพทย์แผนปัจจุบันเรียกว่าการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้(Holistic approach) 
(นพ.พิเชฐ บัญญัติ สรุปเนื้อหาบรรยายวิชาอาการวิทยาและโรควินิจฉัยทางการแพทย์แผนไทย อนุปริญญาการแพทย์แผนไทย รุ่น 7 วชช.ตาก 16/9/2561)

หมายเลขบันทึก: 659853เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท